"ตลาดเครื่องสำอางไทยคึกคักเตรียมจัด “Cosmoprof CBE ASEAN 2020” โอกาสธุรกิจความงามไทยสู่เวทีโลก"

บริษัท อินฟอร์มา มาร์เก็ต จำกัด ผู้เชี่ยวชาญในการจัดงานแสดงสินค้าสำหรับธุรกิจอุตสาหกรรมและนวัตกรรม ร่วมกับ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมผู้ผลิตเครื่องสำอางไทย แถลงข่าวการจัดงาน “คอสโมพรอฟ ซีบีอี อาเซียน แบงค็อก 2563 (Cosmoprof CBE ASEAN 2020)” งานจัดแสดงสินค้าเพื่อธุรกิจค..



 
     บริษัท อินฟอร์มา มาร์เก็ต จำกัด ผู้เชี่ยวชาญในการจัดงานแสดงสินค้าสำหรับธุรกิจอุตสาหกรรมและนวัตกรรม ร่วมกับ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมผู้ผลิตเครื่องสำอางไทย แถลงข่าวการจัดงาน “คอสโมพรอฟ ซีบีอี อาเซียน แบงค็อก 2563  (Cosmoprof CBE ASEAN 2020)” งานจัดแสดงสินค้าเพื่อธุรกิจความงามระดับโลก ที่จะมาสร้างบรรทัดฐานใหม่ของอุตสาหกรรมความงามในภูมิภาคอาเซียน ที่จะเกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทย พร้อมสร้างโอกาสให้กับผู้ประกอบการด้านความงามไทย ฝ่าวิกฤตเปิดทางออกปัญหาเศรษฐกิจโลก ผ่านงานเสวนา “ฝ่าวิกฤติ กับโอกาสการลงทุนเครื่องสำอางไทยในตลาดโลก ปี 2563” จากผู้เชี่ยวชาญด้านตลาดความงามและเครื่องสำอางชั้นนำ
 

     สรรชาย นุ่มบุญนำ รองกรรมการผู้จัดการ อินฟอร์มา มาร์เก็ต ประเทศไทย กล่าวถึง ภาพรวมของตลาดเครื่องสำอางไทยว่า ตลาดเครื่องสำอางถือเป็นตลาดที่มีกำลังการเติบโตสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี ซึ่งสะท้อนความน่าเชื่อถือของเครื่องสำอางไทยในตลาดโลกได้เป็นอย่างดี อีกทั้งศักยภาพของประเทศไทยยังเอื้อต่อการเติบโตของตลาดเป็นอย่างมาก ทั้งในด้านมาตรฐานภาคการผลิตในระดับสูง คุณค่าของวัตถุดิบที่สามารถต่อยอดสู่ผลิตภัณฑ์ใหม่ รวมไปถึงความเป็นจุดศูนย์กลางของอาเซียนและมาตรฐานของระบบโลจิสติกส์ ที่เป็นปัจจัยสำคัญให้อุตสาหกรรมความงามไทยมีความพร้อมและเป็นที่เชื่อมั่นของนักลงทุน
 

     ทั้งนี้ ด้วยจุดแข็งของตลาดเครื่องสำอางไทย มีผลช่วยให้เศรษฐกิจโดยรวมในประเทศมีการขับเคลื่อน และดึงเอาเม็ดเงินจากต่างชาติให้ไหลเข้ามาในประเทศมากขึ้น ทั้งยังเป็นตลาดที่เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยสามารถเติบโตแข่งขันกับผู้เล่นเก่าและผู้เล่นต่างชาติได้อย่างเท่าเทียม โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย ที่สินค้า Made in Thailand Products มีความต้องการซื้อพุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี เช่นจากใน จีน เกาหลี ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ กัมพูชา ออสเตรเลีย ‘อินฟอร์มา มาร์เก็ต’ จึงใช้โอกาสนี้ สร้างเวทีเพื่อผู้ประกอบเครื่องสำอางไทยนำพาสินค้าในมือขยายไปสู่ตลาดโลก ในชื่องานว่า “คอสโมพรอฟ ซีบีอี อาเซียน แบงค็อก 2563 (Cosmoprof CBE ASEAN 2020)” ซึ่งเป็นงานจัดแสดงสินค้าเพื่อธุรกิจความงามที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน โดยจะจัดขึ้นในวันที่ 17-19 กันยายน 2563 ณ ศูนย์การแสดงสินค้า และการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี
 

