SEED Symposium 2020 สร้างผู้ประกอบการเศรษฐกิจสีเขียว

SEED ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาของผู้ประกอบการด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม ในการขับเคลื่อนวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนในภูมิภาคอาเซียน เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการและนวัตกรรมใหม่ๆ ในการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม พร้อมผลักดันให้เข้าสู่การดำเนินธุรกิจแบบเศรษฐกิจสีเขียว



 
     ดร.เลวิส อาเคนจิ ผู้อำนวยการบริหาร SEED กล่าวว่า SEED ได้ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาของผู้ประกอบการด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม ในการขับเคลื่อนวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนในภูมิภาคอาเซียน เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการและนวัตกรรมใหม่ๆ ในการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม พร้อมผลักดันให้เข้าสู่การดำเนินธุรกิจแบบเศรษฐกิจสีเขียว


     โดยในปี 2562 มีผู้ประกอบการสมัครเข้าร่วมโครงการ 906 ราย จาก 9 ประเทศ จากประเทศในทวีปแอฟฟริกา จำนวน 690 ราย และภูมิภาคเอเชียจำนวน 216 ราย ซึ่งในจำนวนนี้มีผู้สมัครจากประเทศไทย จำนวน 38 ราย แบ่งเป็นผู้ประกอบการด้านเกษตร คิดเป็นร้อยละ 43 เปอร์เซ็นต์ รองลงมา คือ ผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมรีไซเคิล คิดเป็นร้อยละ 21 เปอร์เซ็นต์ ผู้ประกอบการด้านพลังงาน คิดเป็นร้อยละ 16 เปอร์เซ็นต์ และผู้ประกอบการอื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 20 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ
 

     ดร.เลวิส กล่าวต่อว่าในปีที่ผ่านมาผู้ประกอบการเศรษฐกิจสีเขียวมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ด้วยมาตรการนโยบายของรัฐบาลที่กำหนดเป้าหมายให้มีการสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพธุรกิจบริการ การเข้าถึงแหล่งเงินทุน ตลอดจนสภาวะตลาดที่เอื้ออำนวย ทำให้องค์กรขนาดเล็กที่กำลังเติบโตสามารถมีส่วนร่วมในการเป็นผู้ประกอบการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวเพิ่มมากขึ้น โดยการประชุมครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความพยายามของภาครัฐ อาทิ สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ ธนาคารแห่งประเทศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ซึ่งได้นำเสนอโครงการพัฒนาเชิงบูรณาการที่หลากหลาย การเชื่อมโยงกับเทคโนโลยี และความร่วมมือกับกิจการขนาดเล็ก เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาภาคเกษตรและชุมชน
 

     จารุวรรณ คำเมือง ผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ หจก.ฟางไทย แฟตอรี่ ผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศบรรจุภัณฑ์ทำจากกระดาษฟางข้าวโดยชุมชนท้องถิ่น กล่าวว่าหลังจากที่เข้าร่วมโครงการกับ SEED ในการให้คำปรึกษาด้านแผนธุรกิจ การติดตามพัฒนาการและขยายผลการดำเนินการ ทำให้สามารถเข้าใจเกี่ยวกับหลักการดำเนินธุรกิจ กลยุทธ์ในการขยายตลาด เพื่อนำมาปรับใช้ให้เข้าธุรกิจของตนมากขึ้น
 

     โดยกล่าวว่าเนื่องจากเกษตรกรในชุมชนหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว มักจะใช้วิธีการเผาฟางข้าว ซึ่งก่อปัญหาการปล่อยควันและก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ เพื่อเปลี่ยนจากของเสียเป็นโอกาส จึงตัดสินใจที่จะทำกระดาษย่อยสลายได้ 100 เปอร์เซ็นต์จากฟางข้าว อีกทั้งยังเป็นการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร จึงกำเนิดเป็นบรรจุภัณฑ์ทำจากกระดาษฟางข้าว นำขยะจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตมาแปรรูปเป็นกระดาษ กล่อง บรรจุภัณฑ์ ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดในปัจจุบัน โดยหวังว่าจะได้รับการตอบรับที่ดีจากนักลงทุนและมีส่วนร่วมในธุรกิจรักษาสิ่งแวดล้อมในครั้งนี้
 


www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี
 
 

NEWS & TRENDS