รัฐเมินข้อเสนอจ่ายส่วนต่างค่าแรงแทน SMEs

นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.การคลัง เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า กระทรวงการคลังยังไม่สามารถเสนอมาตรการเยียวยาผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก (เอสเอ็มอี) ที่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ ในวันที่ 1 ม.ค.2556 ได้ หลังหน่วยงานราชการบางแห่งยังมีความเห็นไม่สอดคล้องกัน โดยเฉพาะแนวทางที่เอกชนเสนอให้รัฐบาลช่วยเหลือชดเชยส่วนต่างค่าจ้างที่ปรับเพิ่มขึ้น ถือเป็นเรื่องที่ดำเนินการได้ยาก และไม่มีความเหมาะสม ส่วนมาตรการช่วยเหลืออื่นๆ ล่าสุดยังอยู่ระหว่างการพิจารณาความเหมาะสม คาดว่าจะสรุปได้เสร็จก่อนเสนอให้ที่ประชุม ครม.พิจารณาได้ในวันที่ 8 ม.ค.2556

 


นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.การคลัง เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า กระทรวงการคลังยังไม่สามารถเสนอมาตรการเยียวยาผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก (เอสเอ็มอี) ที่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ ในวันที่ 1 ม.ค.2556 ได้ หลังหน่วยงานราชการบางแห่งยังมีความเห็นไม่สอดคล้องกัน โดยเฉพาะแนวทางที่เอกชนเสนอให้รัฐบาลช่วยเหลือชดเชยส่วนต่างค่าจ้างที่ปรับเพิ่มขึ้น ถือเป็นเรื่องที่ดำเนินการได้ยาก และไม่มีความเหมาะสม ส่วนมาตรการช่วยเหลืออื่นๆ ล่าสุดยังอยู่ระหว่างการพิจารณาความเหมาะสม คาดว่าจะสรุปได้เสร็จก่อนเสนอให้ที่ประชุม ครม.พิจารณาได้ในวันที่ 8 ม.ค.2556

นอกจากนี้ ในส่วนมาตรการที่เห็นว่ามีความเหมาะสม เบื้องต้นได้เห็นชอบมาตรการปรับลดภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย สำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี จาก 3% เหลือ 2% ของเงินค่าจ้าง ซึ่งถือว่าสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลที่ได้ปรับลดการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลเหลือ 20% ในปี 2556 โดยยืนยันว่า การดำเนินการครั้งนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องทางการเงินของกระทรวงการคลัง แม้ว่าจะทำให้สูญเสียรายได้จากการจัดเก็บภาษีถึง 6.4 หมื่นล้านบาท  

“มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ที่เตรียมเสนอในวันที่ 8 ม.ค.นี้ คงไม่ได้ล่าช้า เพราะเชื่อว่าผลลัพธ์ที่ออกมาก็ไม่เปลี่ยนแปลง สามารถครอบคลุมและช่วยเหลือได้ทั้งหมด แต่ตอนนี้คงต้องดูรายละเอียดให้แน่ชัดก่อน และเชื่อว่าถึงอย่างไรผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบก็รอได้” นายกิตติรัตน์ กล่าว

 

NEWS & TRENDS