จับตา “Double Disruption” ตัวปลุกเทรนด์ดิจิทัลปี ‘64 กับ 4 เรื่องที่ SME ต้องใช้!

เรื่อง กองบรรณาธิการ
 




     เราพูดกันเรื่องกระแสดิจิทัล ดิสรัปชันกันมาหลายปี เราเห็นการล่มสลายของธุรกิจที่ยังไม่ยอมปรับตัว แต่นั่นก็ยังไม่รวดเร็วเท่าการล้มเมื่อเจอสถานการณ์โควิด-19 ตั้งแต่ต้นปี 2563 ที่ผ่านมา ที่กลายมาเป็นตัวดิสรัปชันอีกต่อหนึ่ง เป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงดิจิทัลมหาศาล เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคม ไม่ว่าจะเป็นการ Work from home ที่ทำให้แม้แต่บางหน่วยงานที่ไม่เคยแตะดิจิทัลเลยกลับได้คุ้นเคยกับการทำ Video Conference การแชร์ไฟล์ร่วมกัน หรือใช้ Cloud ในการทำงาน
               

     ขณะเดียวกันเราได้เห็นพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงจากการออกไปไหนไม่ได้ในช่วงล็อกดาวน์ ทำให้ E-Commerce, Digital Service และ Food Delivery กลายมาเป็น new normal ของสังคมไทย แม้แต่การเสพสื่อบันเทิงก็เปลี่ยนไป หันมาบริโภค TV Streaming กันมากขึ้น
               

     รวมถึงอีกกระแสหนึ่งที่มาแรงมาก คือ Cashless Society จากการพยายามผลักดันสังคมไร้เงินสดกันมาหลายปี แต่โควิดเข้ามาดิสรัปต์ ทำให้คนหันมาใช้ mobile payment อย่างไม่ลังเล และทำให้เห็นชัดเจนว่าภาคธุรกิจได้เปลี่ยนแปลงไปมหาศาลจากเรื่องนี้ ประกอบกับภาครัฐออกนโยบายที่ต้องเข้าถึงด้วยเทคโนโลยี ทั้งการลงทะเบียนรับเงิน 5,000 บาท โครงการเราเที่ยวด้วยกัน โครงการคนละครึ่ง ทำให้จากที่คนที่ไม่เคยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล กลับคุ้นเคยกับมันเสียแล้วในตอนนี้


       นั่นหมายความว่าธุรกิจในตอนนี้กำลังเจอกับ Double Disruptions ซึ่งจะอยู่กับเราต่อไปอีกยาวแม้จะหมดจากโควิดไปแล้วก็ตาม ซึ่งภาพเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทย แต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในทั่วโลก


     รศ.ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์ ผู้อำนวยการ สถาบันไอเอ็มซี (IMC Institute) ได้มองว่าแนวโน้มดิจิทัลปี 2564  เกิดจากการมองสังคมโลกที่เปลี่ยนไปและการเกิดขึ้นของโควิด-19 ทั้งหมดมีผลทำให้คนทั่วโลกต้องเปลี่ยนวิถีการทำงาน การใช้ชีวิต การเว้นระยะห่าง และอีกหลายพฤติกรรม



 
 

9 เทรนด์เทคโนโลยีแห่งอนาคต
 
               
     ในทุกปีเราจะพูดถึงเทรนด์เทคโนโลยีที่จะเกิดขึ้นต่อไป หนึ่งในนั้นคือ Gartner Strategic Technology Trends ซึ่งที่ผ่านมา 10 เทรนด์ของ Gartner มักพูดถึงเทคโนโลยี เช่น AI, Blockchain, Cloud, Cybersecurity แต่ปี 2564 กลับแตกต่างออกไป เราจะได้เห็นเทคโนโลยีเดิมๆ เหลืออยู่ไม่กี่ตัว เช่น Cloud, Hyper Automation ซึ่งเป็นเทรนด์ต่อเนื่องมาจากปีที่แล้ว แต่สิ่งที่แปลกไปในปีนี้คือ Gartner ประกาศออกมา 9 เทรนด์ โดยแบ่งออกเป็น 3 ด้านที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค
 
 
      ด้านที่ 1 People Centricity


     ไม่ว่าจะมีเทคโนโลยีอะไรเกิดขึ้นก็ตาม แต่คนเป็นศูนย์กลางของธุรกิจที่จำเป็นจะต้องทำให้กระบวนการทำงานต่างๆ ถูกแปลงเข้าสู่ระบบดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ แบ่งเป็น 3 เทรนด์ คือ
               

