ศูนย์ความร่วมมือและพัฒนาผลิตภัณฑ์” หรือ Customer Solution Center (CSC) ที่บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC ผู้นำด้านธุรกิจปิโตรเคมีครบวงจรของไทยถูกจัดตั้งเพื่อสนับสนุนให้ธุรกิจยั่งยืน

รัฐบาลปัจจุบันมีนโยบายที่ต้องการสนับสนุนให้เกิดธุรกิจ สตาร์ทอัพ (Start Up) เพิ่มขึ้น ซึ่งหลายคนก็ยังสับสนว่าแท้จริงธุรกิจสตาร์ทอัพ กับวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม(เอสเอ็มอี)ต่างกันอย่างไร หลักการง่ายๆ คือ สตาร์ทอัพมีขนาดเริ่มต้นธุรกิจที่เล็กมาก ตั้งขึ้นเพื่อค้นหาธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีมาแก้ปัญหา สร้างความเปลี่ยนแปลงให้แก่อุตสาหกรรม และสามารถเติบโตขึ้นได้อย่างรวดเร็วภายในเวลาอันสั้นดังนั้นสินทรัพย์ส่วนใหญ่เมื่อเริ่มต้นธุรกิจจึงหนักไปทางสินทรัพย์ทางปัญญา
ขณะที่เอสเอ็มอีจะใช้เทคโนโลยีที่ตอบสนองกระบวนการผลิตแบบเดิมปรับปรุงให้ดีขึ้น มีขนาดธุรกิจที่ใหญ่กว่าสตาร์ทอัพและสินทรัพย์ส่วนใหญ่เป็นสินทรัพย์ที่จับต้องได้ แต่ไม่ว่าจะเป็นสตาร์ทอัพหรือเอสเอ็มอีก็ล้วนต้องทำกิจการเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ต้องปรับเปลี่ยนให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี และธุรกิจเหล่านี้ล้วนต่างก็มีความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้กับประเทศไทยทั้งสิ้นเพราะก่อให้เกิดการจ้างงาน สร้างมูลค่าเพิ่ม รวมทั้งเป็นซัพพลายเชนของธุรกิจและอุตสาหกรรมขาดใหญ่ ฯลฯ

ศูนย์ความร่วมมือและพัฒนาผลิตภัณฑ์” หรือ Customer Solution Center (CSC) ที่บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC ผู้นำด้านธุรกิจปิโตรเคมีครบวงจรของไทยถูกจัดตั้งเพื่อสนับสนุนให้ธุรกิจยั่งยืนแล้วยังตอบโจทย์นโยบายรัฐบาลในการขับเคลื่อนไทยแลนด์ 4.0 ที่มุ่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยี เพราะศูนย์ CSC จะกระตุ้นให้เกิดการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้กับธุรกิจเอสเอ็มอี และก่อให้เกิดขึ้นของสตาร์ทอัพ(Startup) ได้อีกด้วย เนื่องจากเม็ดพลาสติกปัจจุบันถูกนำมาต่อยอดทางเทคโนโลยีจนกลายเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ จำนวนมากที่ใช้ในชีวิตประจำวันของคนเรา ไม่ว่าจะเป็น เสื้อผ้า รองเท้า บรรจุภัณฑ์ต่างๆ หรือแม้กระทั่งวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ ชิ้นส่วนอากากาศยาน ฯลฯ จึงนับเป็นผลิตภัณฑ์ที่มอบความสุขให้กับทุกชีวิตบนโลกใบนี้ก็ว่าได้
ศูนย์ CSC จึงเป็นตัวเชื่อมประสานองค์ความรู้ ผู้เชี่ยวชาญด้านวิจัยและพัฒนา รวมไปถึงนักดีไซเนอร์ที่จะมาหล่อหลอมแนวคิดของทุกส่วนไปสู่ผลิตภัณฑ์ตามที่คิดไว้ให้เป็นจริงและปรับพลาสติกให้เหมาะสมกับทุกผลิตภัณฑ์ที่จะเกิดขึ้น โดยมีการเชื่อมโยงข้อมูลและการพัฒนาจากศูนย์ที่จ.ระยอง และที่ตั้งอยู่ชั้น 1 ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ ขณะเดียวกันยังมีศูนย์CSC สาขาในชื่อศูนย์ต้นคูณภายในศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม (ITC) เพื่อให้คำปรึกษาแนะนำด้านอุตสาหกรรมพลาสติกต่างๆเพื่อเอสเอ็มอีโดยเฉพาะอีกด้วย

