เปิด ​10 หลักสูตรติวเข้มผู้ประกอบการอาหาร ยกระดับสู่ Global SME





 
     ปัจจุบันอุตสาหกรรมอาหารของไทยมีแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงมาก จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการ SME ต้องมีการพัฒนาศักยภาพเพื่อยกระดับไปสู่การแข่งขันในตลาดโลก ด้วยเหตุนี้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) จึงได้จับมือ สถาบันอาหาร เปิดตัวกิจกรรมพัฒนาผู้ประกอบการด้วยเครื่องมือการบริหารจัดการสมัยใหม่ (Advance SME Programme) ประจำปี 2561 โดยเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารเป็นโครงการนำร่อง


     ในเรื่องนี้ กอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ปีนี้ถือเป็นปีแรกในการจัดโครงการพัฒนาผู้ประกอบการ SME ให้ก้าวสู่การเป็น Smart SME และ Global SME โดยมุ่งเน้นที่อุตสาหกรรมอาหารและอุตสาหกรรมอื่นๆจำนวน 60  คน โดยการเข้าร่วมโครงการนี้จะทำให้ผู้ประกอบการสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการวางแผนธุรกิจ การบริหารจัดการด้านต่างๆ รวมทั้งเป็นการจุดประกายแนวคิดในการทำธุรกิจอย่างสร้างสรรค์ด้วยเทคโนโลยี ระบบดิจิตอลและนวัตกรรม เพื่อยกระดับการผลิต การสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง และการผลิตรูปแบบใหม่ที่สร้างมูลค่าเชิงพาณิชย์ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจให้กับประเทศอย่างยั่งยืน เกิดเครือข่ายและเกิดการเชื่อมโยงธุรกิจ มีการขยายตลาดการค้าหรือการลงทุนในระดับสากล





     โดยตั้งเป้าว่าเมื่อเสร็จสิ้นการอบรมจะเกิดนวัตกรรมใหม่ไม่น้อยกว่า 1 เรื่อง ผู้ประกอบการมีมูลค่ายอดขายเพิ่มขึ้น หรือลดต้นทุนได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 - 5 เปอร์เซ็นต์ โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย DIP Transform for SME 4.0 เพื่อไปสู่วิสัยทัศน์ สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศให้เพิ่มขึ้น 10,000 ล้านบาทภายในปี 2564


     ในด้าน ยงวุฒิ เสาวพฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า สถาบันอาหารได้รับมอบหมายจากกรมส่งเสริมอุคสาหกรรมให้เป็นหน่วยงานดำเนินการออกแบบและจัดกิจกรรมฝึกอบรมที่เหมาะสมสำหรับผู้ประกอบการ SME ในกลุ่มอาหารแห่งอนาคตด้วยหลักสูตรการพัฒนาผู้ประกอบการด้วยเครื่องมือการบริหารจัดการสมัยใหม่ (Advance SME Programme) ที่จะจัดอบรมตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ถึงพฤษภาคมปีนี้ ขณะนี้อยู่ระหว่างการเปิดรับสมัครและคัดเลือกผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการ





     “โดยแนวคิด วิธีการ การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ SME  ในครั้งนี้ใช้แนวทางที่เป็นแบบ Construction Learning ซึ่งได้รับการยอมรับว่ามีประสิทธิภาพในการดำเนินการจัดหลักสูตร ได้แก่ การบรรยาย การถ่ายทอดประสบการณ์ตรงจากผู้บริหารระดับสูง การจัดกรณีศึกษา การจักฝึกอบรมภาคทฤษฎี (Workshop)และภาคปฏิบัติ และการแบ่งกลุ่มเพื่อระดมความคิด (Focus Group) ตลอดจนมีการให้คำปรึกษาและแนะนำอย่างใกล้ชิดจากวิทยากรและทีม Facilitators (Coaching) ของโครงการ รวมถึงการจัดกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทักษะประสบการณ์ ซึ่งการอบรมดังกล่าวได้รับเกียรติจากวิทยากรชั้นนำของประเทศ ทั้งจากภาครัฐ เอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาเป็นผู้บรรยาย”





โดยโครงสร้างหลักสูตร มีดังนี้
 
หมวดที่ 1: Advance – Assessment & Coaching
การตรวจประเมินปัญหา วินิจฉัย ประเมินศักยภาพและให้คำปรึกษาแนะนำ (Coaching) ที่สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาธุรกิจของผู้ประกอบการที่เข้ารับการฝึกอบรม พร้อมการ Coaching ผ่านกระบวนการ Soft Skill
 
