กรอ.เตรียมเพิ่มมาตรฐานสีน้ำทิ้งจากโรงงาน

กรอ.เตรียมยกร่างมาตรฐานสีน้ำทิ้งจากโรงงาาน จากเดิมไม่เกิน 400 มิลลิกรัมต่อลิตรเป็น ไม่เกิน 120 มิลกรัมต่อลิตร แต่ต้องเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียก่อน

 


กรอ.เตรียมยกร่างมาตรฐานสีน้ำทิ้งจากโรงงาาน จากเดิมไม่เกิน 400 มิลลิกรัมต่อลิตรเป็น ไม่เกิน 120 มิลกรัมต่อลิตร แต่ต้องเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียก่อน

        นายเสรี อติภัทธะ รักษาการรองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) กล่าวในงานแถลงข่าวผลสำเร็จในการดำเนินงาน “โครงการโรงงานตัวอย่างในการจัดการน้ำเสียโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน” โดยเน้นให้โรงงานมีการดำเนินกิจการโรงงานควบคู่ไปกับการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพ และสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างยั่งยืน นำร่องในโรงงานกลุ่มอุตสาหกรรมฟอกย้อม 10 แห่ง 

สำหรับผลการดำเนินงานในด้านประสิทธิภาพของโรงงานพบว่า โรงงานอุตสาหกรรมที่เข้าร่วมโครงการมีการบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสียเป็นไปตามเกณฑ์การปฏิบัติ และหลักสูตรที่จัดทำขึ้น โดยทุกโรงงานมีการจัดทำแบบแปลนระบบบำบัดน้ำเสียที่ครอบคลุมตั้งแต่ต้นทางกระบวนการจัดเก็บรวบรวมน้ำเสียจนถึงการปล่อยออกท่อระบายน้ำทิ้งสู่แหล่งน้ำในรูปแบบฐานข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถนำไปเผยแพร่สู่สาธารณ เพื่อความโปร่งใสและตรวจสอบได้ ซึ่งผลการดำเนินงานจะนำไปถ่ายทอดเพื่อเป็นต้นแบบระบบการจัดการน้ำเสียโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ให้กับโรงงานฟอกย้อมอีก 180 แห่งทั่วประเทศ

ทั้งนี้ในปี 56 กรมฯ มีเป้าหมายที่จะยกร่างมาตรฐานสีน้ำทิ้งจากโรงงานตามประเภทอุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ การฟอกย้อมสี พิมพ์สิ่งทอ แต่งสำเร็จด้ายหรือสิ่งทอ และโรงงานซักรีด ซักแห้ง ซักฟอก โดยจะมีการกำหนดค่ามาตรฐานน้ำเสียหรือ COD (Chemical Oxygen Demand) จากเดิมไม่เกิน 400 มิลลิกรัมต่อลิตร เป็นไม่เกิน 120 มิลลิกรัมต่อลิตรซึ่งร่างดังกล่าวฯ จะมีการเปิดรับฟังความเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียทั้งภาครัฐและเอกชน

        “เราพยายามนำข้อมูลมาตรฐานสีน้ำทิ้งจากโรงงานในต่างประเทศมาประกอบการเสนอแนะเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับผู้ประกอบการไทยในการบำบัดน้ำเสียที่ใช้สารเคมีในปริมาณที่น้อยที่สุดหรือไม่มีเลย และจัดให้มีการรับฟังข้อคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยมีหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน ซึ่งคาดว่าจะศึกษายกร่างฯ แล้วเสร็จในปี 2556 ซึ่งปัจจุบันมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้ง โดยเฉพาะมาตรฐานสีน้ำทิ้งที่ใช้อยู่ไม่ทันสมัยสอดคล้องกับสถานการณ์จึงจำเป็นต้องปรับปรุงเพื่อสร้างมาตรฐานที่ดีให้เป็นที่ยอมรับจากประชาชน”

NEWS & TRENDS