"คุณค่าชีวิต-วัฒนธรรม" หัวใจสำคัญทำการตลาดกับคนต่างจังหวัดให้อยู่หมัด โดย สมยศ ชัยรัตน์

     แล้วโลกก็เปลี่ยน ในแบบที่ทำให้คนทำธุรกิจแทบจะปรับตัวกันไม่ทัน เทคโนโลยีปัจจุบันทำให้ทุกอย่างในโลกการตลาดเปลี่ยนไป สินค้ามีให้เลือกมากขึ้น เข้าถึงและหาซื้อง่ายขึ้น คนซื้อก็มีทางเลือกมากขึ้น ที่สำคัญการสื่อสารมีการเปลี่ยนแปลงมหาศาล คนมีทางเลือกมากในการเสพสื่อ รายการต่างๆ มีช่องทางมากมาย โทรทัศน์ก็มากช่อง รายการก็มากขึ้น ช่องทางออนไลน์ก็มากขึ้น ทั้ง ยูทูป เฟสบุ๊ก ไลน์ ติ๊กต่อก อินสตาแกรม เป็นครั้งแรกที่คนสามารถเข้าถึงคอนเทนต์ที่ตัวเองชอบ ในภาษาตัวเอง โดยผ่านวัฒนธรรมของตัวเอง ความเชื่อของตัวเอง สิ่งต่างๆ เหล่านี้บอกเราได้ว่ากลุ่มเป้าหมายหรือผู้บริโภค มีมากกว่าที่เราเรียกว่า “คนไทยโดยรวม” เราคือแค่คนสัญชาติเดียวกันที่มีคุณค่าในการชีวิตแตกต่างกัน พูดกันคนละภาษา มีวัฒนธรรม จารีตประเพณีท้องถิ่น อาหาร ความชอบ การดำรงชีวิตที่แตกต่างกัน


 
 
       คุณค่าทางวัฒนธรรม ความเชื่อ เป็นสิ่งที่แบรนด์ต้องเข้าใจให้มาก เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างถูกวิธีในโลกปัจจุบัน เขตแดนทางภูมิศาสตร์คือสิ่งที่แบ่งประเทศ เส้นแบ่งเหล่านี้คือเส้นตาย แต่ “วัฒนธรรมไม่มีเขตแดน”  วัฒนธรรม คือสิ่งที่มีมาแต่เกิด คือสิ่งที่ส่งผ่านทางครอบครัวและสังคมรอบข้าง เป็นสิ่งที่คนติดตัวไปไม่ว่าจะไปที่ไหน คนไทยเกิดที่เมืองไทย ไม่ว่าจะไปไหน ก็ยังแบกความเป็นไทยไปด้วย คุณค่าทางวัฒนธรรมคือองค์ประกอบของคน ในกลุ่มคนตั้งแต่กลุ่มเล็กๆ ไปจนถึงกลุ่มที่ใหญ่ขึ้น กลุ่มเล็กคือครอบครัวและขยายต่อออกไป คุณค่าวัฒนธรรม ก็คือ อาหารการกิน ภาษา ศาสนา ลักษณะท่าทาง ดนตรี ศิลปะ ความเชื่อ เสื้อผ้า ทรงผม ทุกอย่างที่สามารถแบ่งแยกกลุ่มหนึ่ง ไปจากกลุ่มอื่นได้ สะท้อนเป็นนิสัยและการใช้ชีวิตประจำวัน สิ่งต่างๆ เหล่านี้ก็คือ สิ่งที่เจ้าของแบรนด์ นักการตลาด ต้องเข้าใจอย่างลึกซึ้ง
 
 
     สมัยก่อนทำการตลาดโดยรวม แต่เมื่อเทคโนโลยีทางอินเตอร์เน็ตเข้ามา ก็มีการส่งออกวัฒนธรรมจากสังคมต่างๆ มากขึ้น คนเริ่มเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน


       แล้วจะไปภูธร หรือต่างจังหวัดอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ?



 

     การเข้าถึงแบ่งเป็น 3 รูปแบบ คือ ออฟไลน์ ออนไลน์ และออนกราวด์ “ออฟไลน์” ก็คือท่ามาตรฐาน มีทีวี หนังสือพิมพ์  เป็นหลัก ให้เข้าถึงคนทั้งประเทศโดยรวมอย่ารวดเร็ว ง่ายๆ คือสร้างการรับรู้ในวงกว้างทั้งประเทศพร้อมกัน หลังจากนั้นก็เริ่มเจาะในแต่ละภาคด้วย “ออนไลน์” คอนเทนต์ ทั้ง วิดีโอ เพลงหรือเนื้อหาผ่านเซเลบของแต่ละท้องถิ่น หลังจากนั้นก็สามารถเข้าเจาะได้ลึกซึงขึ้นผ่านกิจกรรมออนกราวด์ เช่น แจกตัวอย่าง การละเล่นท้องถิ่น ส่วนเนื้อหาก็เลือกที่คนภูธรในแต่ละท้องถิ่นชอบ และติดตาม
 
