ขึ้นค่าแรงเอกชนขู่ปรับสินค้า-ลูกจ้างฮึ่มก่อม็อบ

นายยงยุทธ เม่นตะเภา ประธานที่ปรึกษาสหพันธ์แรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รมว.แรงงาน ได้รับปากนำเรื่องการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท/วันทั่วประเทศ 70 จังหวัดที่เหลือซึ่งจะมีผล 1 ม.ค.2556 เข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายใน 20 พ.ย.2555 นี้ ซึ่งเครือข่ายแรงงานกำลังติดตามหากไม่เข้าจริงจะเคลื่อนไหวทันที เนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมาระบุว่า การประชุมครม.ได้เลื่อนเป็นวันที่ 12 พ.ย. ประกอบกับน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ไม่ได้เซ็นเรื่องไว้

 

นายยงยุทธ เม่นตะเภา ประธานที่ปรึกษาสหพันธ์แรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รมว.แรงงาน ได้รับปากนำเรื่องการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท/วันทั่วประเทศ 70 จังหวัดที่เหลือซึ่งจะมีผล 1 ม.ค.2556 เข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายใน 20 พ.ย.2555 นี้ ซึ่งเครือข่ายแรงงานกำลังติดตามหากไม่เข้าจริงจะเคลื่อนไหวทันที เนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมาระบุว่า การประชุมครม.ได้เลื่อนเป็นวันที่ 12 พ.ย. ประกอบกับน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ไม่ได้เซ็นเรื่องไว้

"การที่เอกชนระบุว่าจะขอเวลาศึกษามาตรการเยียวยาก่อนและให้ชะลอเข้าครม. เป็นคนละเรื่อง เพราะเราเข้าใจผลกระทบต่อธุรกิจแต่เมื่อเป็นนโยบายรัฐก็ต้องไปดูแลเอสเอ็มอี และค่าแรงที่ขึ้นก็ไม่ได้มากเมื่อเทียบกับค่าครองชีพที่สูงมาก เรามองว่าค่าแรงน่าจะอยู่ที่ 400 บาทด้วยซ้ำไป" นายยงยุทธกล่าว

ด้านนายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ปี 2556 ภาคธุรกิจไทย โดย เฉพาะเอสเอ็มอี มีความเสี่ยงสูงในการทำธุรกิจโดยเฉพาะต้นทุนที่จะต้องปรับขึ้นตามค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ประกอบกับต้นทุนอื่นๆ ทั้งวัตถุดิบ ขนส่ง ก็เริ่มมีทิศทางขยับราคาทำให้แนวโน้มเอสเอ็มอีจะประสบปัญหาสภาพคล่อง และหากปรับตัวไม่ได้ ธุรกิจจะต้องปิดกิจการมากขึ้น

"มาตรการเยียวยาจากรัฐดูแล้วก็ช่วยได้ไม่มาก เชื่อว่าธุรกิจโดยรวมอาจต้องทยอยปรับราคาสินค้าในช่วงไตรมาส 2 ปีหน้าเป็นต้นไป เพื่อลดภาระต้นทุน ส่วนหนึ่งเพื่อความอยู่รอด เพราะไตรมาสแรกจะยังคงใช้สต๊อกสินค้าเก่าอยู่" นายธนิตกล่าว

        สำหรับธุรกิจส่งออกทิศทางตลาดยังไม่ฟื้นตัวโดยเฉพาะ แนวโน้มวิกฤตสหภาพยุโรป (อียู) ปี 2556 มีโอกาสตกต่ำสุดขีดจากปัญหาการเงินของหลายประเทศที่เพิ่มขึ้น ตลาดสหรัฐหลังนายบารัก โอบามา ได้เป็นประธานาธิบดีอีกสมัย คาดว่าจะทรงตัวจากนโยบายที่จะต้องรัดเข็มขัด และต้องจับตาผู้นำจีนคนใหม่ที่ค่อนข้างไปแนวชาตินิยมอาจมีปัญหากับญี่ปุ่น ซึ่งในแง่ลงทุนอาจทำให้ทุนไหลเข้าไทยเพิ่ม แต่ภาพรวมส่งออกปีหน้าการแข่งขันจะรุนแรง การขยายตัวมากสุดของไทยโต 5-6% จากปีนี้

        นายทวี ปิยพัฒนา รองประธานส.อ.ท. กล่าวว่า การขึ้นค่าแรงทั่วประเทศปีหน้าถือเป็นจุดอันตรายของเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะเอสเอ็มอีจะอยู่ลำบากหลังเม.ย.2556 เชื่อว่าจะเห็นชัดเจนถึงผลกระทบ




 

NEWS & TRENDS