การอนุญาตให้ต่างชาติลงทุนในไทย ภายใต้ พ.ร.บ.ต่างด้าวฯ พ.ค.63

ในการประชุมของคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว คณะกรรมการฯ ได้อนุญาตให้คนต่างชาติ 20 ราย ประกอบธุรกิจในประเทศไทยภายใต้ พ.ร.บ.ต่างด้าวฯ โดยส่วนใหญ่เป็นคนต่างชาติจากประเทศญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ และฮ่องกง




     ในการประชุมของคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว คณะกรรมการฯ ได้อนุญาตให้คนต่างชาติ 20 ราย ประกอบธุรกิจในประเทศไทยภายใต้ พ.ร.บ.ต่างด้าวฯ โดยส่วนใหญ่เป็นคนต่างชาติจากประเทศญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ และฮ่องกง ซึ่งมีการนำเงินเข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจกว่า 442 ล้านบาท และส่งเสริมให้เกิดการจ้างงานคนไทย 1,574 คน รวมถึงมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีอันเป็นองค์ความรู้เฉพาะด้านโดยตรงจากประเทศผู้เข้ามาลงทุน
 
 
     การอนุญาตให้ประกอบธุรกิจในครั้งนี้จะมีผลให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีอันเป็นวิทยาการซึ่งเป็นองค์ความรู้ในแขนงที่คนไทยยังไม่มีความชำนาญหรือมีความเชี่ยวชาญในระดับที่ไม่สูงมากนัก เช่น องค์ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติกที่นำไปฉีดขึ้นรูปเพื่อผลิตเป็นชิ้นส่วนต่างๆ เช่น ชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น องค์ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูลทางด้านพฤติกรรมของผู้ใช้บริการ Website และ Mobile Application และองค์ความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติของตาข่ายป้องกันปลวก รวมทั้งวิธีการติดตั้งตาข่ายป้องกันปลวกในบริเวณที่มีความยากและซับซ้อน ตลอดจนการตรวจสอบและซ่อมแซมตาข่ายป้องกันปลวก
 
 
     สำหรับธุรกิจที่คนต่างด้าวได้รับอนุญาต ได้แก่
 
 

  1. ธุรกิจบริการให้แก่บริษัทในเครือ/ในกลุ่ม จำนวน 6 ราย โดยเป็นนักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สมาพันธรัฐสวิส หมู่เกาะเคย์แมน และเนเธอร์แลนด์ มีเงินลงทุนจำนวน 64 ล้านบาท อาทิ 
 
  • นายหน้าจัดจำหน่ายเครื่องกลึงอัตโนมัติ (CNC AUTOMATIC LATHE) และชิ้นส่วน 
 
  • บริการวิจัยและพัฒนาเม็ดพลาสติก และพลาสติก
 
  • บริการบรรจุหีบห่อสินค้าอุปโภคและบริโภค
 
 
  1. ธุรกิจนายหน้า ค้าปลีก ค้าส่ง จำนวน 9 ราย โดยส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น นอร์เวย์ มาเลเซีย เยอรมนี สาธารณรัฐเซเซลส์ และสิงคโปร์  มีเงินลงทุนจำนวน 291 ล้านบาท อาทิ
 
 
  • นายหน้าประกันชีวิตและประกันวินาศภัยประเภทการจัดการให้มีการประกันภัยโดยตรง
 
  • ค้าปลีกอุปกรณ์ที่ใช้กับโปรแกรมติดตามการขนส่ง
 
  • ค้าส่งสินค้าเคมีภัณฑ์ ตาข่ายป้องกันปลวก และอุปกรณ์สำหรับใช้กับระบบติดตาม และตรวจสอบสถานะของรถบรรทุก เป็นต้น
 
 
  1. ธุรกิจบริการให้แก่ลูกค้า จำนวน 5 ราย โดยส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น ฮ่องกง และมาเลเซีย มีเงินลงทุนจำนวน 87 ล้านบาท อาทิ
 
 
  • บริการติดตั้ง ซ่อมแซม บำรุงรักษา การใช้งานสินค้าเครื่องมือแพทย์ รวมทั้งอุปกรณ์และชิ้นส่วน
 
  • บริการให้คำปรึกษาแนะนำด้านการสร้างความรับรู้ต่อแบรนด์หรือสินค้า (Brand Awareness) และด้านการพัฒนาธุรกิจ (Business Development)
 

     สำหรับเดือนพฤษภาคม 2563 ธุรกิจที่ได้รับอนุญาตเป็นธุรกิจที่สนับสนุนการทำงานของบริษัทในเครือในกลุ่มให้มีประสิทธิภาพและเป็นมาตรฐานเดียวกัน และธุรกิจบริการที่เกี่ยวกับ Digital Technology ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายส่งเสริมการลงทุนของภาครัฐ ดังตัวอย่างที่กล่าวมาข้างต้น

 
     ทั้งนี้ ในเดือนมกราคม – พฤษภาคม 2563 คนต่างด้าวได้รับใบอนุญาต จำนวน 112 ราย มีเงินลงทุนทั้งสิ้น 3,770 ล้านบาท และเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรากฏว่า จำนวนธุรกิจที่ได้รับอนุญาตเพิ่มขึ้น 29 ราย คิดเป็นร้อยละ 35  โดยมีต่างชาติลงทุนประกอบธุรกิจ อาทิ บริการวิจัยและพัฒนาเม็ดพลาสติก และพลาสติก บริการให้คำปรึกษาแนะนำด้านการสร้างความรับรู้ต่อแบรนด์หรือสินค้า (Brand Awareness) และด้านการพัฒนาธุรกิจ (Business Development) และการค้าส่งสินค้าเคมีภัณฑ์ ตาข่ายป้องกันปลวก และอุปกรณ์สำหรับใช้กับระบบติดตาม และตรวจสอบสถานะของรถบรรทุก เป็นต้น

 
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี
 
 

NEWS & TRENDS