     1. Internet of Behaviors ข้อมูลของผู้คนถูกเก็บผ่านอินเตอร์เน็ตและนำไปวิเคราะห์พฤติกรรม ธุรกิจต้องเข้าใจลูกค้า
     
      
     ที่เราเคยได้ยินว่าข้อมูลเป็นขุมทรัพย์ใหม่ แต่ตอนนี้มันไปไกลกว่าเรื่องข้อมูลแล้ว เรากำลังถูกเก็บข้อมูลพฤติกรรมไปมากมาย เก็บผ่านโซเชียลมีเดีย ผ่าน IoT (Internet of Things) ผ่านการซื้อขายสินค้า การเข้าเว็บไซต์บ้าง แล้วนำไปวิเคราะห์ทำให้ธุรกิจที่เก่งสามารถเข้าใจลูกค้าได้ดี เขาสามารถที่จะวิเคราะห์และรู้ว่าผู้บริการต้องการอะไร สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นแล้วกับธุรกิจไทยที่นำเทคโนโลยีเข้ามา ทั้งกลุ่มธนาคาร กลุ่มค้าปลีก กลุ่มฟู้ดดิลิเวอรี ทำให้เกิดเทรนด์ที่ 2 ตามมา
 

     2. Total Experience Strategy การรวบรวมประสบการณ์ที่หลากหลายจากลูกค้า (Customer experience) พนักงาน (employee experience) และผู้ใช้ (user experience) นำมาเพื่อเปลี่ยนแปลงการทำงานให้ได้ผลลัพธ์ทางธุรกิจที่ดีขึ้น
     

     ยกตัวอย่าง เราอาจจะต้องเข้าใจลูกค้า ลูกค้าอาจจะสั่งซื้อสินค้าออนไลน์เมื่อเขาเข้ามาติดต่อออฟไลน์ที่ออฟฟิศ พนักงานก็จะได้รับการแจ้งเตือนในระบบว่าลูกค้ากำลังเข้ามาถึงในบริเวณใกล้ๆ แล้ว ทำให้สามารถให้บริการได้ทันทีทันใด
 

     3. Privacy-enhancing computation หลังจากเก็บข้อมูลผู้บริโภคไป เรื่องหนึ่งที่กำลังพูดถึงกันมากคือการใช้เทคโนโลยีเพื่อนำข้อมูลส่วนบุคคลไปประมวลผลได้อย่างปลอดภัย ทั้งการวิเคราะห์ในองค์กรหรือข้ามองค์กรก็ตาม



 
 
ด้านที่ 2 Location Independence


     ความเสรีที่สถานที่ทุกแห่งสามารถให้บริการลูกค้า ทำงานหรือเรียนได้ สอดรับกับรูปแบบการทำงานที่ไม่เหมือนเดิม จะทำงานที่ไหนก็ได้ บริการลูกค้าที่ไหนก็ได้ ซึ่งแบ่งได้เป็น 3 เทรนด์ ดังนี้
 

     4. Distributed cloud ผู้ให้บริการ public cloud ต้องกระจายการติดตั้ง cloud ไว้ในหลายๆ แห่งใกล้องค์การ อาจจะต้องติดตั้งระบบคลาวด์ในประเทศ ติดตั้งไว้ใกล้องค์กร แต่สามารถใช้บริการของเขาเสมือนบริการใหญ่ๆ จากต่างประเทศได้ 


     5. Anywhere operations รูปแบบธุรกิจต้องให้บริการลูกค้าได้จากที่ใดก็ได้ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล จากเวลาใดก็ได้ ที่สำคัญต้องมีระบบเทคโนโลยีดิจิทัลที่ดี 


     6. Cybersecurity mesh ไม่เพียงแค่ต้องปลอดภัยแค่ระบบไซเบอร์ในองค์กร แต่ต้องขยายระบบควบคุมความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ครอบคลุมไปถึงลูกค้าและผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ ด้วยแต่ก่อนเวลามองเรื่อง cybersecurity องค์กรต่างๆ จะคุ้มครองข้อมูล คุ้มครองระบบภายในองค์กรเป็นหลัก แต่ตอนนี้เนื่องจากการทำงานเป็น Location Independent การให้บริการลูกค้าไม่ได้ขึ้นอยู่กับโลเคชันเดิมแล้ว ฉะนั้นระบบ cyber security จะต้องมีความปลอดภัยให้สามารถครอบคลุมได้ทุกที่ ยืดหยุ่นและขยายตัวได้ คือสามารถรองรับผู้ใช้งานจำนวนมากได้



 
 
ด้านที่ 3 Resilient Delivery


     ธุรกิจต้องปรับและคล่องตัว จะต้องเอาเทคโนโลยีมารองรับการเปลี่ยนแปลง
 

     7. Intelligent composable business ธุรกิจจำเป็นต้องมีสถาปัตยกรรมทางเทคโนโลยีที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ง่าย เข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้ดีขึ้น และมองเห็นในเชิงลึกได้
    

