รัฐเอกชนหารือแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับ 11

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมภาครัฐและเอกชน เรื่อง “การขับเคลื่อนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ” ฉบับที่ 11 โดยภาคเอกชน ได้เสนอยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการที่จะดำเนินการในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 รวม 7 ด้าน ประกอบด้วย 1.ด้านการส่งเสริมความเข้มแข็งของภาคการเกษตรมีเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนมูลค่าสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมให้มีสัดส่วนไม่ต่ำกว่า 16% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP)



สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมภาครัฐและเอกชน เรื่อง “การขับเคลื่อนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ” ฉบับที่ 11 โดยภาคเอกชน ได้เสนอยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการที่จะดำเนินการในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 รวม 7 ด้าน ประกอบด้วย 1.ด้านการส่งเสริมความเข้มแข็งของภาคการเกษตรมีเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนมูลค่าสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมให้มีสัดส่วนไม่ต่ำกว่า 16% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP)

2.ด้านการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวมีเป้าหมายเพื่อสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวให้ได้ 2 ล้านล้านบาทภายในปี 2558 และ 3.ด้านการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งและระบบโลจิสติกส์โดยปี 2559 จะลดต้นทุนโลจิสติกส์ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ให้เหลือเพียง 11.0-11.5%

4.ด้านการส่งเสริมการค้า การลงทุนกับประเทศเพื่อนบ้านผ่านกลยุทธ์การส่งเสริมจัดตั้งสภาธุรกิจระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน 5.ด้านการส่งเสริมการลงทุนของผู้ประกอบการไทยในต่างประเทศ เช่น เสนอให้จัดตั้งหน่วยงานรับผิดชอบเรื่องการให้คำปรึกษาและข้อมูลเชิงลึกเรื่องการลงทุนในต่างประเทศและแก้ปัญหานักลงทุนไทยในต่างประเทศ 

        6.การสนับสนุนเรื่องวิจัยและพัฒนา การอุดหนุนด้านการเงินประกันความเสี่ยงและสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำสำหรับเอสเอ็มอีในการออกไปลงทุนในต่างประเทศ พร้อมกับมีการจัดทำข้อตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนกรณีผู้ประกอบการไทยไปลงทุนในอาเซียน 7.ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ มีข้อเสนอให้ สศช. นำเสนอรัฐบาลยกเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นวาระแห่งชาติ ในการปฏิรูปการศึกษา

ด้านนายณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานอนุกรรมการขับเคลื่อนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 กล่าวว่า จากการปรับขึ้นค่าแรง 300 บาททั่วประเทศ และการปรับฐานเงินเดือนขึ้นเป็น 1.5 หมื่นบาท ตามนโยบายของรัฐบาล ไม่ได้อยู่แผนฯฉบับที่ 11 ซึ่งถือเป็นแรงกระตุ้นที่มาจากการเมือง ทำให้ภาคเอกชนจำเป็นต้องเร่งเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ซึ่งภายในแผนฯก็จำเป็นต้องมีการปรับเพิ่มกิจกรรมให้สอดคล้องกับสถานการณ์

ด้านนายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) กล่าวว่า การปรับขึ้นค่าแรงมีทั้งผู้ที่ได้รับผลกระทบ และไม่ได้รับผลกระทบ ตามขีดความสามารถในการแข่งขัน เพราะต้นทุนการผลิตก็เพิ่มเท่ากัน จึงควรจะต้องมีมาตรการบรรเทาผลกระทบช่วยเหลือผู้ประกอบการให้ผ่านพ้นช่วงเปลี่ยนผ่าน เช่น การช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต พัฒนานวัตกรรม และพัฒนาคน
 

NEWS & TRENDS