เมื่อวันที่ 17 พ.ค.59 ที่ผ่านมา ณ ศูนย์การประชุมธรรมศาสตร์ รังสิต นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานเปิดงานการจัดการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP PRODUCT CHAMPION) ประจำปี 2559
เมื่อวันที่ 17 พ.ค.59 ที่ผ่านมา ณ ศูนย์การประชุมธรรมศาสตร์ รังสิต นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานเปิดงานการจัดการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP PRODUCT CHAMPION) ประจำปี 2559
โดยมีกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการโอทอปที่ผ่านการลงทะเบียนเป็นผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ OTOP ปี 2557-2558 จำนวน 40,694 กลุ่ม/ราย มีผู้ผลิต ผู้ประกอบการOTOP ที่ลงสมัครคัดสรรทั้งหมด 11,555 กลุ่ม/ราย
นายสุทธิพงษ์ กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เล็งเห็นถึงความตั้งใจของผู้ประกอบการที่ได้จัดตั้งกลุ่มขึ้น นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาผลิตสินค้าขึ้นในชุมชน จึงได้ส่งเสริม สนับสนุน สินค้าชุมชนตั้งแต่ต้นทางไปจนถึงปลายทางให้ มีโอกาสพัฒนาสินค้าให้มีมาตรฐาน ดยได้รับความร่วมมือจากกระทรวงต่าง ๆ เข้ามาส่งเสริม ขณะเดียวกันกรมพัฒนาชุมชนก็มีส่วนในการรวบรวมสมาชิกในแต่ลุมชนได้มีโอกาสพัฒนาสินค้าให้ดียิ่งขึ้น
หลังจากที่นายกฯ ได้มีนโยบายช่วยเหลือผู้ประกอบการ จึงมุ่งหวังที่จะพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพ และจะช่องทางการตลาดมีมากยิ่งขึ้น จะเห็นได้ว่าที่ผ่านมามีการเปิดตลาดข้างทำเนียบรัฐบาลหรือที่เรียกกันว่าตลาดนายกฯ ถือเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ให้ผู้ประกอบการสามารถจำหน่ายสินค้า
นอกจากนี้นายกฯ มีนโยบายที่จะนำสินค้าโอทอปจัดไปจัดจำหน่ายบนเครื่องบิน ซึ่งจะเป็นการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าโอทอปให้สามารถขยายไปสู่ทั่วโลกได้อีกด้วย
นายอภิชาติ โตดิลกเวชช์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวว่า ระหว่างวันที่ 17-26 พฤษภาคมนี้ กรมการพัฒนาชุมชน จะดำเนินการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งลิตภัณฑ์ ประจำปี พ.ศ.2559 ระดับประเทศ โดยมีกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ที่ผ่านการลงทะเบียนเป็นผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ OTOP ปี 2557-2558 จำนวน 40,694 กลุ่ม/ราย มีผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ที่ลงสมัครคัดสรรทั้งหมด 11,555 กลุ่ม/ราย
อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์ที่จะทำการคัดสรรในปี 2559 นี้ ประกอบด้วย 5 กลุ่มผลิตภัณฑ์ และมีหน่วยงานต่างๆ เป็นคณะกรรมการร่วมคัดสรรผลิตภัณฑ์ต่างๆ กรอบการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ จะต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถส่งออกได้ (Exportable) โดยมีความแกร่งของตราผลิตภัณฑ์ (Brand Equity) มีการผลิตอย่างต่อเนื่องและคุณภาพคงเดิม (Continuous & Consistent) ผลิตภัณฑ์จะต้องมีมาตรฐาน (Standardization) โดยมีคุณภาพ (Quality) และสร้างความพึ่งพอใจแก่ลูกค้า (Satisfaction) และมีประวัติความเป็นมาของผลิตภัณฑ์ (Story of Product) โดยการประกาศผลผลิตภัณฑ์ที่ไม่ต้องรอผลการตรวจวิเคราะห์ได้ภายในวันที่ 31 พ.ค. 2559
อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวว่า การดำเนินงานในการคัดสรรสุดยอดผลิตภัณฑ์โอทอปนั้นจะดำเนินการทุก 2 ปี เพื่อจัดระดับผลิตภัณฑ์ (Product Level) ที่จะนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Product Development) และจัดระบบฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่จะใช้ในการทำงานเชิงบูรณาการของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมทั้งกระตุ้นให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP และชุมชนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และประชาสัมพันธ์และเสริมสร้างคุณค่าของผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ยอมรับแก่บุคคลทั่วไปจนสามารถใช้เป็นแหล่งรายได้และความเข้มแข็งให้กับชุมชน