"อัญมณี" อาการหนัก ขาดวัตถุดิบ แรงงาน สภาพคล่อง

กลุ่มอัญมณีและเครื่องประดับ เจอปัญหาสารพัด ขาดทั้งสภาพคล่อง วัตถุดิบ แรงงาน วอนรัฐลดภาษีมูลค่าเพิ่ม พร้อมปล่อยสินเชื่ออุ้มธุรกิจ

 



 กลุ่มอัญมณีและเครื่องประดับ เจอปัญหาสารพัด ขาดทั้งสภาพคล่อง วัตถุดิบ แรงงาน วอนรัฐลดภาษีมูลค่าเพิ่ม พร้อมปล่อยสินเชื่ออุ้มธุรกิจ

     นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก เปิดเผยว่า การประชุมคณะทำงานกลุ่มย่อยเพื่อแก้ไขปัญหาอุปสรรคการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ พบว่า 

มีปัญหาหลายด้าน ทั้งการขาดแคลนสภาพคล่อง วัตถุดิบ เทคโนโลยี และแรงงาน 

     โดยประเด็นเร่งด่วนที่ภาคเอกชนต้องให้รัฐเร่งดำเนินการ คือ การผลักดันยกเว้นภาษีนำเข้า และภาษีมูลค่าเพิ่มวัตถุดิบเพิ่มเติม เช่น ชิ้นส่วนเครื่องประดับเงิน แก้วเลดคริสตัล

และแก้วคริสตัลอื่นๆ เพื่อแก้ปัญหาต้นทุนการผลิตสูง

     นอกจากนี้ เสนอให้ยกเว้นการเก็บอากรขาเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่มอัญมณีและเครื่องประดับ 1 เดือนก่อนงานแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ (บางกอกเจมส์ แอนด์ จิวเวลรี่ 

แฟร์ 2012) ที่มีขึ้นในกลางเดือนก.ย.นี้ เพื่อให้แข่งขันกับคู่แข่งในต่างประเทศ ตลอดจนการผลักดันการตรวจสอบรับรองและการออกใบรับรองของไทยว่ามีมาตรฐานระดับโลก

     “ผู้ประกอบการเสนอให้ภาครัฐออกมาตรการเพิ่มสภาพคล่องการเงิน เช่น ประกันการส่งออกและธนาคารอัญมณี (เจมส์แบงก์) ซึ่งในสัปดาห์หน้าจะมีการประชุมพิจารณา

หลักเกณฑ์การขอกู้เงินโครงการเจมส์แบงก์ เพื่อปล่อยสินเชื่อแก่เอสเอ็มอี และแผนต่อไปภาคเอกชนเสนอการจัดตั้งโรงงานกลางเจียระไนเพิ่มเติมด้วย” นางนันทวัลย์กล่าว

    ทั้งนี้ จะมีการสรุปข้อมูล ปัญหา และแนวทางแก้ไขนำเสนอนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รมว.พาณิชย์ เพื่อให้รายงานถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อสั่งการต่อไป

     สำหรับสถานการณ์การส่งออก 6 เดือนแรก (ม.ค.-มิ.ย.) ของปีนี้ การส่งออกมีมูลค่า 5,833 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 11% แบ่งเป็นการส่งออก

อัญมณี 1,090 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 11% เครื่องประดับแท้ 1,826 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 0.5% เครื่องประดับเงิน 712 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 5.5% และทองคำยังไม่ขึ้นรูป 2,595 

ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 24% โดยมีตลาดสำคัญเรียงตามมูลค่า ได้แก่ ฮ่องกง สหรัฐ เบลเยียม เยอรมนี ญี่ปุ่น ยูเออี สวิตเซอร์แลนด์ อินเดีย อิสราเอล และสหราชอาณาจักร

NEWS & TRENDS