ศศินทร์ชี้เปิดเสรีเงินทุนเหมือนดาบสองคม

ดร.กฤษติกา คงสมพงษ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านการตลาดและประชาสัมพันธ์ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า จากการที่ภาครัฐโดยธนาคารแห่งประเทศไทยมีนโยบายที่ชัดเจนในการผ่อนคลายเกณฑ์การเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ เพื่อเปิดโอกาสให้นักลงทุนและผู้ประกอบการสามารถนำเงินไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 ที่คาดว่าจะมีการเคลื่อนย้ายการลงทุนของธุรกิจต่างๆ

 

ดร.กฤษติกา คงสมพงษ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านการตลาดและประชาสัมพันธ์ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า จากการที่ภาครัฐโดยธนาคารแห่งประเทศไทยมีนโยบายที่ชัดเจนในการผ่อนคลายเกณฑ์การเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ เพื่อเปิดโอกาสให้นักลงทุนและผู้ประกอบการสามารถนำเงินไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 ที่คาดว่าจะมีการเคลื่อนย้ายการลงทุนของธุรกิจต่างๆ

หลังจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ผ่อนคลายเกณฑ์การนำเงินออกไปลงทุนในต่างประเทศ โดยเฉพาะการเปิดเสรีให้บุคคลธรรมดาสามารถนำเม็ดเงินไปลงทุนได้อย่างไม่จำกัด จากเดิมที่กำหนดให้สามารถนำออกไปได้ไม่เกิน 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี เชื่อว่าการผ่อนคลายกฎเกณฑ์ดังกล่าวจะเป็นโอกาสทองของนักลงทุนเพื่อขยายกิจการ รวมทั้งการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างๆ เช่น หุ้น ตราสารหนี้ และตราสารอนุพันธ์ที่สามารถลงทุนได้โดยไม่จำกัดวงเงิน จะเห็นได้ว่าการผ่อนคลายเกณฑ์เงินไหลออกดังกล่าว เป็นการทำลายกฎเหล็กด้านการลงทุนให้สามารถรองรับการเปิดเสรีทางการค้าในภูมิภาคอาเซียนอย่างเห็นได้ชัดเจนที่สุด

แต่อาจเป็นดาบสองคมที่กระทบต่อผู้ประกอบการและนักลงทุน หากไม่ได้มีการศึกษาสิ่งแวดล้อมทางการตลาดของประเทศที่จะเข้าไปลงทุนอย่างรอบคอบ สิ่งสำคัญที่นักลงทุนจะต้องศึกษาคือเรื่องความแตกต่างของสิ่งแวดล้อมทางการตลาด แม้ว่าทุกประเทศจะอยู่ในภูมิภาคอาเซียนด้วยกันแต่มีหลายสิ่งที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบ โดยเฉพาะเรื่องกฎหมายและกฎเกณฑ์ต่างๆ ในการลงทุน รวมถึงเรื่องวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้บริโภค และการแข่งขันของตลาดที่มีทั้งนักลงทุนในท้องถิ่น รวมทั้งธุรกิจต่างๆ จากทั่วโลกที่ต้องการแชร์ส่วนแบ่งจากเค้กก้อนใหญ่ในอาเซียนด้วยเช่นกัน

“ยังมีเวลาสำหรับภาคธุรกิจและนักลงทุนรายย่อย ที่ต้องการนำเม็ดเงินไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งจะต้องมีการศึกษาและกำหนดกลยุทธ์ต่างๆ ให้สอดคล้องกับภาวะตลาดของประเทศที่ต้องการซื้อกิจการ หรือสร้างโรงงาน รวมทั้งการทดลองส่งสินค้าและบริการต่างๆ เข้าไปชิมลางกับผู้บริโภคในท้องถิ่น แม้ว่าภาครัฐจะผ่อนคลายกฎเกณฑ์ทางด้านการเงินเร็วกว่าการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน แต่ก็เชื่อว่ากว่าจะถึงปี 2558 ก็น่าจะมีนโยบายอื่นๆ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้ธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมได้ประโยชน์จากการลงทุนเพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงต้องให้ความสำคัญกับปัจจัยต่างๆ ที่มีความจำเป็นต่อการลงทุน”

ที่มา : บ้านเมือง

NEWS & TRENDS