พัฒนาSME ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้าตอบรับอุตสาหกรรม 4.0

สถาบันยานยนต์ ร่วมกับ เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ พัฒนาSME ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้าตอบรับอุตสาหกรรม 4.0 รองรับสู่การเป็นฐานการผลิตยานย นต์ไฟฟ้าในอนาคต


สถาบันยานยนต์ ร่วมกับ เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ พัฒนาSME ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้าตอบรับอุตสาหกรรม 4.0 รองรับสู่การเป็นฐานการผลิตยานย นต์ไฟฟ้าในอนาคต
 
คลื่นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่กำ ลังเคลื่อนเข้ามาจากการเปลี่ยนผ่ านของเทคโนโลยียานยนต์จากเครื่ องยนต์ที่ที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิ ลไปสู่พลังงานไฟฟ้า ในการเตรียมความพร้อมของประเทศไ ทยเพื่อเป็นฐานการผลิตยานยนต์ ไฟฟ้าหรือยานยนต์สมัยใหม่ ผู้ประกอบการต้องมีองค์ความรู้ด้ านเทคโนโลยีขั้นสูงและบุคลากรที่ มีทักษะการผลิตสูงขึ้น  สถาบันยานยนต์ ร่วมกับ บมจ.เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย)จัดงาน “อนาคตการเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรม ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์เพื่อเพิ่ มประสิทธิภาพการผลิต” สำหรับเอสเอ็มอีผู้ประกอบการชิ้ นส่วนยานยนต์ขนาดกลางและขนาดใหญ่ กว่า 100 ราย ณ เดลต้า อีเล็คโทรนิคส์ (ประเทศไทย) พร้อมสานพลังประชารัฐเตรียมเปิด ศูนย์การเรียนรู้เทคโนโลยี EV และต้นแบบสถานีอัดประจุไฟฟ้า ราวช่วงกลางปี 2560 ในโครงการ “ศูนย์การเรียนรู้เทคโนโลยีและน วัตกรรม เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ ไฟฟ้า” ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานปลั ดกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อถ่ายทอดความรู้และเพิ่มขีด ความสามารถของผู้ผลิตชิ้นส่วนยา นยนต์ของไทย
           
การจัดสัมมนาครั้งใหญ่ เรื่อง “อนาคตการเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรม ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์เพื่อเพิ่ มประสิทธิภาพการผลิต” นับเป็นกิจกรรมหนึ่งที่จะส่งผ่า นข้อมูลและความรู้ไปยังผู้ผลิตชิ้ นส่วนในประเทศไทย ได้เห็นภาพทั้งทฤษฎีและปฏิบัติค รบทุกมิติ ทราบแนวทางการเตรียมความพร้อมใน ด้านต่างๆ เช่น ข้อมูลสถานภาพและแนวโน้มตลาดรถย นต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนของไทยและอา เซียน การพัฒนาทักษะแรงงาน นวัตกรรมและเทคโนโลยีการผลิตให้ ทันสมัย เพื่อยกระดับประสิทธิภาพการผลิต ชิ้นส่วนของไทยให้ทัดเทียมต่างป ระเทศ โดยได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุ ฒิในรูปแบบของการบรรยายทางวิชาก ารตลอดจนมีการจัดกิจกรรมเยี่ยมช มโรงงานเดลต้า อีเลคโทรนิคส์ ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้นำอิเล็คทรอนิ คส์ของโลกและเป็นผู้ผลิตเครื่ องชาร์จไฟสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า
             
ปัจจุบันอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานย นต์สร้างรายได้แก่ประเทศไทยปีละ 5 - 6 แสนล้านบาท คิดเป็น 1 ใน 5 ของมูลค่าอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย นับเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคั ญต่อเศรษฐกิจของประเทศ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ได้มี การพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง มีการส่งออกยานยนต์และชิ้นส่วนไ ปจำหน่ายยังต่างประเทศ โดยเป็นฐานการผลิตรถยนต์เพื่อส่ งออกที่สำคัญในภูมิภาค ซึ่งเป็นการเข้ามาลงทุนของบริษั ทผู้ผลิตรถยนต์ระดับโลก โดยใช้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตเ พื่อการส่งออก แนวโน้มกระแสตลาดโลกและรัฐบาลไท ยปัจจุบันมีนโยบายสนับสนุนรถยนต์ ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้ าเพื่อประสิทธิภาพและสิ่งแวดล้ อมที่ดีขึ้น ในการเปลี่ยนผ่านไปสู่การผลิตยา นยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นในอนาคตจะส่ งผลกระทบต่อตลาดชิ้นส่วนฯแตกต่ างกัน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ รถยนต์ที่เป็นเครื่องยนต์สันดาป ภายใน 1 คัน มีชิ้นส่วนเครื่องยนต์มากกว่าชิ้นส่วนของรถยนต์ไฟฟ้าจำนวนมาก ซึ่งหมายความว่า ความต้องการชิ้นส่วนยานยนต์ในอน าคต อาทิ ท่อไอเสีย ระบบจ่ายน้ำมัน ถังน้ำมัน เกียร์ จะลดลงในอนาคต คาดว่ารถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพ ลังงานไฟฟ้าจะเริ่มเข้ามามีบทบา ทตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นไป
   
