แกะกล่องสินค้าเกษตร ‘ไปรษณีย์เพิ่มสุข’ กับ ‘ลำไยอบกึ่งแห้ง ละพูน’

ประเทศไทยขึ้นชื่อในด้านผลผลิตทางการเกษตร และได้รับการยอมรับในฐานะครัวของโลก ผลิตผลทางการเกษตรของไทย ถือเป็นหนึ่งในหัวใจที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของคนไทย แต่ปัญหาหนึ่งของผลผลิตทางการเกษตร คือ การรักษาความสดใหม่ของผลผลิตจนถึงมือผู้บริโภคให้คงสภาพใกล้เคียงของเดิม




     ประเทศไทยขึ้นชื่อในด้านผลผลิตทางการเกษตร และได้รับการยอมรับในฐานะครัวของโลก ผลิตผลทางการเกษตรของไทย ถือเป็นหนึ่งในหัวใจที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของคนไทย แต่ปัญหาหนึ่งของผลผลิตทางการเกษตร คือ การรักษาความสดใหม่ของผลผลิตจนถึงมือผู้บริโภคให้คงสภาพใกล้เคียงของเดิม เนื่องด้วยสภาพปัจจัยที่แตกต่างกัน อาทิ ช่วงเวลาการเก็บเกี่ยวผลผลิต การดูแลรักษาระหว่างและหลังเก็บเกี่ยว และด้วยสภาพแวดล้อมที่คาดเดาได้ยาก ทั้งน้ำท่วม ภัยแล้ง ล้วนส่งผลต่อปริมาณและคุณภาพในการผลิตของผลิตผลทางการเกษตร สิ่งสำคัญที่จะเข้ามาช่วยป้องกันปัญหาและประกันคุณภาพผลผลิตทางการเกษตร คือ การพัฒนานวัตกรรมเพื่อรักษาความสดของผลผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรเสมือนรับประทานสดใหม่ และเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้ไปยังต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น
 

     บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ในฐานะหน่วยงานขนส่งและโลจิสติกส์ของรัฐที่อยู่เคียงคู่สังคมและเศรษฐกิจไทยมาตลอด 136 ปี ได้เล็งเห็นว่าการพัฒนาผลผลิตทางการเกษตร นับเป็นรากฐานสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิต และเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศ แต่ยังมีข้อจำกัดบางประการในด้านการวิจัยและพัฒนาผลผลิตทางการเกษตร สู่การแปรรูปให้คงรสสัมผัสแบบรับประทานสด จึงจับมือร่วมกับอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (STeP) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร สู่การปลดล็อกปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำ เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายตลาดต่างประเทศ และป้องกันปัญหาผลผลิตล้นตลาด ผ่านผลิตภัณฑ์ ‘ลำไยอบกึ่งแห้งสีทอง ละพูน’ ครั้งแรกในไทย ภายใต้แบรนด์ ‘ไปรษณีย์เพิ่มสุข’ ด้วยการดำเนินโครงการไปรษณีย์ไทย เพื่อแผ่นดินธรรม...แผ่นดินทองที่สนับสนุนการสร้างสรรค์นวัตกรรม ที่สร้างรายได้กลับสู่ชุมชนอย่างยั่งยืน โดยลำพูนถือเป็นหนึ่งในจังหวัดที่มีพื้นที่เพาะปลูกลำไยมากเป็นลำดับ 2 ของประเทศถึง 270,245 ไร่ และมีผลผลิตเฉลี่ยต่อปีมากกว่า 250,000 ตันต่อปี
               

     มาลี เปรมมณี ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรบ้านล่ามช้าง จ.ลำพูน กล่าวขอบคุณหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนที่เข้ามาพูดคุยรับทราบถึงปัญหาของชุมชน เสนอแนะแผนการวิจัยและพัฒนาต่างๆ ในการคิดหาทางออกให้ตั้งแต่กระบวนการแปรรูปต้นน้ำ ไปจนถึงช่องทางการกระจายผลผลิตในขั้นปลายน้ำ โดยผสานจุดแข็งโครงข่ายการขนส่งที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยของไปรษณีย์ไทย องค์ความรู้และนวัตกรรมจาก อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (STeP) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในด้านเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์การอาหาร จนก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ลำไยอบกึ่งแห้ง แบรนด์ ‘ละพูน’ บรรจุถุงสูญญากาศ ที่เปี่ยมด้วยลำไยพันธุ์อีดอคัดเกรดคุณภาพ ทั้งเกรด A และ AA ที่แม้จะนำไปผ่านกระบวนการแปรรูปด้วยวิธีการอบกึ่งแห้งแล้วแต่ยังคงความสด เนื้อสีทอง หอมนุ่ม มีรสชาติหวานอมเปรี้ยว อันเป็นเอกลักษณ์ให้รสสัมผัสเหมือนการรับประทานลำไยสด โดยที่สามารถเก็บได้นานถึง 6 เดือน การันตีคุณภาพด้วยมาตรฐาน อย. ทั้งนี้ลำไยอบกึ่งแห้งละพูนถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้นวัตกรรมการแปรรูปด้วยการอบกึ่งแห้งครั้งแรกในประเทศไทย
 

     ด้าน สมร เทิดธรรมพิบูล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท) กล่าวว่าที่ผ่านมา ไปรษณีย์ไทย มีกลยุทธ์การดำเนินงานเพื่อช่วยเหลือวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการปฏิบัติหน้าที่หลักด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ ด้วยการมอบหมายให้เครือข่ายไปรษณีย์ที่มีศักยภาพแต่ละเขตพื้นที่ ทำหน้าที่เหมือน One Stop Service กลมกลืนกับความเป็นอยู่ของชุมชน  ลงพื้นที่รับฟังปัญหา ให้คำปรึกษาด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ สนับสนุนช่องทางจำหน่าย ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ อาทิ เว็บไซต์ไทยแลนด์โพสต์มาร์ท (Thailandpostmart.com) ที่ทำการไปรษณีย์ไทย และ THP Contact Center 1545 อันจะเป็นการช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต และสร้างรายได้เพิ่มแก่ชุมชนได้อย่างยั่งยืนในอนาคต ตลอดจนสร้างภาพจำให้วิสาหกิจชุมชนและคนไทยนึกถึงไปรษณีย์ไทยเป็นลำดับแรก ในฐานะเครือข่ายชีวิตและเศรษฐกิจไทย
 

     ทั้งนี้ ไปรษณีย์ไทย หวังเป็นอย่างยิ่งว่าผลิตภัณฑ์ลำไยอบกึ่งแห้งละพูน ภายใต้แบรนด์ไปรษณีย์เพิ่มสุขจะได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี และเป็นโมเดลต้นแบบในการแก้ปัญหาผลผลิตทางการเกษตรอื่นๆ ของประเทศได้ในอนาคต สนใจสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ www.Thailandpostmart.com หรือ THP Contact Center 1545



www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี
 

NEWS & TRENDS