กรมการค้าต่างประเทศเดินหน้าโครงการ ”สร้างเครือข่ายผู้ประกอบการไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน” หรือ YEN-D Program รุ่น 2 แล้ว หลังรุ่นแรกประสบผลสำเร็จดีเกินคาด เชื่อ Yen-D Season 2 จะช่วยผู้ประกอบการไทยรุ่นใหม่สร้างเครืองข่ายขยายฐานธุรกิจลุยตลาด AEC เจาะตลาดประเทศเพื่อนบ้านตอนบนกลุ่ม CL..
กรมการค้าต่างประเทศเดินหน้าโครงการ ”สร้างเครือข่ายผู้ประกอบการไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน” หรือ YEN-D Program รุ่น 2 แล้ว หลังรุ่นแรกประสบผลสำเร็จดีเกินคาด เชื่อ Yen-D Season 2 จะช่วยผู้ประกอบการไทยรุ่นใหม่สร้างเครืองข่ายขยายฐานธุรกิจลุยตลาด AEC เจาะตลาดประเทศเพื่อนบ้านตอนบนกลุ่ม CLMV มากขึ้น
นายอดุลย์ โชตินิสากรณ์ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ และรองโฆษกกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์ ร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดำเนินการสนับสนุนผู้ประกอบการไทยรุ่นใหม่ที่ประสบความสำเร็จ ที่มีความพร้อมในการขยายการค้าและการลงทุนไปยังกลุ่มประเทศ CLMV ดังนั้น กรมการค้าต่างประเทศจึงให้ความสำคัญของระบบเครือข่ายเข้าไปทำธุรกิจในต่างประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศ CLMV โดยโครงการ YEN-D (Young Entrepreneur Network Development Program หรือ โครงการสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งให้ผู้ประกอบการไทยและผู้ประกอบการในประเทศเพื่อนบ้านที่ทำธุรกิจประสบความสำเร็จในประเทศต่าง ๆ เหล่านี้ได้มีโอกาสรู้จักกันให้มากขึ้น เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจ และเพิ่มทักษะการทำในการธุรกิจด้วยการเข้าร่วมกิจกรรมอบรม เพื่อเพิ่มความรู้ ทักษะ และที่สำคัญเพื่อสร้างเครือข่ายในการทำธุรกิจใน AEC
อย่างไรก็ตาม หลังจากจัดทำโครงการ YEN-D Program ครั้งแรก ในช่วงปลายปีที่ผ่านมา ถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากสามารถสร้างเครือข่ายให้นักธุรกิจไทยรุ่นใหม่และนักธุรกิจเพื่อนบ้าน CLMV ส่งผลสร้างธุรกิจมูลค่ากว่า 1,500 ล้านบาท ดังนั้น จึงเห็นว่า โครงการ Yen-D Season 2 ที่เปิดอบรมอยู่ขณะนี้ จะสามารถสร้างเครือข่ายนักธุรกิจคนรุ่นใหม่เกิดขึ้นและสร้างมูลค่าเพิ่มทั้งทางตรงและทางอ้อมได้ในอนาคต ซึ่งโครงการ YEN-D Season 2 เปิดอบรมในช่วงระหว่างวันที่ 8 พฤษภาคม – 15 กรกฎาคม 2559 โดยเนื้อหาของโครงการฯ จะเน้นเรื่องการสร้างเครือข่าย และ Business Matching & Networking.เป็นสำคัญ หากผู้ประกอบการรายสนใจสอบถามสายด่วน 1385 กรมการค้าต่างประเทศได้
“โครงการนี้ถือเป็นโครงการพิเศษที่มีการคัดเลือกผู้ประกอบการที่มีคุณลักษณะที่คล้าย ๆ กัน คือ เป็นนักธุรกิจรุ่นใหม่ไฟแรงที่มีความสามารถสูงและต้องการขยายตลาดของตัวเองสู่ประเทศ CLMV ให้ได้มีโอกาสสร้างความสัมพันธโดยตรงกับนักธุรกิจที่มีคุณลักษณะเดียวกันในประเทศที่นักธุรกิจไทยกลุ่มนี้อยากไปขยายตลาด เพราะ Networking หรือเครือข่ายเป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินธุรกิจ ยังทำให้นักธุรกิจใหม่ไฟแรงนี้ได้มีโอกาสได้รับข้อมูลข่าวสารในการขยายตลาดจากหลายๆแหล่งที่เขาอาจไม่เคยได้รู้มาก่อนไปจนถึงโอกาสในการร่วมมือกันทางธุรกิจในอนาคตได้อีกด้วย และหากโครงการเหล่านี้เป็นที่ยอมรับมาก ทางกรมฯจะพิจารณาจัดทำโครงการเหล่านี้ในระยะเวลาต่อไปได้อีก” นายอดุลย์กล่าว.
ที่มา-สำนักข่าวไทย