ส.อ.ท.แตก 2 ฝ่ายต่างอ้างสิทธิ์ชอบธรรม

เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม คณะกรรมการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) มีการประชุมกัน 2 ฝ่ายที่ขัดแย้งกัน โดยกลุ่มของ นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธาน ส.อ.ท. จัดประชุมที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ มีคณะกรรมการเข้าร่วมประมาณ 183 คน ส่วนฝั่ง นายธนิต โสรัตน์ เลขาธิการ รักษาการประธาน ส.อ.ท. ได้ประชุมกันที่โรงแรมดุสิตธานี มีผู้เข้าร่วมประมาณ 176 คน

  


เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม คณะกรรมการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) มีการประชุมกัน 2 ฝ่ายที่ขัดแย้งกัน โดยกลุ่มของ นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธาน ส.อ.ท. จัดประชุมที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ มีคณะกรรมการเข้าร่วมประมาณ 183 คน  ส่วนฝั่ง นายธนิต โสรัตน์ เลขาธิการ รักษาการประธาน ส.อ.ท. ได้ประชุมกันที่โรงแรมดุสิตธานี มีผู้เข้าร่วมประมาณ 176  คน

นายธนิต เปิดเผยหลังการประชุมคณะกรรมการ ส.อ.ท.ว่า จะไม่รับรองการดำเนินงานใดๆ ที่ นายพยุงศักดิ์ ได้ดำเนินการไว้ เพราะถือว่าพ้นจากการเป็นประธาน ส.อ.ท.ไปแล้วตั้งแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน 2555 โดยเฉพาะการรับรองงบประมาณปี 2556 และการเบิกจ่ายเงินจากบัญชีธนาคารในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมาผู้ลงนามในเช็คไม่ใช่เหรัญญิก ซึ่งต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ (ข้อบังคับ ส.อ.ท.ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2531 ข้อ 5)

สำหรับปัญหา ส.อ.ท. มีการยึดติดกับอำนาจ ตำแหน่งส่วนบุคคลมากกว่าองค์กร  มีการดึงอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ 5-6 ราย เข้ามาร่วมเพื่ออ้างความชอบธรรมโดยไม่สนใจกรรมการ-สมาชิกส่วนใหญ่ของ ส.อ.ท. ที่ได้ถอดถอนอดีตประธานออกจากตำแหน่ง ทำให้ปัญหามีความซับซ้อน กลไกข้อบังคับ–พ.ร.บ. ไม่สามารถใช้ได้ เพราะไม่ยึดถือเรื่องที่จะตีความโดยไม่ดูตัวบทและวัตถุประสงค์ทำให้เกิดความสับสนต่อกรรมการ สมาชิก และบุคคลภายนอก

นายธนิต กล่าวต่อไปว่า อุตสาหกรรมขนาดใหญ่จะต้องวางตัวเป็นกลางไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดเพื่อให้เกิดการเจรจาในกระบวนการแก้ปัญหา เพราะที่ผ่านมาถูกดึงเข้ามาเพื่อสร้างความชอบธรรมทำให้ปัญหาความขัดแย้งถูกล็อคหาทางแก้ไขไม่ได้ อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ควรจะรับฟังข้อมูลจากทั้งสองฝ่ายและมีส่วนร่วมเป็นคนกลางในการแก้ไขปัญหา ไม่ใช่กลายเป็นส่วนหนึ่งของปัญหา

“คณะกรรมการ ส.อ.ท. จะต้องมีส่วนรับผิดชอบร่วมกันในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง โดยการเรียกร้องให้ใช้หลักเหตุและผล การศึกษาข้อบังคับและ พ.ร.บ. ให้มีความเข้าใจ อย่าหลงเชื่อว่าทำถูกต้องตามข้อบังคับโดยไม่เคยศึกษาหรือดูข้อเท็จจริง อย่าตกเป็นเครื่องมือฝ่ายหนึ่งผ่ายใด หรือเห็นแก่ตำแหน่งใดๆ ที่หยิบยื่นให้” นายธนิตกล่าว

