กรมศุลกากรจับมือภาคเอกชน องค์กรอิสระ และภาครัฐ เร่งสร้างภูมิคุ้มกันการทุจริตและประพฤติ มิชอบในงานด้านศุลกากรให้เกิดผลทางปฏิบัติอย่างจริงจัง
กรมศุลกากรจับมือภาคเอกชน องค์กรอิสระ และภาครัฐ เร่งสร้างภูมิคุ้มกันการทุจริตและประพฤติ มิชอบในงานด้านศุลกากรให้เกิดผลทางปฏิบัติอย่างจริงจัง
นายกุลิศ สมบัติศิริ อธิบดีกรมศุลกากร ได้เชิญผู้บริหารระดับสูงจากภาคเอกชน องค์กรอิสระ และหน่วยงานภาครัฐ อาทิ สภาอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สมาคมชิปปิ้งแห่งประเทศไทย คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรมสอบสวนคดีพิเศษ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น (ประเทศไทย) (ACT) เข้าร่วมหารือรับฟังความคิดเห็นและร่วมกันสร้างมาตรการในการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบด้าน การนำเข้าและส่งออกในการผ่านพิธีการศุลกากรให้เกิดผลในทางปฏิบัติอย่างจริงจัง
นายกุลิศ สมบัติศิริ อธิบดีกรมศุลกากร เปิดเผยว่า เพื่อให้เป็นไปตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และนโยบายรัฐบาลที่มุ่งเน้นการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบในหน่วยงานภาครัฐ ผู้บริหารกรมศุลกากรทุกระดับได้ตระหนักถึงการดำเนินนโยบายดังกล่าวให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรม และได้ร่วมกันให้ คำมั่นที่จะทำงานเป็นทีมเดียวกันเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันการทุจริตคอร์รัปชั่น สร้างภาพพจน์ที่ดีให้กับกรมศุลกากร ด้วยการที่ผู้บังคับบัญชาในทุกระดับชั้นจะร่วมกันเฝ้าระวังกำกับ
และสอดส่องดูแลผู้ใต้บังคับบัญชามิให้มีการกระทำที่ ไม่ถูกต้องส่อไปในทางทุจริตประพฤติมิชอบ หากผู้บังคับบัญชาเพิกเฉย ไม่สนใจต่อการกระทำที่ไม่ถูกต้องของผู้ใต้บังคับบัญชาภายในหน่วยงานให้ถือว่า หย่อนประสิทธิภาพ และต้องร่วมรับผิดชอบถูกดำเนินมาตรการทางการบริหารต่อไป ซึ่งการให้คำมั่นของผู้บริหารกรมศุลกากรนี้ ได้มีการดำเนินการแล้วเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2559
อธิบดีศุลกากรกล่าวต่อไปว่า เมื่อมีการสร้างความร่วมมือเช่นนี้ภายในกรมศุลกากรแล้ว กรมศุลกากรจึงเชิญผู้ประกอบการด้านการนำเข้า-ส่งออก ตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง) ซึ่งถือเป็นตัวแทนผู้ประกอบการให้ ประสานงานด้านพิธีการศุลกากรกับกรมศุลกากรมาร่วมกันกำหนดมาตรการในการทำพิธีการศุลกากรให้มีความถูกต้อง โปร่งใส ไร้ทุจริต กล่าวคือ ไม่มีการสำแดงราคาเท็จหรือต่ำเกินความจริง เพื่อประโยชน์ในการหลีกเลี่ยง อากรหรือจัดเก็บภาษีอากรต่ำ ร่วมมือกันปลอมแปลงเอกสารหรือกระทำการทุจริตคอร์รัปชั่น
โดยจากนี้ไป กรมศุลกากรจะเพิ่มความเข้มข้นในการตรวจสอบและดำเนินการหยุดการกระทำความผิดเช่นนี้ในทุกรูปแบบ มาตรการป้องกันที่กรมศุลกากร ได้กำหนดไว้มีดังนี้
- การตรวจสอบข้อมูลใบขนสินค้าของบริษัท และตัวแทนออกของที่มีความเสี่ยงโดยเฉพาะ การสำแดงราคาสินค้าต่ำหรือเป็นเท็จ /การจัดทำฐานข้อมูลราคาสินค้าเพื่อเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบราคาสินค้านำเข้าที่สำแดงในใบขนสินค้า
- มอบหมายให้สำนักตรวจสอบอากร และสำนักสืบสวนและปราบปรามเข้าตรวจสอบเอกสาร ที่บริษัทตัวแทนออกของมีพฤติกรรมฉ้อฉล
- แก้ไขปรับปรุงมาตรการด้านจรรยาบรรณของตัวแทนออกของที่เกี่ยวกับการการะทำความผิดในการนำเข้าและส่งออกให้เกิดผลในทางปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดค่าปรับภาษีอากรเพิ่มเต็มขีด เพดานที่กฎหมายกำหนด การระงับการผ่านพิธีการด้านศุลกากร รวมถึงการเพิกถอนทะเบียนตัวแทนออกของที่กระทำผิด
- เผยแพร่ข้อมูลบริษัทตัวแทนออกของที่มีพฤติกรรมฉ้อฉล หรือร่วมมือกันทุจริตคอร์รัปชั่นให้ สาธารณชนได้รับทราบผ่านเว็บไซต์ของกรมศุลกากร
- ส่งเรื่องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมสรรพากร กรมสอบสวนคดีพิเศษ ดำเนินการ ตรวจสอบ ดำเนินคดี และเรียกเก็บภาษีย้อนหลังกับการกระทำความผิด
ที่มา ประชาชาติธุรกิจออนไลน์