ซีอีเอ ผนึกอินโดนีเซีย เดินหน้าความร่วมมือสร้างสรรค์อุตสาหกรรมไทย-อินโดนีเซีย

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (CEA) จับมือ สำนักงานเศรษฐกิจสร้างสรรค์แห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ภายใต้ความร่วมมือครั้งสำคัญ “อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ไทย-อินโดนีเซีย” ผ่านการจัดการประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ด้านมาตรการส่งเสริมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์




     สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (CEA) จับมือ สำนักงานเศรษฐกิจสร้างสรรค์แห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ภายใต้ความร่วมมือครั้งสำคัญ “อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ไทย-อินโดนีเซีย” ผ่านการจัดการประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ด้านมาตรการส่งเสริมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ตลอดจนการส่งเสริมนักสร้างสรรค์ของทั้งสองประเทศ ให้มีโอกาสต่อยอดความคิดสร้างสรรค์และความร่วมมือทางธุรกิจระหว่างสองประเทศต่อไป ตั้งเป้าปั้นธุรกิจและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์อาเซียนให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก

               
     ดร. อรรชกา สีบุญเรือง ประธานกรรมการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (CEA) กล่าวว่าปัจจุบันนานาประเทศในภูมิภาคอาเซียนได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศด้วย “อุตสาหกรรมสร้างสรรค์” ซีอีเอในฐานะหน่วยงานขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศจึงร่วมมือกับสำนักงานเศรษฐกิจสร้างสรรค์แห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Indonesia Creative Economy Agency หรือ Badan Ekonomi Krestif : BEKRAF) ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วย “ความร่วมมืออุตสาหกรรมสร้างสรรค์ไทย-อินโดนีเซีย” เพื่อมุ่งเน้นพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์เป้าหมายของทั้งสองประเทศ



     

     ในส่วนของมูลค่าอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของประเทศไทย ณ ปัจจุบันมีมูลค่าสูงถึง 1.61 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 13.18 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) (ที่มา: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2557) ซึ่งกลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่มีมูลค่าสูง 3 อันดับแรก คือ อุตสาหกรรมแฟชั่น อุตสาหกรรมการออกแบบ อุตสาหกรรมแพร่ภาพกระจายเสียง ดร. อรรชกา กล่าว


     ด้านนายเตรียวัน มูนาฟ ประธานสำนักงานเศรษฐกิจสร้างสรรค์แห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซียกล่าวเสริมว่า จากข้อจำกัดด้านภูมิศาสตร์ที่เป็นหมู่เกาะและการกระจุกตัวของรายได้ในบางพื้นที่ จึงทำให้รัฐบาลอินโดนีเซียให้ความสำคัญกับการวางกรอบนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ พร้อมทั้งเร่งปรับโครงสร้างวางรากฐานการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ ให้เอื้อต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ได้แก่ การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานที่มีความสำคัญของอินโดนีเซีย (Palapa Ring) ที่ต้องดำเนินงานภายใต้ภารกิจเดียวกัน การพัฒนาโครงข่ายการสื่อสารโทรคมนาคม 4 จี การกำหนดยุทธศาสตร์ตลาดอีคอมเมิร์ซ และการก่อตั้ง “สำนักงานเศรษฐกิจสร้างสรรค์แห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย” เพื่อขับเคลื่อนภารกิจด้านการส่งเสริมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งจากการปรับโครงสร้างดังกล่าว ทำให้ธุรกิจในอินโดนีเซียประสบความสำเร็จ และเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกในช่วงเวลาสั้นๆ ได้
 





www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

NEWS & TRENDS