สายการบินโลว์คอสต์แข่งดุ

ธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำมีอุณหภูมิการแข่งขันที่รุนแรง ผู้ประกอบการธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำต่างต้องปรับกลยุทธ์การตลาดเพื่อรองรับการแข่งขันที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ ผู้ประกอบการธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำยังได้มีการขยายเส้นทางบินใหม่ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศให้ครอบคลุมมากขึ้น

 


ธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำมีอุณหภูมิการแข่งขันที่รุนแรง ผู้ประกอบการธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำต่างต้องปรับกลยุทธ์การตลาดเพื่อรองรับการแข่งขันที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ ผู้ประกอบการธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำยังได้มีการขยายเส้นทางบินใหม่ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศให้ครอบคลุมมากขึ้น
 
         และเพื่อรองรับกับการเติบโตของธุรกิจ จะเห็นได้ว่าในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา สายการบินต้นทุนต่ำในไทยเติบโตในอัตราที่เร่งตัวขึ้น และธุรกิจยังมีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่องจากปัจจัยหนุนธุรกิจหลากหลายประการ
 
       อาทิ การเติบโตอย่างต่อเนื่องของการท่องเที่ยว การขยายตัวของความเป็นเมืองในภาคต่างๆของประเทศไทย ประกอบกับความต้องการของผู้ใช้บริการที่เปลี่ยนมาใช้สายการบินต้นทุนต่ำมากขึ้น เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่า และที่สำคัญการเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคอาเซียน เป็นปัจจัยที่สำคัญในการขยายตัวของธุรกิจการ

ในปีงบประมาณสิ้นสุดเดือนกันยายน 2555 มีผู้โดยสารที่เดินทางด้วยสายการบินต้นทุนต่ำผ่านท่าอากาศยานในประเทศไทยรวมทั้งสิ้น 20.3 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 15.3 
 
        โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า อัตราการเติบโตของสายการบินต้นทุนต่ำของประเทศไทยในปีงบประมาณ 2556 อยู่ที่ประมาณร้อยละ 15-18 โดยที่จำนวนผู้โดยสารจะเพิ่มขึ้นเป็น 23-24 ล้านคนในปี 2556 เนื่องจากสายการบินโลว์คอสต์สามารถตอบสนองความต้องการที่หลากหลายและมีความยืดหยุนในการเดินทางสูง
 
         นอกจากนี้ยังมีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงของการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ที่จะมีความต้องการในการเดินทางติดต่อมากขึ้น ประกอบกับรายได้เฉลี่ยในภูมิภาคนี้ยังไม่สูง เมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ โดยคาดว่า ภายในปี 2558 สัดส่วนผู้โดยสารสายการบินต้นทุนต่ำอาจเพิ่มขึ้นเป็นประมาณร้อยละ 35 ของจำนวนผู้โดยสารทางอากาศทั้งหมด นอกจากนี้ยังส่งผลถึงการขนส่งสินค้าทางอากาศที่จะมีช่องทางและตัวเลือกเพิ่มมากขึ้น 

ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2555 ที่ผ่านมามีผู้ใช้สายการบินโลว์คอสต์ผ่านสนามบินในกรุงเทพจำนวน 13.1 ล้านคน ซึ่งการเปิดใช้สนามบินดอนเมือง จึงนับว่าเป็นแนวทางสำคัญที่จะช่วยรองรับการเติบโตของปริมาณผู้ใช้สนามบินที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
 
        โดยเฉพาะการก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 นับเป็นปัจจัยสำคัญที่จะกระตุ้นให้เกิดการเคลื่อนย้ายของสินค้าและบริการภายในภูมิภาคเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังเป็นแรงดึงดูดให้มีการลงทุนจากต่างชาติเข้ามายังภูมิภาคนี้เพิ่มสูงขึ้น ทิศทางดังกล่าวจะสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจสายการบิน โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ในปี 2556 จะมีผู้ใช้บริการที่สนามบินดอนเมืองเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 15-16 ล้านคนต่อปี จากที่เปิดใช้เฉพาะอาคาร 1 และหากเปิดใช้ทั้ง 2 อาคารจะสามารถรองรับได้ถึง 36.5 ล้านคนต่อปี 

อย่างไรก็ดี การเปิดใช้สนามบินดอนเมือง ควบคู่ไปกับสนามบินสุวรรณภูมินับว่าเป็นสิ่งจำเป็น แต่ภาครัฐคงจะต้องหันมาให้ความสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เชื่อมโยงกันระหว่าง 2 สนามบินให้สามารถเดินทางได้สะดวกมากขึ้น เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการให้บริการ และความสามารถในการรองรับการเป็นฮับของอาเซียน และในด้านการท่องเที่ยวที่จะต้องเดินทางมาต่อเครื่องไปยังจุดหมายปลายทางต่างๆ 

 

NEWS & TRENDS