ภายในศูนย์ CSC ผู้ที่เข้าไปเยือนจะได้พบกับตัวอย่างผลิตภัณฑ์ต่างๆให้เห็นถึงวิวัฒนาการที่นำไปสู่ผลิตภัณฑ์ในชีวิตประจำวัน และต่อยอดในการเพิ่มมูลค่าและมีการจัดนิทรรศการหมุนเวียนไปตามคอนเซ็ปต์ในแต่ละเดือน ตัวอย่าง Life Saving Innovation คือถุงทวารเทียม ที่เป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ราคาแพง ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ แต่จากการที่GC ร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.)และสถาบันพลาสติกทำวิจัยพัฒนาร่วมกันทดลองผลิตจนใช้งานได้และอยู่ระหว่างพัฒนาไปสู่เชิงพาณิชย์ เป็นต้น
นอกจากนี้ในส่วนของขยะพลาสติก ศูนย์ CSC จะชี้ให้เห็นถึงการสร้างมูลค่าให้เศษวัสดุ (Upcycling) ที่สามารถนำขยะพลาสติกมาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ เช่น เสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า ฯลฯ รวมไปถึงการพัฒนาพลาสติกจากขั้นพื้นฐานทั่วไปมาสู่การตอบโจทย์รักสิ่งแวดล้อมให้กลายเป็นพลาสติกที่ย่อยสลายได้ก็คือ พลาสติกชีวภาพ ที่ผลิตมาจากพืชผลทางการเกษตรที่จะทำให้เกิดรายได้ที่เพิ่มขึ้นให้กับเกษตรกรของไทยในอนาคต เหล่านี้ล้วนเป็นทางเลือกให้กับผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้น ที่เหลือคือความคิดสร้างสรรค์จากทุกส่วนที่จะมารวมตัวกันเท่านั้นเอง

“การนำเม็ดพลาสติกให้ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ นั้นจะมีหลายขั้นตอน ไม่ว่าเจ้าของนั้นๆต้องการให้ผลิตภัณฑ์พลาสติกออกมาในรูปแบบใหม่ หรือการออกแบบแม่พิมพ์ต่างๆ จะมีความเชื่อมโยงกันมาก GC เราอาสาให้ตัวเองเป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงความรู้ที่เกี่ยวข้องต่างๆ มาไว้ด้วยกันในศูนย์ CSC นี้ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นลูกค้าเรา ประชาชนทั่วไปที่ต้องการทำผลิตภัณฑ์สักตัวหนึ่งในเชิงพาณิชย์ก็มาคุยกับเราได้เราจะดึงความรู้ต่างๆ มาให้ได้ทั้งวัตถุดิบ การออกแบบ กรณีต้องการปรับแต่งพลาสติกให้เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์เราก็มีส่วนงานทีมวิจัยและพัฒนาหรือ R&D เป็นต้น ซึ่งแนวทางดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งที่ GC มุ่งที่จเป็นผู้นำด้านนวัตกรรม และเคมีที่เข้าถึงทุกความสุข (Chemistry for Better Living) “นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC กล่าว
จากคุณสมบัติของ”เม็ดพลาสติก”ซึ่งเป็นวัตถุดิบหรือวัสดุที่มีน้ำหนักเบา คงทนแข็งแรง มีราคาที่สามารถเข้าถึงง่ายจึงทำให้ผู้พัฒนาล้วนเลือกที่จะใช้เป็นวัสดุตั้งต้นเพื่อการคินค้นและวิจัยให้เกิดผลิตภัณฑ์ต่างๆ ขึ้นและเหนืออื่นใดจากการที่ พลาสติสามารถนำกลับมาได้แบบไม่รู้จบ (Life Time ) เพราะสามารถนำมารีไซเคิลได้หรือแม้แต่ขยะพลาสติกที่ถูกทิ้งอย่างไม่รู้คุณค่าก็ยังนำมาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ได้อย่างไม่น่าเชื่อ เช่น เสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้าฯลฯ
ดังนั้นศูนย์ CSC จะส่งผลให้เกิดผลิตภัณฑ์พลาสติกใหม่ๆ ที่เป็นนวัตกรรมล่าสุดที่จะนำประโยชน์ให้เกิดขึ้นต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมไทย ซึ่งไม่แน่ว่าสตาร์ทอัพในอนาคตอาจเป็นคุณใครก็เป็นไปได้
ศูนย์รวมข้อมูลเพื่อธุรกิจ SME (เอสเอ็มอี)
www.smethailandclub.com