สสว.สรุปผลกระทบขึ้นค่าแรง 300 ใน 7 จังหวัดนำร่อง

สสว. ได้ดำเนินการศึกษาถึงผลกระทบจากค่าจ้าง 300 บาท โดยให้จัดทำข้อเสนอแนวทางการดำเนินงานเพื่อช่วยเหลือ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ (300 บาท) โดยการจัดประชุมระดมความคิดเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และนำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ต่อไป โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

 


สสว. ได้ดำเนินการศึกษาถึงผลกระทบจากค่าจ้าง 300 บาท โดยให้จัดทำข้อเสนอแนวทางการดำเนินงานเพื่อช่วยเหลือ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ (300 บาท) โดยการจัดประชุมระดมความคิดเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และนำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ต่อไป โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

1.กระทรวงแรงงานได้ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเฉลี่ยร้อยละ 39.46 ทั่วประเทศ โดยอิงจากบัญชีอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่ประกาศใช้อยู่ขณะนี้เป็นฐาน ทำให้ค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มเป็น 300 บาท/วัน ใน 7 จังหวัดนำร่อง ซึ่งมีความพร้อมมากที่สุด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร (กทม.) สมุทรสาคร ปทุมธานี นครปฐม นนทบุรี สมุทรปราการ และภูเก็ต 

2.ผลกระทบด้านบวก พบว่า มีการเพิ่มรายได้ของผู้ใช้แรงงานให้มีความสอดคล้องกับค่าครองชีพในปัจจุบันมากขึ้น อีกทั้งยังเพิ่มรายได้แรงงานมีผลทำให้อุปสงค์โดยรวมของประเทศขยายตัวสูงขึ้น รวมทั้งยังผลักดันให้ผู้ประกอบการต้องเพิ่มประสิทธิภาพแรงงาน และประสิทธิภาพการผลิต-การจัดการ ยิ่งไปกว่านั้น ยังลดปัญหาการถูกกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (non-tariff barriers : NTBs) อีกด้วย

3.ส่วนผลกระทบด้านลบนั้น พบว่า ทำให้ต้นทุนธุรกิจเพิ่ม และภาวะเงินเฟ้อและค่าครองชีพที่สูงขึ้น อีกทั้งผู้ประกอบการ SMEs โดยเฉพาะที่อยู่นอกทะเบียนนิติบุคคล (ประมาณ 2.3 ล้านราย) หันไปใช้แรงงานต่างด้าวนอกระบบเพิ่มมากขึ้น

4.ผกระทบต้นทุนด้านค่าใช้จ่ายแรงงาน กรณีค่าแรง 300 บาท/วัน พบว่า แรงงานSMEs ทั่วประเทศ ที่ได้รับประโยชน์ (50%) ประมาณ 5,253,754 คน โดยที่ต้นทุนแรงงาน คิดเป็นร้อยละ 11.8 ของต้นทุนปัจจัยการผลิตทั้งหมด ส่งผลให้ต้นทุนค่าใช้จ่ายในทุกๆ จังหวัดเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 4.72% 

5.กลุ่มธุรกิจที่ใช้แรงงานมาก ในภาคการผลิต เช่น เฟอร์นิเจอร์หวาย ผลิตพลอยเจียระไน ผลิตเครื่องนุ่งห่ม ผลิตกระเป๋าหนัง เฟอร์นิเจอร์ไม้ และฟอกย้อม พิมพ์ลายผ้า เป็นต้น มีต้นทุนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น ระหว่าง 15% - 28%

6.กลุ่มธุรกิจที่ใช้แรงงานมาก ในภาคบริการ เช่น ธุรกิจโรงแรม รับเหมาสร้างบ้าน การขนส่งทางบก เป็นต้น มีต้นทุนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น ระหว่าง 22% - 33% 

7.การดำเนินงานของกระทรวงอุตสาหกรรมในปีงบประมาณ 2555 เพื่อรองรับผลกระทบต่อ SMEs จากการปรับอัตราค่าจ้างใหม่ โดยเป็นการลดต้นทุนการดำเนินธุรกิจ SMEs ประกอบด้วย โครงการลดต้นทุนพลังงาน โครงการลดต้นทุนด้วยการเพิ่มผลิตภาพ (Productivity) เพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต และยกระดับมาตรฐานคุณภาพ โครงการลดต้นทุนด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) มาบริหารจัดการ  เป็นต้น
 

NEWS & TRENDS