     ถ้าธุรกิจอยากจะเปลี่ยนแอปพลิเคชันทันทีทันใด อยากจะให้บริการใหม่ๆ ก็สามารถทำได้ทันที นั่นคือสิ่งที่ Gartner มองว่าเทคโนโลยียุคนี้ต้องเป็นอย่างนั้น


     8. AI Engineering ทุกวันนี้ธุรกิจต้องมี AI เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาสินค้าและบริการ เสริมไปกับเรื่องของ Data


​     9. Hyperautomation กระบวนการต่างๆ ทั้งด้านธุรกิจและไอทีต้องเป็นระบบอัตโนมัติให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ 



 
 
4 เรื่องที่ธุรกิจต้องปรับ! เพื่อไปต่อในยุคดิจิทัล
 
 
  1. ปรับกลยุทธ์ด้านการวางแผนและสถาปัตยกรรมไอที

  • ในอดีตที่ผ่านมาเรามองสถาปัตยกรรม IT เป็นแบบรวมศูนย์ แต่ปัจจุบันต้องเน้นแบบกระจาย
 
  • เน้นการใช้ public cloud มากขึ้น และมุ่งไปสู่ distributed cloud
 
  • การออกแบบเรื่อง Micro services และ DevSecOp
 
  • ระบบความปลอดภัยทางไอทีแบบกระจาย ให้อยู่ที่ไหนก็ได้
 



 
  1. ทำกลยุทธ์ด้าน Big Data


     ถ้าอยากเป็นธุรกิจที่ทรานส์ฟอร์มได้ เข้ากับกระแสดิจิทัลดิสรัปชันได้ ธุรกิจต้องมองเรื่องการเก็บข้อมูลลูกค้าให้ได้มากที่สุด และสอดคล้องกับเรื่องกับเรื่อง Privacy ที่ดีด้วย แล้วนำมารวบรวมวิเคราะห์เป็นพฤติกรรมลูกค้าว่ามาซื้อเพราะอะไร

 
  1. ทำกลยุทธ์ด้าน AI


     ต้องมีการฝังระบบ AI เข้าไปในสินค้าและบริการ จะต้องรู้ทันทีว่าลูกค้าต้องการอะไร ต้องการซื้ออะไรต่อ เอาสินค้าไปทำอะไร ใช้งานอย่างไร รวมถึง ในกระบวนการทำงานควรทำให้เป็น Automation ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

 
  1. ทำกลยุทธ์ด้านลูกค้าเป็นศูนย์กลาง


     นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาให้บริการลูกค้าและการทำงานของพนักงาน เพื่อให้เกิดกระบวนการที่สามารถทำงานและให้บริการได้ทุกที่ ทุกเวลา และทุกอุปกรณ์
 
 



 
www.smethailandclub.com   
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอ

RECCOMMEND: TECH

เจ๋งป่ะล่ะ! AI ผู้ช่วยเชฟคนใหม่ เก็บข้อมูลทำเมนูสุดโปรดเสิร์ฟลูกค้า ช่วยสแกนเศษอาหาร ลดต้นทุน ลดขยะ

ปัจจุบันโลกเรามีการนำ AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์ มาใช้พัฒนา ปรับปรุงสิ่งต่างๆ ขึ้นมากมาย ตั้งแต่เรื่องใหญ่ๆ ไปจนถึงเรื่องเล็กๆ ล่าสุดใครจะคิดว่า แม้แต่ถังขยะในครัวของโรงแรมและร้านอาหาร ก็มีการนำ AI เข้ามาใชั

Mewre น้ำดื่มเพื่อสุนัขและแมวเจ้าแรกของโลก จากไอเดียที่ไม่อยากให้น้องป่วย เมื่อผู้บริโภคไม่ได้มีแค่คนเท่านั้น

Mewre น้ำดื่มเพื่อสุนัขและแมวเจ้าแรกของโลก อีกหนึ่งสินค้านวัตกรรมที่ทำมาเพื่อตอบโจทย์ชาว Pet Parent หรือ การเลี้ยงสัตว์เหมือนลูก เป็นสมาชิกคนหนึ่งในครอบครัว

โกเล ไอเดียสแน็กเพื่อสุขภาพจากก้างปลา เปลี่ยน Waste ให้เป็นเงินล้าน ของทายาทโรงงานลูกชิ้นปลา

“โกเล” (Gole Crispy) ปลาทูแท่งอบกรอบแคลเซียมสูง นวัตกรรมจากก้างปลาทะเล เปลี่ยน Waste ให้เป็นเงินล้าน ของทายาทโรงงานลูกชิ้นปลา เพื่อช่วยวิกฤตธุรกิจครอบครัว