หมวดที่ 2: Advance - Trends
การมองเทรนด์แห่งอนาคต (Future Trend) แนวโน้มและการเปลี่ยนแปลงที่ต้องจับตาในอนาคตซึ่งมีความสำคัญและจำเป็นอยางยิ่งที่ภาคอุตสาหกรรมอาหารของไทยต้องตระหนักและตื่นตัว ตลอดจนเตรียมพร้อมรับมือกับโอกาสและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
 
หมวดที่ 3: Advance – Inspiration
การพัฒนากระบวนการคิดเพื่อสร้างไอเดียต่อยอดธุรกิจผ่านการกระตุ้นความคิดและสร้างแรงบันดาลใจด้วยกรณีศึกษาต่างๆและ/หรือการถายทอดประสบการณ์ตรงจากวิทยากร
 
หมวดที่ 4: Advance – Digital
การใช้ศักยภาพทางดิจิตอล (Digitalisation) ขับเคลื่อนธุรกิจสู่การเป็น Smart SMEs เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขัน
 
หมวดที่ 5: Advance – Productivity
การเพิ่มผลิตภาพในการผลิตให้อุตสาหกรรมมีผลิตภาพการผลิตรวมเพิ่มขึ้นเพื่อนำไปสู่อุตสาหกรรม 4.0
 
หมวดที่ 6: Advance – Standard
การยกระดับองค์ความรู้ด้านมาตรฐานการผลิตระดับสากล เพื่อเพิ่มศักยภาพสู่การเป็น Global SMEs
 
หมวดที่ 7: Advance – Technology & Innovation
การนำเสนอความคิดสร้างสรรค์ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการเพิ่มมูลค่าธุรกิจ ทั้งในด้านกระบวนการผลิต การพัฒนาผลิตภัณฑ์และการบริการ
 
หมวดที่ 8: Advance – Market
การนำเสนอเครื่องมือใหม่ๆเพื่อสร้างนวัตกรรมทางการตลาดที่โดนใจลูกค้าและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน อาทิ ตลาดยุคใหม่ การสร้างแบรนด์ และ/หรือการถ่ายทอดประสบการณ์การบุกตลาดโลกอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ เป็นต้น
 
หมวดที่ 9: Advance : Pitching your business idea
การทดลองนำไอเดียมาจัดทำเป็นโครงการหรือแผนธุรกิจเพื่อสร้างโอกาสธุรกิจ พร้อมประลองนำเสนอผลงานเพื่อซักซ้อมเตรียมความพร้อมขอรับทุนจากแหล่งต่างๆ
 
หมวดที่ 10: Advance – Networking
การสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทักษะประสบการณ์ระหว่างผู้ประกอบการที่เข้าร่วมฝึกอบรมและผู้ประกอบการอื่นๆ รวมถึงบุคลากรจากหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาธุรกิจของผู้เข้ารับการฝึกอบรม หรือ การศึกษาดูงาน หรือ ทดสอบตลาด เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมฝึกอบรมได้เพิ่มพูนความรู้ ประสบการณ์และมุมมองธุรกิจ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ จากประสบการณ์จริงซึ่งเป็นประโยชน์ในการประยุกต์ใช้ในการพัฒนาธุรกิจต่อไป
 

     สำหรับเกณฑ์การฝึกอบรมนั้น ผู้เข้าสัมมนาจะได้รับวุฒิบัตรการฝึกอบรมสัมมนาโดยการรับรองของสถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม เมื่อเข้าร่วมอบรมและกิจกรรมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของโปรแกรมอบรมทั้งหมด    


www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

Nyana Nyana Eco Fashion อดีตสถาปนิกนักสู้มะเร็ง สู่เจ้าของแบรนด์แฟชั่นออร์แกนิก เป็นมิตรต่อผู้สวมใส่ และสิ่งแวดล้อม

Nyana Nyana Eco Fashion แบรนด์แฟชั่นของอดีตสถาปนิกหญิงสิงคโปร์ที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา แม้พบว่าป่วยเป็นมะเร็ง แต่ “Clara Simanjuntak” กลับใช้เป็นแรงบันดาลใจ เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิต ทำสิ่งดีๆ รวมถึงการสร้างแบรนด์เสื้อผ้าจากผ้าออร์แกนิก

บ้านโอบอุ่น ธุรกิจเล็กๆ ของนักศึกษาพยาบาล ที่ทำให้คนแปลกหน้ากลายเป็นเพื่อนกัน

พาไปรู้จักบ้านโอบอุ่น ธุรกิจโฮมสเตย์เล็กๆ ที่ปลูกขึ้นกลางทุ่ง ของ อั้ม-พัชราภา อ่ำปั้นนักศึกษาพยาบาล ที่นั่งรถไฟจากพิษณุโลกไปเชียงดาวทุกสัปดาห์เพื่อมาทำโฮมสเตย์เล็กๆ ที่เปลี่ยนคนแปลกหน้าให้กลายเป็นเพื่อนกัน