              นายวิชัย จิราธิยุต (Mr.Vichai Jirathiyut) ผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ กล่าวว่า การผลิตอุตสาหกรรมยานยนต์เพื่อส่ งออกของไทยอยู่อันดับ 12 ของโลก การผลิตของไทยมีซัพพลายทั้งในปร ะเทศและส่งออก ฝีมือของไทยเป็นที่ยอมรับในระดั บโลก ไม่เพียงเฉพาะผลิตภัณฑ์และส่งออ กเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงบุคลลากร คนในวงการชิ้นส่วนยานยนต์ก็เป็น ส่วนสำคัญมากที่จะคงไว้ซึ่งคุณภ าพและเป็นที่ยอมรับของต่างประเท ศ ส่วนใหญ่ที่เราผลิตส่งออกคือรถปิ๊ กอัพ ที่เรียกว่า Product Champion และ รองลงมาคือรถ Eco Car ,ในปี 2015 ผลิตรถยนต์ได้ 1.9ล้านคัน  คาดว่าปี 2016 จะผลิตได้ 1.95 ล้านคัน โดยมีเป้าหมายในปี 2020 จำนวนผลิต 3 ล้านคัน/ปี ประเทศไทยมีค่ ายรถยนต์ ทั้งสวีเดน สหรัฐอเมริกา เยอรมัน อังกฤษ ญี่ปุ่น โรงงานผลิตส่วนใหญ่อยู่สมุทรปรา การ และภาคตะวันออกเป็นหลัก แต่ละค่ายให้ความสนใจมาลงทุนที่ ประเทศไทย เพราะสภาพภูมิประเทศของไทยเป็นแ ลนด์มาร์คยุทธศาสตร์ที่ใกล้พม่า กัมพูชา ลาว และจีน ตรงนี้เป็นจุดหนึ่งที่ประเทศไทย ได้เปรียบ ทำให้เราเป็นฐานการผลิตอุตสาหกร รมยานยนต์ในอาเซียนหรือของโลกได้ ดี ด้านโครงการศูนย์การเรียนรู้เทค โนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (Hybrid, Plug-in hybrid, Battery EV และ Fuel cell) มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์รว บรวมความรู้เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้ าแก่ผู้ประกอบการ ภาครัฐและประชาชนทั่วไป โดยในโครงการประกอบด้วยกิจกรรมห ลัก 3 กิจกรรม ได้แก่ 1) การศึกษาเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าแ ละสถานีประจุไฟฟ้า 2) การจัดทำฐานข้อมูลผู้ผลิตชิ้นส่ วนยานยนต์ไฟฟ้าและรายงานศึกษาที่เกี่ยวข้อง และ 3) การสัมมนาและประชาสัมพันธ์โครงก ารเทคโนโลยียานยนต์ที่กำลังจะเป ลี่ยนแปลง และส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่มูลค่าข องอุตสาหกรรมยานยนต์อย่างหลีกเลี่ ยงไม่ได้ จากเดิมที่ผู้ผลิตชิ้นส่วนมุ่งเ น้นที่จะพัฒนาด้านการเพิ่มประสิ ทธิภาพการจัดการผลิต ลดต้นทุน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อาจไม่เพียงพอ โดยผู้ผลิตชิ้นส่วนมีความจำเป็น ที่จะต้องปรับกระบวนการผลิตให้ส ามารถรองรับเทคโนโลยีที่ทันสมัย ของผู้ผลิตรถยนต์ได้ด้วย
         

           

