สหรัฐขึ้นบัญชีดำสินค้าไทย 5 ประเภท

นายปกรณ์ อมรชีวิน อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เปิดเผยว่า ขณะนี้สหรัฐอเมริกาออกประกาศห้ามหน่วยงานราชการทั้งหมด สั่งซื้อสินค้าจากไทย 5 ประเภทคือ กุ้ง เสื้อผ้า น้ำตาลที่ผลิตจากอ้อย สื่อลามกและปลา เป็นสินค้าประเภทล่าสุดที่มีการประกาศเมื่อวันที่ 26 กันยายนที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยเป็นอย่างมาก เพราะปัจจุบันไทยส่งออกกุ้งไปยังสหรัฐอเมริกากว่า 70,000 ล้านบาท และปลา 30,000 ล้านบาท รวมแล้วกว่า 100,000 ล้านบาทต่อปี สาเหตุที่สหรัฐฯออกประกาศดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่าเป็นสินค้าที่อาจเกิดจากการใช้แรงงานเด็กและแรงงานบังคับ

 


นายปกรณ์ อมรชีวิน  อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เปิดเผยว่า ขณะนี้สหรัฐอเมริกาออกประกาศห้ามหน่วยงานราชการทั้งหมด สั่งซื้อสินค้าจากไทย 5 ประเภทคือ กุ้ง เสื้อผ้า น้ำตาลที่ผลิตจากอ้อย สื่อลามกและปลา เป็นสินค้าประเภทล่าสุดที่มีการประกาศเมื่อวันที่ 26 กันยายนที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยเป็นอย่างมาก เพราะปัจจุบันไทยส่งออกกุ้งไปยังสหรัฐอเมริกากว่า 70,000 ล้านบาท และปลา 30,000 ล้านบาท รวมแล้วกว่า 100,000 ล้านบาทต่อปี สาเหตุที่สหรัฐฯออกประกาศดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่าเป็นสินค้าที่อาจเกิดจากการใช้แรงงานเด็กและแรงงานบังคับ

                นายปกรณ์กล่าวต่อว่า ดังนั้น กรมสวัสดิการฯ จึงมีแนวคิดแก้ปัญหาการค้ามนุษย์และการใช้แรงงานเด็ก โดยจะสำรวจความต้องการของแรงงานต่างด้าวที่ต้องการส่งลูกกลับประเทศต้นทาง ทั้งในกลุ่มที่เข้ามาทำงานในไทยทั้งถูกกฎหมายและแรงงานผิดกฎหมาย หากได้จำนวนที่ชัดเจนและแรงงานต่างด้าวยินยอม  จะประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประเทศต้นทางเพื่อส่งลูกของแรงงานต่างด้าวกลับประเทศ ส่วนลูกแรงงานต่างด้าวที่ยังอยู่ในประเทศไทยจะส่งไปอยู่ในศูนย์เลี้ยงเด็ก โดยเฉพาะในช่วงปิดเทอม เพื่อป้องกันลูกของแรงงานต่างด้าวเข้าไปอยู่ในสถานประกอบการทำให้ถูกมองว่าเป็นการใช้แรงงานเด็ก

                อธิบดีกรมสวัสดิการฯกล่าวด้วยว่า ขณะนี้ได้สั่งการให้สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด ดูแลเรื่องการใช้แรงงานเด็กและการหักเงินค่าจ้างลูกจ้างที่เป็นแรงงานต่างด้าว เพื่อเป็นค่าบริการจัดหางานหรือค่าหัวคิวที่เข้ามาทำงานในไทย โดยนายจ้างที่กระทำผิดจะมีโทษตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน 2541 จำคุกไม่เกิน 6 เดือนปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ รวมทั้งจะบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดต่อไป

NEWS & TRENDS