SEAC ผนึก 8 สถาบัน เสริมแกร่งศักยภาพด้วย Hyper-Relevant Skills

บนบริบทโลกที่สภาพเศรษฐกิจของประเทศเหล่านั้นเติบโตและร่ำรวยขึ้นอย่างรวดเร็วเด่นชัด เป็นเพราะการพัฒนาที่แฝงด้วยการวิจัยแทบทั้งสิ้น โดยงานวิจัยจะช่วยขับเคลื่อนองค์ความรู้และนวัตกรรมที่ก่อให้เกิดประโยชน์ในการสร้างรากฐานที่มั่นคงให้กับเศรษฐกิจของประเทศ




     บนบริบทโลกที่สภาพเศรษฐกิจของประเทศเหล่านั้นเติบโตและร่ำรวยขึ้นอย่างรวดเร็วเด่นชัด เป็นเพราะการพัฒนาที่แฝงด้วยการวิจัยแทบทั้งสิ้น โดยงานวิจัยจะช่วยขับเคลื่อนองค์ความรู้และนวัตกรรมที่ก่อให้เกิดประโยชน์ในการสร้างรากฐานที่มั่นคงให้กับเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งจากสถิติของ UNESCO การวิจัยและพัฒนาของประเทศทั่วโลกมีมูลค่ารวมกันประมาณ 55 ล้านล้านบาท นำโดย ประเทศสหรัฐอเมริกา 15.6 ล้านล้านบาท จีน 12.2 ล้านล้านบาท และญี่ปุ่น 5.6 ล้านล้านบาท ยกตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกา กับการระดมความคิดของนักวิจัยเพื่อวางแนวทาง เรื่อง A Nation Makers การกำหนดโมเดลเศรษฐกิจรูปแบบใหม่เพื่อสร้างความมั่งคั่งของประเทศ จีน กับการประกาศ Made in China 2025 ที่เร่งการวิจัยเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมรถยนต์ประหยัดพลังงาน  อุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์อากาศยาน อุปกรณ์และหุ่นยนต์ควบคุมด้วยตัวเลข  และอุตสาหกรรมยาและอุปกรณ์การแพทย์ในอนาคต เป็นต้น
 
 
      นอกจากนั้น จากข้อมูลสถิติโลกทั่วโลกพบว่าประเทศที่ลงทุนและให้ความสำคัญกับการค้นคว้าและวิจัยสามารถผลักดันอัตราผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ให้สูงขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ แต่เมื่อย้อนกลับมาในบริบทของประเทศไทยเรายังมีความเข้าใจเรื่องความสำคัญของงานวิจัยในวงแคบ ผลงานวิจัยกว่า 80 – 90 เปอร์เซ็นต์ ของไทยยังคงมาจากสถาบันการศึกษาเพียงอย่างเดียว รวมถึงการที่มหาวิทยาลัยและสถาบันต่างๆ มีแนวทางการทำงานที่แตกต่างทำให้ขอบเขตการพัฒนา และประสิทธิภาพของการทำวิจัยยังไม่รวดเร็วพอเพียงต่อการเปลี่ยนแปลง ผนวกกับการได้งบประมาณการลงทุนเพื่อการวิจัยที่จำกัดคือเพียง 1 เปอร์เซ็นต์ ของ GDP ประเทศ การมีบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาที่ค่อนข้างจำกัดคือเพียง 11 คน ต่อประชากร 10,000 คน
 
 
     ทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่ส่งผลให้งานวิจัยของนักวิจัยไทยเพื่อการพัฒนาและแก้ไขปัญหาด้านต่างๆ ของประเทศที่จะตอบสนองต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจนั้นเป็นไปได้ช้าจึงนับเป็นความท้าทายของประเทศที่ต้องเร่งพัฒนาผลงานวิจัยจากนักวิจัยไทยให้มีคุณภาพ มีความทันยุคสมัย ประยุกต์ใช้งานได้จริง โดดเด่น ดึงดูดความสนใจในวงกว้างของตลาดได้ ไม่ได้เป็นแค่งานวิจัยขึ้นหิ้ง สามารถต่อยอดได้และเพิ่มโอกาสในการได้รับเงินลงทุนมากขึ้น มุ่งสู่ปลายทางในการพัฒนาประเทศ ซึ่งเงื่อนไขนี้จะเกิดได้นั้นต้องอาศัย ทั้งเรื่องความสามารถทางวิชาการของนักวิจัย รวมทั้งการเสริมสร้าง Hyper-relevant Skills หรือทักษะที่สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน
 
 
     อริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการ SEAC (Southeast Asia Center) ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน กล่าวว่า “ด้วยพันธกิจของ SEAC เรื่อง Empower Lives Through Learning เราเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีโอกาสบรรลุทุกๆ เป้าหมายของชีวิตได้หากมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต การร่วมมือกับ Research University Network (RUN) ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มนักวิจัยไทยจาก 8 มหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทย ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยนเรศวร ในครั้งนี้เพื่อส่งเสริมทักษะ Reskill & Upskill ให้กับผู้บริหาร นักวิจัยและบุคลากรผ่านทาง YourNextU จึงถือเป็นก้าวสำคัญของ SEAC กับการเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมเติมเต็ม Hyper-relevant Skills ให้กลุ่มนักวิจัยชั้นนำซึ่งถือเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีค่าของประเทศในการขับเคลื่อนความยั่งยืน และความแข็งแรงในเชิงเศรษฐกิจ
 
 
     จากประสบการณ์กว่า 28 ปีในการพัฒนาบุคลากรและองค์กรมากว่า 1.5 ล้านคน SEAC เชื่อว่าด้วยความชำนาญในเรื่อง Hyper-relevant Skills เราจะช่วยเสริมทักษะที่จำเป็นต่อการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยให้กับนักวิจัยไทย ซึ่งเมื่อประกอบกับความสามารถด้านวิชาการที่นักวิจัยจากแต่ละมหาวิทยาลัยมีอยู่แล้วเป็นทุนเดิม ผลลัพธ์ที่ออกมาจะเป็นการเพิ่มมูลค่าและคุณภาพของงานวิจัยที่ผลิตโดยนักวิจัยไทย สร้างสรรค์ให้ผลงานวิจัยกลายเป็นเรื่องราวที่ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนหรือประชาชนให้ความสนใจ และเห็นความสำคัญว่าจะนำมาสู่นวัตกรรมของประเทศ อันจะส่งผลโดยตรงต่อการขับเคลื่อนความแข็งแกร่งให้กับเศรษฐกิจของไทยให้พร้อมแข่งขันได้ในทุกๆ มิติในระดับโลก”
 


www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี


 

NEWS & TRENDS