ส.อ.ท.ชี้มาตรการรัฐช่วย SMEs เพียงบางส่วน

นายธนิต โสรัตน์ เลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า มาตรการบรรเทาผลกระทบที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบในวันนี้ส่วนใหญ่เป็นมาตรการเกี่ยวกับภาษี โดยมาตรการยกเว้นภาษีกำไรของผู้ประกอบการที่มีกำไร 150,000 บาท เพิ่มการยกเว้นเป็น 300,000 บาท และการต่ออายุหักค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร 100% ออกไปอีก 1 ปี เป็นมาตรการที่ได้ประโยชน์เฉพาะ SMEs ที่มีกำไร แต่ที่ผ่านมา ส.อ.ท.เคยศึกษาพบว่าการปรับค่าจ้างขั้นต่ำขึ้นวันละ 300 บาท ทำให้ต้นทุนรวมเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 10-15% ในขณะที่กำไรของธุรกิจเฉลี่ยอยู่ที่ 4-5% จึงทำให้ธุรกิจมีโอกาสขาดทุนมากกว่ากำไรและจะทำให้มาตรการด้านภาษีไม่มีประโยชน์กับผู้ที่ขาดทุน



นายธนิต โสรัตน์ เลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า มาตรการบรรเทาผลกระทบที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบในวันนี้ส่วนใหญ่เป็นมาตรการเกี่ยวกับภาษี โดยมาตรการยกเว้นภาษีกำไรของผู้ประกอบการที่มีกำไร 150,000 บาท เพิ่มการยกเว้นเป็น 300,000 บาท และการต่ออายุหักค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร 100% ออกไปอีก 1 ปี เป็นมาตรการที่ได้ประโยชน์เฉพาะ SMEs ที่มีกำไร แต่ที่ผ่านมา ส.อ.ท.เคยศึกษาพบว่าการปรับค่าจ้างขั้นต่ำขึ้นวันละ 300 บาท ทำให้ต้นทุนรวมเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 10-15% ในขณะที่กำไรของธุรกิจเฉลี่ยอยู่ที่ 4-5% จึงทำให้ธุรกิจมีโอกาสขาดทุนมากกว่ากำไรและจะทำให้มาตรการด้านภาษีไม่มีประโยชน์กับผู้ที่ขาดทุน

สำหรับมาตรการลดภาษีหัก ณ ที่จ่ายลงเหลือ 2% เป็นมาตรการที่ช่วยลดต้นทุนให้ผู้ประกอบการแต่ไม่ได้เสริมสภาพคล่อง ซึ่งต้นทุนค่าจ้างที่ปรับขึ้นแบบก้าวกระโดดทำให้ผู้ประกอบการต้องการมาตรการที่ช่วยเสริมสภาพคล่องมากกว่า โดยเฉพาะการตั้งกองทุนจ่ายเงินชดเชยส่วนต่างที่ช่วยเข้ามาเสริมสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการได้ทันที แต่รัฐบาลบอกว่าทำไม่ได้ จึงทำให้วันที่ 8 ม.ค.55 สภาอุตสาหกรรม 5 ภาค ได้ส่งหนังสือถึงเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เพื่อขอพบ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่ออธิบายว่า  SMES ในต่างจังหวัดได้รับผลกระทบจริง และต้องการพานายกรัฐมนตรีไปดูกรณีศึกษาในต่างจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากการปรับค่าจ้างขั้นต่ำจริง

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาในภาพรวมพบว่ามาตรการที่ออกมาแล้วของรัฐบาลช่วยบรรเทาผลกระทบให้ SMEs ได้ระดับหนึ่งแต่ไม่มาก เพราะมีหลายมาตรการที่ไม่ได้เกี่ยวข้องทางตรงหรือช่วยได้ไม่มาก เช่น การลดค่าธรรมเนียมต่างๆ โดยเมื่อเปรียบเทียบกับภาระต้นทุนที่สูงขึ้นแล้วเทียบไม่ได้ และที่ผ่านมารัฐบาลพยายามออกมาตรการด้านสินเชื่อเพื่อช่วยสภาพคล่องกับ SMEs ที่ขาดทุน แต่มาตรการสินเชื่อของรัฐมีปัญหาเรื่องการเข้าถึง เช่น การกู้มีเงื่อนไขเหมือนกับการขอสินเชื่อปกติจากธานาคารพาณิชย์ ซึ่งทำให้ SMEs ที่เข้าถึงสินเชื่อจากมาตรการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำของรัฐมีไม่มาก

รัฐบาลจำเป็นที่ต้องออกมาตรการมาเพิ่มเติมเพราะเอสเอ็มอีที่เน้นตลาดส่งออกไม่สามารถปรับราคาสินค้าขึ้นได้ โดยถ้าปรับขึ้นก็จะแข่งขันด้านราคากับประเทศคู่แข่งไม่ได้ ส่วนเอสเอ็มอีที่ผลิตสินค้าสำหรับตลาดในประเทศบางส่วนอาจปรับราคาสินค้าขึ้นได้แต่ก็ขึ้นกับสภาพการแข่งขันแต่ละธุรกิจ ซึ่งเมื่อดูอัตราเงินเฟ้อเดือน ธ.ค.55 อยู่ที่ 3.7% และอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปี 2555 อยู่ที่ 3.3% แสดงว่าราคาสินค้าปรับสูงขึ้นไม่มาก โดยส่วนหนึ่งอาจมาจากกำลังซื้อของประชาชนที่มีจำกัดและสินค้าบางส่วนถูกตรึงราคาไว้

 

NEWS & TRENDS