SMEs 46% กุมขมับแผนเยียวยาไร้ประโยชน์

นายธนิต โสรัตน์ เลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ส.อ.ท.ได้จัดทำแบบสำรวจผู้ประกอบการ เอสเอ็มอี ทั่วประเทศเกี่ยวกับผลกระทบจากการปรับค่าจ้าง 300 บาท ช่วงระหว่างวันที่ 12-17 มกราคม 2556 ครอบคลุมทั้งกลุ่มอุตสาหกรรม หอการค้าจังหวัด และสมาคมต่างๆ เช่น สมาคมขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย สมาคมผู้ค้าปลีก สมาคมขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ เป็นต้น ซึ่งตอบแบบสำรวจกลับ 400 ราย จาก 1,000 ราย

 
นายธนิต โสรัตน์ เลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ส.อ.ท.ได้จัดทำแบบสำรวจผู้ประกอบการ เอสเอ็มอี ทั่วประเทศเกี่ยวกับผลกระทบจากการปรับค่าจ้าง 300 บาท ช่วงระหว่างวันที่ 12-17 มกราคม 2556 ครอบคลุมทั้งกลุ่มอุตสาหกรรม  หอการค้าจังหวัด และสมาคมต่างๆ เช่น สมาคมขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย สมาคมผู้ค้าปลีก สมาคมขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ เป็นต้น ซึ่งตอบแบบสำรวจกลับ 400 ราย จาก 1,000 ราย


  โดยผลจากแบบสอบถามพบว่ามาตรการช่วยเหลือของภาครัฐสามารถช่วยเหลือผู้ประกอบการได้มาก คิดเป็นร้อยละ 0 ช่วย ได้ปานกลาง ร้อยละ 2.22 ช่วยได้น้อยร้อยละ 51.11 และไม่สามารถช่วยได้เลยร้อยละ 46.67 ส่วนความพอใจต่อมาตรการรัฐพบเพียงร้อยละ 4.44 ที่ตอบว่ามีความพอใจ ขณะที่ร้อยละ 66.67 ไม่พอใจ และไม่แสดงความคิดเห็น ร้อยละ 28.89

ขณะที่ผลกระทบต่อโอกาสการดำเนินงานของธุรกิจและมีโอกาสปิดกิจการ คิดเป็นร้อยละ 24.44 กระทบแต่ยังสามารถประคองธุรกิจได้ ร้อยละ 64.44 และยังไม่แน่ใจ ร้อยละ 11.11

นอกจากนี้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังไม่มีนโยบายในการย้ายฐานการผลิต คิดเป็นร้อยละ 81.82 ขณะที่ผู้ประกอบการร้อยละ 18.18 มีแนวคิดที่จะย้ายฐานการผลิตไปในประเทศเพื่อนบ้าน

สำหรับประเทศที่นักลงทุนไทยต้องการไปลงทุน พบว่าร้อยละ 50 ต้องการย้ายไปผลิตในประเทศพม่า ร้อยละ 20 ประเทศกัมพูชา ร้อยละ 20  ประเทศอินโดนิเซีย และร้อยละ 20 ประเทศเวียดนาม ได้มีการประชุมระดมความคิดเห็น “ผลกระทบปรับขึ้นค่าแรง 300 บาท และข้อเสนอแนะมาตรการช่วยเหลือของภาคเอกชนนั้น โดยจากการสำรวจผลกระทบของสมาชิกกว่า 400 ราย  และ 20 สมาคม พบว่าต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น 10-12% ซึ่งต่างจากที่สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ประเมินไว้ว่ามีต้นทุนเพิ่มขึ้นเพียง 5.5-6% โดยอุตสาหกรรมขนาดกลาง ที่มีการจ้างงาน 100-200 คน ได้รับผลกระทบมากที่สุดถึง 40-50%


สำหรับปัญหาเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นที่ระดับ 29.3-29.5 บาทต่อเหรียญสหรัฐนั้น ทำให้รายได้ของผู้ส่งออกหายไปแล้วประมาณ 2 บาทต่อเหรียญสหรัฐ และหากยังคงแข็งค่าขึ้นทุก 1 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ทำให้รายได้จากการส่งออกหายไปประมาณ 1-1.5 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ซึ่งภาคเอกชนกังวลว่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้นถึง 28 บาทต่อเหรียญสหรัฐหรือไม่ เนื่องจากขณะนี้ผู้ประกอบการได้รับผลกระทบจากทั้งปัจจัยตลาดคู่ค้าชะลอตัว และการแข่งขันที่รุนแรงจากการทุ่มตลาดของสินค้าบางประเภท รวมทั้งต้นทุนที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยสูงกว่า 10%  จากการปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวันทั่วประเทศ   อย่างไรก็ตาม เห็นว่า ธปท.ควรลดอัตราดอกเบี้ยลงเพื่อลดส่วนต่างระหว่างดอกเบี้ยของไทยกับต่างประเทศ และชะลอการไหลเข้าของเงินทุนต่างชาติ.
 

NEWS & TRENDS