นายเซีย เชนเยน (Mr.Hsieh Shen-yen) ประธานบริหาร บมจ.เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้นำอิเล็คทรอนิ คส์ของโลก และนวัตกรรมเครื่องชาร์จไฟสำหรั บรถยนต์ไฟฟ้า (EV Charger) กล่าวว่า ในรูปแบบ “อุตสาหกรรม 4.0” สิ่งที่สำคัญในกระบวนการผลิตในโ ลกอนาคต คือ เทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ หรือ Industrial Automation นับเป็นเทรนด์ของการพัฒนาธุรกิจ อุตสาหกรรมสู่ความทันสมัย คุณภาพ ประสิทธิภาพและประหยัดพลังงาน  ซึ่งระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และดิจิตอล IoT สามารถเข้ามาทำงานร่วมกับมนุษย์ และให้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพม ากขึ้น ซึ่งประกอบด้วย 1.เครื่องจักรอัตโนมัติ (Automation Machine) 2.โรงงานอัตโนมัติ (Factory Automation) และ3.กระบวนการผลิตอัตโนมัติ (Process Automation) โดยทุกหน่วยของระบบการผลิต ติดตั้งระบบเครือข่ายและฝังเซนเ ซอร์เพื่อให้สามารถสื่อสารและแล กเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน เครื่องจักร หุ่นยนต์ ระบบ และโรงงาน เชื่อมต่อทางเครือข่ายในรูปแบบ Internet of Things (IoT) ช่วยให้สามารถแสดงผล ควบคุม บริหารจัดการกระบวนการผลิตทั้งห มดได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ข้อดีของระบบอินดัสเทรียล ออโตเมชั่น คือ ช่วยเพิ่มผลผลิต, ช่วยลดต้นทุน, รองรับงานหนัก งานทำซ้ำ งานเสี่ยงอันตรายแทนมนุษย์ หรืองานที่ต้องการความแม่นยำสูง ลดข้อผิดพลาด, ลดภาระการลงทุนของ SME ผู้ประกอบการ โดยสามารถนำมาระบบออโตเมชั่น โซลูชั่นมาออกแบบและติดตั้งเพิ่ มเพื่อปรับปรุงโรงงานเดิมที่มีอ ยู่แล้ว พัฒนาคุณภาพ/เพิ่มปริมาณการผลิต หรือตามเป้าประสงค์อื่นๆของผู้ป ระกอบการ ซึ่งหากเป็นสมัยก่อนผู้ประกอบกา รไม่มีทางเลือกอื่นในการเพิ่ มผลผลิตแต่จะต้องลงทุนซื้อเครื่ องจักรใหม่ ซื้อที่ดินและปลูกสร้างโรงงานเพิ่ ม เพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของผลิ ตภัณฑ์, ช่วยประหยัดพลังงาน เสริมศักยภาพและยกระดับอุตสาหกร รมของผู้ประกอบการให้ได้คุ ณภาพมาตรฐานตามที่ตลาดต้องการ, สามารถผลิตสินค้าให้ตรงตามความต้ องการที่แตกต่างของผู้บริโภคแต่ ละกลุ่ม แต่ยังรักษาประสิทธิภาพการผลิตที่ สูงในระดับเดียวกับการผลิตแบบคร าวละมากๆ
           

โครงการความร่วมมือระหว่างเดลต้ า อีเลคโทรนิคส์ กับ สถาบันยานยนต์ สานพลังประชารัฐเพื่อร่วมปฏิรูป สู่อุตสาหกรรม 4.0 และขับเคลื่อนสู่ประเทศไทย 4.0 อุตสาหกรรมรถยนต์เป็นหนึ่งในอุต สาหกรรมหลักที่จะพัฒนายกระดับ  นอกจากการจัดสัมมนาถ่ายทอดองค์ค วามรู้แก่เอสเอ็มอี หรือผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทย ยังเตรียมเปิดสถานีอัดประจุไฟฟ้ าต้นแบบ และศูนย์การเรียนรู้เทคโนโลยียา นยนต์ไฟฟ้า (EV) ณ สถาบันยานยนต์ บางปู เพื่อประโยชน์แก่ผู้ประกอบการ SME ชิ้นส่วนยานยนต์ และประชาชนทั่วไปได้สัมผัสกับเท คโนโลยีและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้  กำหนดแล้วเสร็จในราวกลางปี 2560
           

น.ส.ฐิติภัทร ดอกไม้เทศ  ผู้ชำนาญการพิเศษ สถาบันยานยนต์ กล่าวถึงผลกระทบและการเตรียมตัว ของผู้ผลิตชิ้นส่วนไทยต่อสถานกา รณ์ปัจจุบันว่า  ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ รายสำคัญของโลก สถานการณ์ทั่วโลกที่ส่งผลกระทบต่ อประเทศไทย คือกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเก่าและจี นชะลอตัว ราคาสินค้าเกษตรและน้ำมันมีแนวโ น้มปรับตัวสูงขึ้น ด้านสถานการณ์ของไทย ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่ช่วงกั บดักรายได้ปานกลาง มีต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น เศรษฐกิจของสหรัฐกำลังฟื้นตัวส่ งผลดีต่อการส่งออกของไทย มีการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยียา นยนต์ จากที่ใช้น้ำมันฟอสซิล ประเทศไทยก็เริ่มนำยานยนต์ไฟฟ้า เข้ามาใช้ รัฐบาลไทยก็ให้การสนับสนุน นโยบายของรัฐบาลที่ส่งเสริมยานย นต์ของไทยในปัจจุบันคือ ยานยนต์สมัยใหม่ จะต้อง “สะอาด ประหยัด ปลอดภัย” ด้านการปรับตัวของผู้ผลิตชิ้นส่ วนยานยนต์เพื่อทำให้ผู้ผลิตชิ้น ส่วนไทยเข้าสู่ห่วงโซ่อุปทานยาน ยนต์โลก คือ 1. เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต 2.การสร้างนวัตกรรมและวิจัยพัฒน า     3.การสร้างตราสินค้าของตนเอง ทั้งนี้สถาบันยานยนต์มีโครงการจั ดตั้งศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้ อแห่งชาติ ที่ อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา ประกอบด้วยห้องปฏิบัติการทดสอบสำ หรับมาตรฐานมอก. และ ASEAN MRA และ สนามทดสอบเพื่อการทดสอบและวิจัย พัฒนา


NEWS & TRENDS