SMEs โดนพิษค่าแรงเจ๊งนับร้อยราย

สมาพันธ์ผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ไทยวอนรัฐฯ อย่าทอดทิ้ง ยื่นมือช่วย SMEs ส่งออก หลังกระทบหนักค่าแรง 300 บาท ควบวิกฤตหนี้ยุโรป เผยเอสเอ็มอีทยอยปิดตัวแล้วกว่า 100 ราย โต้รัฐฯ ขึ้นค่าแรงแบบไม่เป็นมวย ควรทำเป็นขั้นตอน คาดตัวเลขส่งออกสินค้าไลฟ์สไตล์ปีนี้จะอยู่ที่ 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นายสุพัฒน์ ศรีวรรณวิทย์ ประธานสมาพันธ์ผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ไทย เปิดเผยว่า สมาพันธ์ผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ไทยที่ประกอบด้วย 7 สมาคมพันธมิตร นอกจากได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวัน แล้ว ล่าสุดยอมรับว่าผู้ประกอบการยังได้รับผลกระทบจากวิกฤตยูโรโซนและเศรษฐกิจสหรัฐฯ อีกด้วย ส่งผลให้ผู้ประกอบการบางรายต้องลดขนาดองค์กร และกำลังการผลิต รวมถึงมีการปิดกิจการแล้วกว่า 100 รายจาก 3,000 ราย โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการเอสเอ็มอีภาคส่งออก

 


นายประเสริฐ บุญชัยสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยถึง ภาพรวมการลงทุน ในปี 2555 ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ ว่า มีนักลงทุนมาขอยื่นรับส่งเสริม จำนวน 2,582 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 1.4 ล้านล้านบาท ซึ่งถือว่า มากที่สุดเป็นประวัติศาสตร์ และตั้งแต่มีการจัดตั้ง บีโอไอ โดยจำนวนโครงการปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.7 เมื่อเทียบกับปี 2554 มี 1,990 โครงการ ส่วนด้านมูลค่าเงินลงทุน เพิ่มร้อยละ 131 เมื่อเทียบกับปี 2554 มีมูลค่าลงทุน 634,200 ล้านบาท ทั้งนี้ ยังทำให้การจ้างงานเพิ่มขึ้น ร้อยละ 61.6 หรือ 348,866 คน โดยประเทศที่มีการขอรับส่งเสริมการลงทุนมากที่สุดคือ ประเทศญี่ปุ่น

นอกจากนี้ โครงการที่ได้รับการอนุมัติส่งเสริมการลงทุน ปี 2555 มี 2,866 โครงการ มูลค่า 984,000 ล้านบาท ซึ่งถือว่า มากที่สุดเป็นประวัติศาสตร์เช่นกัน สำหรับกิจกรรมได้รับความสนใจจากกลุ่มนักลงทุนมากที่สุด คือ กลุ่มกิจการบริการและสาธารณูปโภค ทั้งนี้ ส่วนตัวมองว่า ปัจจัยที่มีนักลงทุน มาขอรับส่งเสริมการลงทุน เนื่องจาก ศักยภาพของประเทศไทย  เหตุการณ์ภัยธรรมชาติของประเทศญี่ปุ่น เศรษฐกิจโลก รวมทั้ง การเปิดใช้เศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2558

NEWS & TRENDS