นายธนิต กล่าวว่า สำหรับการแก้ปัญหาความขัดแย้งใน ส.อ.ท. ต้องแก้กันเอง โดยจะต้องมีการเจรจาระหว่างกลุ่มอุตสาหกรรมกับ ส.อ.ท. จังหวัด เพื่อให้มีการตั้งคณะกรรมการแก้ไขร่วมกัน โดยประธาน ส.อ.ท. ควรจะต้องเป็นบุคคลใดก็ได้ที่ทั้งกลุ่มอุตสาหกรรม และ ส.อ.ท.จังหวัดเห็นว่ามีความเหมาะสม  มีความโปร่งใส ยึดหลักความถูกต้อง ไม่แบ่งพรรคแบ่งพวก เพื่อให้มาแก้ปัญหาความขัดแย้ง  โดยไม่ยึดติดกับตัวบุคคลหรือยึดหลักพวกมากลากไป ไม่แบ่งฝักแบ่งฝ่าย การดำเนินการให้ถือข้อบังคับและมุ่งแก้ปัญหาขององค์กรเป็นสำคัญ

นายธนิต กล่าวว่า ต้องขอขอบคุณรัฐบาลที่การวางตัวเป็นกลาง เข้าใจปัญหาความขัดแย้งของ ส.อ.ท. ว่าเป็นเรื่องของเอกชน ให้แก้ไขปัญหากันเอง แต่การที่ยังมีตำรวจอยู่ที่สำนักงานของ ส.อ.ท. ศูนย์การประชุมแห่งชาติย์สิริกิติ์ เป็นเวลานานหนึ่งเดือน ทำให้เป็นสาเหตุหนึ่งซึ่งไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ เพราะเป็นการกีดกั้นไม่ให้กรรมการอีกฝ่ายหนึ่งเข้าไปพูดคุย และทำให้คุณพยุงศักดิ์ฯ อ้างว่ารัฐบาลให้การสนับสนุน ทำให้ไม่สามารถแก้ไขความขัดแย้งได้

นายธนิต กล่าวว่า ต้องไม่มีการเบี่ยงเบนปัญหาความขัดแย้งไปผูกติดกับการทุจริตการฝึกอบรมภายใต้งบประมาณของกระทรวงแรงงาน  เพราะจะทำให้เกิดความเสียหายต่อภาพลักษณ์ขององค์กร  เพราะความจริงผลการสอบสวนเบื้องต้นก็ชัดเจนตั้งแต่ต้นแล้วว่า สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ไม่เคยทำความตกลงใดๆ ไม่เคยได้รับงบประมาณ และไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการฝึกอบรมฯ ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน  การดำเนินการต่างๆ ที่เกี่ยวกับโครงการนี้ เป็นเรื่องส่วนบุคคล ไม่เกี่ยวกับ ส.อ.ท. และขอยืนยันว่าข้ออ้างในเรื่องนี้ ไม่เกี่ยวกับการถอดถอนคุณพยุงศักดิ์ฯ หากพบว่าใครกระทำความผิด ก็ขอให้ดำเนินคดีไปตามกฎหมาย

อย่างไรก็ดี ตามข้อบังคับฉบับที่ 2 พ.ศ. 2531 ข้อ 11 ทวิ กรณีประธานสภาพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ กำหนดให้ เลขาธิการทำหน้าที่รักษาการประธานไปก่อน เนื่องจากได้ผ่านกระบวนการเลือกตั้งโดย กส.เสียงข้างมากเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2555 สามารถดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในนามของ ส.อ.ท. ตามสิทธิและหน้าที่ตาม กฎหมาย   นอกจากนี้คณะกรรมการ มีมติว่าวันจันทร์ที่ 21 มกราคม 2556  คณะกรรมการบริหาร กรรมการ และสมาชิกจาก ส.อ.ท.จังหวัดทั่วประเทศ จะเข้าไปประชุม ณ สำนักงานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

ด้านนายพยุงศักดิ์ กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการ ส.อ.ท. ฝั่งที่สนับสนุนตนเองว่า ที่ประชุม มีมติดำเนินคดีกับกลุ่มที่แอบอ้างใช้สัญลักษณ์ และ ชื่อ ของ ส.อ.ท.  เพราะตาม พ.ร.บ. มีข้อบังคับห้ามในการแอบอ้าง และมีโทษตามอาญา เนื่องจากทำให้เกิดภาพลักษณ์ของ ส.อ.ท. ได้รับความเสียหาย นอกจากนี้ นายพยุงศักดิ์ ยังยืนยันว่าในการประชุมคณะกรรมการ ส.อ.ท. วันที่ 26 พฤศจิกายน ที่ผ่านมาไม่มีกฎหมายรับรอง ซึ่งถือว่าการประชุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งมติดังกล่าวก็จะไม่มีผลแต่อย่างใดผู้

NEWS & TRENDS