พาณิชย์ช่วยเหลือเกษตรกรเพิ่มรายได้ยกระดับราคาสินค้าเกษตร

นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์ให้ความสำคัญในการยกระดับราคาสินค้าเกษตร เพื่อยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตให้แก่เกษตร


นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์ให้ความสำคัญในการยกระดับราคาสินค้าเกษตร เพื่อยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตให้แก่เกษตร ซึ่งได้มอบหมายกรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยที่ผ่านมามีการดำเนินมาตรการต่างๆ ในการช่วยเหลือยกระดับราคาสินค้าเกษตร ให้เกษตรกร มีรายได้เพิ่มมากยิ่งขึ้น ทั้งในส่วนของการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน  และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์  ดังนี้

1.      ข้าว แนวทางการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2559/60

- ช่วงการเพาะปลูก จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ 1) การส่งเสริมการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิคุณภาพดี 2) สนับสนุนสินเชื่อให้กลุ่มชาวนาผู้ผลิตข้าวแบบนาแปลงใหญ่ และ 3) โครงการลดดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายปลูกข้าว

 - ช่วงออกสู่ตลาด จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ 1) ชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต๊อก 2) สินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่ม และ 3) สินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือก

- การลดต้นทุนการผลิต ลดต้นทุนด้านปัจจัยการผลิตและบริการ แยกเป็น ค่าปุ๋ยเตมี ปรับลดลงกระสอบละ 10-30 บาท ยาปราบศัตรูพืชลดลงอีกร้อยละ 5-15 บาท เมล็ดพันธุ์ข้าว ลดราคาลงอีก กก.ละ     1 บาท ค่าเช่าที่นา ลดลงไร่ละ 200 บาท

- การกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวรายย่อย

- การดูแลหนี้สินเดิม จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ 1) การพักชำระหนี้ต้นเงินและลดดอกเบี้ยเกษตรกรผู้ปลูกข้าว และ 2) การอบรมเชิงปฏิบัติการฯ เพื่อยกระดับประสิทธิภาพการผลิต

- การเยียวยา ดำเนินโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2559

- การปรับเปลี่ยน จำนวน 7 โครงการ ได้แก่ 1) พื้นที่ทำนาไม่เหมาะสมเป็นเกษตรกรทางเลือก 2) – 5) การปรับเปลี่ยนพื้นที่ทำนาไม่เหมาะสม เพื่อส่งเสริมการปศุสัตว์ ได้แก่ กระบือ โคเนื้อ เลี้ยงแพะ การทำนาหญ้า 6) การปรับเปลี่ยนการปลูกข้าวไปปลูกพืชที่หลากหลายฤดูนาปรัง ปี 2560 และ 7) การปรับเปลี่ยนการปลูกข้าว

2.      มันสำปะหลัง แนวทางการบริหารจัดการตลาดมันสำปะหลังปี 2559/60

- โครงการลดดอกเบี้ยเงินกู้ให้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง

- โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูกมันสำปะหลังในระบบน้ำหยด ธ.ก.ส.จ่ายเงินกู้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการแล้ว จำนวน 12 ราย วงเงินกู้ 1,197,500 บาท

- โครงการสินเชื่อเพื่อยกระดับมาตรฐานการผลิตและการแปรรูปมันสำปะหลัง

- โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมมันสำปะหลัง และสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถานบันเกษตรกร

- โครงการพักชำระหนี้ดันเงินและลดดอกเบี้ยให้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง เพื่อบรรเทาภาระหนี้สินและลดต้นทุนในการประกอบอาชีพของเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. โดย ธ.ก.ส. จ่ายเงินกู้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการแล้ว จำนวน 203 ราย วงเงินกู้ 3,955,000 บาท

รวมทั้ง มีมาตรการเสริม คือ การเชื่อมโยงมันสำปะหลังเข้าสู่อุตสาหกรรมเอทานอล โดยเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2559 ได้จัดพิธีลงนาม MOU มีโรงงานเอทานอลร่วมลงนาม 5 ราย สหกรณ์การเกษตร/กลุ่มเกษตรกร 10 ราย ปริมาณรวบรวมหัวมันสด 1,200 ตัน/วัน และการเจรจาขยายตลาดแป้งมัน มันเส้น มันอัดเม็ด และกากอัดเม็ด ในประเทศอินเดีย เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น และจับคู่เจรจาธุรกิจกับผู้ซื้อต่างประเทศ เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2559 มีผู้ผลิต/ผู้ส่งออกไทย 39 บริษัท มีการลงนาม MOU จำนวน 5 ฉบับ ปริมาณ 1.7 ล้านตัน มูลค่า 10,710 ล้านบาท

3.      ปาล์มน้ำมัน

- การบริหารระดับสต๊อกน้ำมันปาล์มคงเหลือ ให้ปรับสัดส่วนการใช้น้ำมันปาล์มดิบผลิตเป็นไบโอฯ (B100) ผสมในน้ำมันดีเซล โดยลดสัดส่วนผสมจาก B7 เป็นไม่ต่ำกว่า B5 ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม – ธันวาคม 2559

