ส.อ.ท.ย้ำรัฐไม่ช่วยจ่ายชดเชย SMEs เจ๊งระนาว

นายวัลลภ วิตนากร รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า การประชุมคณะทำงานร่วมภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อบรรเทาผลกระทบการปรับค่าจ้าง ขั้นต่ำที่มีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธาน ซึ่งยังไม่สรุปเกี่ยวกับการจ่ายเงินชดเชยส่วนต่างการปรับค่าจ้างขั้นต่ำให้เอสเอ็มอี แต่เรื่องนี้ภาคเอกชนเห็นว่าเป็นมาตรการที่ช่วยเหลือเอสเอ็มอีได้มากที่สุด เพราะค่าจ้างขั้นต่ำที่ปรับขึ้นเป็นวันละ 300 บาท มีผลต่อต้นทุนผู้ประกอบการมากและช่วยเหลือเอสเอ็มอีได้ 80-90% ของเอสเอ็มอีทั่วประเทศที่มีประมาณ 2.9 ล้านรายในปัจจุบัน

 


นายวัลลภ วิตนากร รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า การประชุมคณะทำงานร่วมภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อบรรเทาผลกระทบการปรับค่าจ้าง ขั้นต่ำที่มีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธาน ซึ่งยังไม่สรุปเกี่ยวกับการจ่ายเงินชดเชยส่วนต่างการปรับค่าจ้างขั้นต่ำให้เอสเอ็มอี แต่เรื่องนี้ภาคเอกชนเห็นว่าเป็นมาตรการที่ช่วยเหลือเอสเอ็มอีได้มากที่สุด เพราะค่าจ้างขั้นต่ำที่ปรับขึ้นเป็นวันละ 300 บาท มีผลต่อต้นทุนผู้ประกอบการมากและช่วยเหลือเอสเอ็มอีได้ 80-90% ของเอสเอ็มอีทั่วประเทศที่มีประมาณ 2.9 ล้านรายในปัจจุบัน

นายกิตติรัตน์ รับข้อเสนอการจัดสรรงบประมาณ 50,000 ล้านบาท เพื่อมาจ่ายเงินชดเชยส่วนต่างค่าจ้างขั้นต่ำให้ผู้ประกอบการ โดยรับที่จะหาข้อสรุปภายในเดือน ธ.ค.นี้ แต่ถ้ารัฐบาลไม่สามารถดำเนินการได้ก็อาจมีผลต่อการดำเนินธุรกิจของเอสเอ็มอี และอาจทำให้เอสเอ็มอีปิดกิจการได้ประมาณ 1 ล้านราย และอาจทำให้เอสเอ็มอีที่ได้เข้าร่วมโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำตามมาตรการต่างๆ วงเงินประมาณ 100,000 ล้านบาท ของรัฐที่มีมาก่อนหน้านี้เป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้

ทั้งนี้ หากเอสเอ็มอีไม่ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลจะทำให้เอสเอ็มอีขาดสภาพคล่อง และอาจมีผลต่อการชำระหนี้จนต้องปิดกิจการได้ และจะทำให้เอสเอ็มอีต้องถูกสถาบันการเงินยึดหลักทรัพย์ที่นำมาใช้ค้ำประกัน เงินกู้ โดยหลังจากที่การปรับค่าจ้างขั้นต่ำไปแล้ว 6 เดือน จะเห็นชัดเจนว่ามีผู้ประกอบการที่รับต้นทุนค่าแรงที่เพิ่มขึ้นก้าวไม่ได้และต้องปิดตัว จึงเห็นว่ามาตรการจ่ายเงินส่วนต่างควรออกมาเพื่อแบ่งเบาภาระต้นทุนค่าแรงของผู้ประกอบการในช่วง 3 ปี ที่ผู้ประกอบการต้องปรับตัวรับ

NEWS & TRENDS