     ด้าน เกศมณี เลิศกิจจา ประธานกลุ่มคลัสเตอร์สุขภาพและความงาม ประธานกลุ่มเครื่องสำอางสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และนายกสมาคมผู้ผลิตเครื่องสำอางไทย กล่าวถึงภาพรวมการแข่งขันในตลาดผู้ผลิตเครื่องสำอางว่าแม้ว่าตลาดเครื่องสำอางจะมีมูลค่าการเติบโตสูงขึ้นทุกปี แต่ในด้านของการแข่งขันก็มีไม่น้อยไปกว่ากัน โดยเฉพาะในปีที่ผ่านมา มีผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเกิดใหม่เพิ่มมากขึ้น ทั้งยังมีรูปแบบนำเสนอสินค้าที่หลากหลายกว่าเดิม อาทิ เทรนด์ผลิตภัณฑ์ที่แปลกใหม่ Packaging ที่แตกต่างพกพาสะดวก ราคาต่อหน่วยที่ถูกลง โดยเฉพาะช่องทางการขายที่เข้าถึงได้ง่าย ทั้งจากช่องทางเดิมๆ ใน Modern trade, Convenient store, Beauty shop, Retail shop และการบุกทาง Online ผ่านทาง Social Media ต่างๆ ซึ่งมีต้นทุนต่ำ ใช้งบน้อยและเข้าถึงผู้บริโภคได้ง่าย โดยกลุ่ม Startup, ดารานักแสดง, Net Idol ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้พฤติกรรม Brand Loyalty ของผู้บริโภคลดลง และนำมาซึ่งการตัดสินใจใช้สินค้าใหม่ๆ แบรนด์ใหม่ๆ ง่ายขึ้น”
 

     โดยจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคครั้งนี้ ประกอบกับการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ ส่งผลให้ตลาดเครื่องสำอางมีการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น เพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค โดยเฉพาะกลุ่ม Mass ระดับกลางและระดับล่าง ทั้งในกลุ่มผู้ประกอบการใหม่, กลุ่มผู้ขายสินค้านำเข้า หรือแม้แต่กลุ่ม Global Brand เอง ก็เริ่มพัฒนา Collection ที่ถูกลง เพื่อเข้าหาลูกค้ากลุ่ม Mass มากขึ้น รวมถึงออก Fighting brand ใหม่ๆ ในราคาที่จับต้องได้ เพื่อร่วมในตลาดระดับรองลงมา และรักษาส่วนแบ่งการตลาดในกลุ่มสินค้านั้นๆ แต่โชคดีที่ในปี 2563 สัดส่วนของผู้บริโภคจะมีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากอายุของกลุ่มที่เริ่มใช้เครื่องสำอางมีค่าเฉลี่ยลดลง ทั้งยังมีโอกาสจากกลุ่มนักลงทุนต่างประเทศ ที่เชื่อมั่นในศักยภาพของประเทศไทย และมองหาคู่ค้าไทยในการทำธุรกิจ
 

     ซึ่งแม้จะมีสถานการณ์ความขัดแย้งในพื้นที่ตะวันออกกลาง แต่นับเป็นเรื่องดีที่ตลาดเครื่องสำอางไทยได้รับผลกระทบค่อนข้างน้อย เนื่องจากความเชื่อมั่นสินค้าด้านเครื่องสำอาง Made in Thailand product ซึ่งเห็นจากมูลค่าการส่งออกเครื่องสำอางไทยในปี 62 กว่า 130,000 ล้านบาท เติบโตกว่า 6 เปอร์เซ็นต์ แต่ทั้งนี้การจะดันมูลค่าตลาดให้เติบโตขึ้นต้องอาศัยการร่วมจากทั้งกลุ่มผู้ประกอบการและภาครัฐ ในการผลักดันชุดยืนของโลโก้ Made in Thailand ให้ชัดเจนและน่าเชื่อถือมากขึ้น รวมถึงต้องร่วมกันผลักดันงานแสดงสินค้าให้เป็นที่รับรู้มากขึ้น เพื่อที่จะส่งให้สินค้าความงามไทยไปอยู่ในสายตาโลกได้มากที่สุด
 
 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

NEWS & TRENDS