- มาตรการรองรับช่วงผลผลิตออกสู่ตลาดมาก ปี 2559 ให้อคส.ซื้อน้ำมันปาล์มดิบจากโรงงานสกัดฯ จำนวน 100,000 ตัน ในราคาไม่ต่ำกว่า 26.20 บาท/กก. โดยโรงสกัดฯ จะต้องรับซื้อผลปาล์มจากเกษตรกรในราคา กก.ละ 4.20 บาท (น้ำมัน 17%) ระยะเวลารับซื้อเมษายน – พฤศจิกายน 2559 ระยะเวลาจำหน่าย/โครงการ เมษายน 2559 – มีนาคม 2560 (เนื่องจากราคาผลปาล์มช่วงรับซื้ออยู่ในเกณฑ์ดี ไม่ต่ำกว่า กก.ละ 4.20 บาท จึงไม่ได้ดำเนินการ)

- กำหนดราคาแนะนำผลปาล์ม กำหนดราคารับซื้อผลปาล์มแนะนำ 18% ไม่ต่ำกว่า กก.ละ 5.70 บาท และปรับเพิ่ม กก.ละ 0.30 บาท ทุกๆ อัตราน้ำมันที่เพิ่มขึ้น 1%

- กวดขันและปราบปรามจับกุมการลักลอบนำเข้าน้ำมันปาล์ม

- การปฏิรูปปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มทั้งระบบ (การผลิต นวัตกรรม มาตรฐาน พลังงาน การตลาด และบริหารจัดการ)

4.      ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มาตรการการส่งออก เป็นสินค้ามาตรฐาน ผู้ส่งออกต้องจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกซึ่งสินค้ามาตรฐานและมีหนังสือรับรองมาตรฐานประกอบพิธีตรวจปล่อยหากส่งออกอ่านเท่าเรือกรุงเทพ แหลมฉบังและมาบตาพุด มาตรการควบคุมการขนย้ายข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2559 โดยออกประกาศ กกร. ควบคุมการขนย้ายข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปี 2559 ลงวันที่ 25 มกราคม 2559 ห้ามมิให้ขนย้ายข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ซึ่งมีปริมาณ ครั้งละ 10,000 กก.ขึ้นไปออกจากท้องที่
 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวเพิ่มเติม สำหรับในปีใหม่นี้ นอกจากจะคงมาตรการเดิมที่ใช้ได้ผลดีในปี ที่ผ่านมา เพราะทำให้ราคาสินค้าเกษตรทรงตัวและปรับตัวสูงขึ้น กระทรวงฯยังจะเสริมมาตรการด้านการตลาด และการบูรณาการข้อมูลที่เข้มข้นมากขึ้น โดยจะมีการจัดวางแผนล่วงหน้าเป็นรายไตรมาส สำหรับสินค้าเกษตรที่จะออกในช่วง ไตรมาสแรกของปี  2560 เช่น ม.ค.-มี.ค. จะเป็นช่วงฤดูกาลของพืชหัว เช่น หอมแดง  หอมหัวใหญ่  กระเทียม  มันสำปะหลัง  และ เม.ย.- พ.ค. จะเป็นช่วงเก็บเกี่ยวข้าวนาปรัง   

สำหรับแผนการตลาด นอกเหนือจากการค้าปกติแล้วจะเน้น การทำการค้า on line การเชื่อมโยงตลาด  การจัดตั้งตลาดกลางค้าข้าวสาร เพื่อเป็นแหล่งซื้อ-ขายสินค้าเกษตร การผลักดันให้ผู้ประกอบการได้รับมาตรฐานสากล สำหรับสินค้าเกษตร เช่น มาตรฐานสินค้าออแกนนิค GAP เป็นต้น

การแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า โดยจะร่วมมือกับผู้ประกอบการที่เป็นผู้ผลิตอาหารแปรรูปให้รับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรนำไปแปรรูปขายในประเทศ และส่งออก เช่น ข้าว นำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร Super Food      มันสำปะหลังนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร หรือใช้ในอุตสาหกรรม

นางอภิรดี กล่าวเสริมว่า ปัญหาส่วนหนึ่งที่เกิดขึ้นในอดีต คือ ผู้ประกอบการไม่รู้จักและสามารถเข้าถึงแหล่งผลิตได้ กระทรวงพาณิชย์จึงจะผลักดันโครงการเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อให้เกษตรกรและผู้ประกอบบการได้เจอกันและรับทราบข้อมูลของกันและกัน โดยการใช้ระบบไอทีเข้ามาช่วย ซึ่งนอกจากจะช่วยให้เกษตรกรขายสินค้าไปยังผู้ประกอบการแปรรูปได้แล้วยังช่วยให้ผู้บริหารกระทรวงสามารถติดตามสถานการณ์ได้อย่างใกล้ชิด ซึ่งต่อไปในอนาคตจะมีการเชื่อมโยงข้อมูลที่เป็นประโยชน์เข้ามาไว้ด้วย เช่น ราคาสินค้า ปริมาณการผลิต และระบบ early warning โดยคาดว่าระบบดังกล่าวจะสมบูรณ์ในเดือนเม.ย.ปี 60 นี้

                  


NEWS & TRENDS