 
     คนอิสานชอบรายการ ตลก สนุกสนาน ฟังเพลงก็หมอลำลูกทุ่ง รักเพื่อนฝูงชอบอยู่เป็นกลุ่ม คอนเทนต์ที่เข้าถึงเขาก็ผ่าน นักร้อง หมอลำ ด้วยเรื่องราวที่เห็นแล้วใกล้เคียงกับความชอบของเขา เมื่อสังคมสำคัญ ความโดดเด่นก็สำคัญ แต่จะมาให้ดูแล ทาโลชัน เซรัม ก็ยังไกลเกินไป สินค้าที่ดีคือสิ่งที่ทำให้เขาดูดีทันที คอสเมติก รองพื้น แต่งหน้าทาปากจึงสำคัญ เพราะได้ผลทันที
 
 
      ภาคกลางก็ลูกทุ่ง ลิเก ซึ่งถูกพัฒนาจนทันสมัยมากขึ้น มีแม่ยกคอยให้กำลังใจ ส่วนภาคใต้กลับเป็นหนังตะลุง ซึ่งล้อการเมืองแบบฉบับคนใต้ กลับเป็นเรื่องที่ทำให้คนใต้หัวเราะ ในขณะที่ภาคอื่นมองเป็นเรื่องซีเรียส น่าเบื่อ
 
 
     ทางเหนือ มองผ่านได้จากสะล้อซอซึง ซึ่งมีวิถีชีวิตที่เรียบง่ายไม่เร่งรีบเหมือนภาคอื่น ต๊ะต่อนยอน สบายๆ



 
 
     นอกจากเรื่องมโหรสพ อาหาร และส่วนผสมของรสชาติก็มีความแตกต่าง รวมถึงความเชื่อเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แต่ละแห่งก็ไม่เหมือนกัน ตั้งแต่ ไอ้ไข่ วัดเจดีย์ หลวงพ่อรวย วัดตะโก
 
 
     สิ่งต่างๆ เหล่านี้ มาผสมผสานกันเพื่อวางแผนแนวทางการเข้าถึงคนภูธรหรือคนต่างจังหวัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยภาพรวมการเข้าถึงตลาดภูธร ต้องเข้าใจโครงสร้างทางวัฒนธรรม ประเพณี สิ่งที่ปฏิบัติกันมาจนกลายเป็นความเชื่อ พิธีกรรม หรือสิ่งที่ทำเป็นอุปนิสัย สัญลักษณ์ต่างๆ ไปจนสุดท้ายคือบุคคลที่มีอิทธิพลต่อความคิดความเชื่อ เมื่อมาผสมผสาน ก็สามารถดูได้ว่าจะเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคต่างจังหวัดหรือภูธรได้อย่างไร ที่ “แจ่มจรัส” เราเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการวางกลยุทธ์การตลาดภูธรในทุกระบบ ตั้งแต่ ออฟไลน์ ออนไลน์ และออนกราวด์

   
     หากอยากวางกลยุทธ์การตลาดภูธร คลิก แจ่มจรัส
 

 

บทความสมาชิก

4 ความท้าทาย ของธุรกิจโรงแรมรักษ์โลก เมื่อผู้บริโภคยังยึดติดกับความสบาย

เมื่อเทรนด์รักษ์โลกยังคงได้รับความนิยมและเกิดการตื่นตัวในทุกมุมโลก แต่ไม่ใช่ทุกอย่างจะเอื้อให้ธุรกิจก้าวสู่ถนนสีเขียว นี่คือความท้าทายในการปรับตัวรับเทรนด์รักษ์โลกของธุรกิจโรงแรม

ทำไมธุรกิจ Online Travel Agency ในไทย ถึงไม่ประสบความสำเร็จ?

เคยสงสัยกันไหม? ว่าประเทศไทยมีสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามมากมาย มีโรงแรมทั้ง International Hotel Chain และแม้แต่ Local Chain ที่เติบโตไปในระดับโลก แต่กลับไม่ประสบความสำเร็จในการสร้าง Platform รับจองห้องพักในรูปแบบ OTA (Online Travel Agency) ของตนเอง

ลูกค้าขอสถานะ Confidential Guest ธุรกิจโรงแรมทำอย่างไร? ปกป้องความลับแขกได้ ไม่ละเมิดความเป็นส่วนตัว

โดยปกติแล้วโรงแรมเราจะมีแขกประเภทหนึ่งที่ขอสถานะ Confidential Guest (CFG) ต้องการปกปิดการเข้าพักเป็นความลับทั้งเรื่องห้องพัก กิจกรรมต่างๆ ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัยและ Privacy ซึ่งหลักๆ เลยก็จะเป็นแขกระดับ VIP หรือ VVIP ในความเป็น CFG ก็มีข้อยกเว้นเหมือนกัน เช่น หมายจับ หมายศาล อันนี้โรงแรมก็ไม่สามารถฝ่าฝืนได้ แต่ก็ต้องตรวจสอบให้ดี