Passion + Creative + Business ส่วนผสมแห่งความสำเร็จของธุรกิจสร้างสรรค์




Main Idea
 
  • การมีแพสชั่น (Passion) เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เราดำเนินชีวิตได้อย่างมีเป้าหมาย ทั้งยังช่วยให้เรามีพลังขับเคลื่อนและรังสรรค์สิ่งต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แตกต่าง และแปลกใหม่
 
  • นักสร้างสรรค์บางคนทุ่มเทเวลาเกือบทั้งชีวิตไปกับการต่อยอดแพสชั่นร่วมกับพลังสร้างสรรค์ และการออกแบบ ก่อเกิดเป็นธุรกิจที่ทำแล้วมีความสุข ทั้งยังสร้างอาชีพและรายได้ ควบคู่ไปกับการเอื้อประโยชน์ต่อสังคมด้วย




     แพสชั่น (Passion) เป็นองค์ประกอบสำคัญในชีวิต ที่ทำให้คนเรามีเป้าหมาย ทั้งยังเป็นพลังขับเคลื่อนและรังสรรค์สิ่งต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แตกต่าง และแปลกใหม่ ตลอดจนก่อให้เกิดอาชีพและรายได้ในอนาคตอีกด้วย ผู้ประกอบการบางคนคือ “นักสร้างสรรค์” ที่ทุ่มเทเวลาเกือบทั้งชีวิตไปกับการต่อยอดแพสชั่นร่วมกับพลังคิดสร้างสรรค์ และการออกแบบ ก่อให้เกิดเป็นธุรกิจที่ทำแล้วมีความสุข มีรายได้ที่มั่นคง ควบคู่ไปกับการสร้างประโยชน์ให้สังคม และสร้างรายได้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศได้อย่างชาญฉลาด


     นี่คือตัวอย่างของนักออกแบบที่โลดแล่นในแวดวงอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ โดยใช้การออกแบบมาสร้างมูลค่าเชิงพาณิชย์ให้กับสินค้าและบริการได้อย่างน่าสนใจ





     บวกศิลปะเข้ากับความต้องการของผู้บริโภค



     ประภากาศ อังศุสิงห์ ดีไซเนอร์เจ้าของแบรนด์ HOOK’S เริ่มต้นชีวิตในวงการดีไซเนอร์จากแพสชั่นว่าอยากมีรายได้ ประกอบเข้ากับพื้นฐานความชอบด้านงานศิลปะที่ครอบครัวได้ปลูกฝังไว้ และมีโอกาสได้ทำงานในห้องเสื้อพิจิตรา ไอคอนด้านแฟชั่นชั้นนำของเมืองไทย จึงได้เรียนรู้เทคนิคการออกแบบเสื้อผ้าแนวต่างๆ ในหลากหลายรูปแบบ ซึ่งทำให้เข้าใจได้ว่า ศิลปะเป็นพื้นฐานของทุกอย่าง และเริ่มได้สร้างแบรนด์ HOOK’S ขึ้นมา และใส่ความชอบของตัวเองลงไปด้วย หากใครสังเกตจะเห็นได้ว่า ทุกคอลเล็กชันจะสอดแทรกสี การแบ่งธีม การแต่งหน้า ที่สามารถสะท้อนถึงเส้นทางธรรมะ หรือแม้แต่แนวคิดการตัดสินคนจากภายนอก ที่ต้องการสื่อสารกับคนดูได้อย่างชัดเจน






     “การที่ทำอะไรที่เข้าถึงคน สามารถบวกศิลปะเข้ากับความต้องการของคนได้จริงๆ จะช่วยส่งเสริมให้อาชีพเดินต่อไปได้ และแนวคิดที่นำมาปรับใช้ในการทำโชว์มาโดยตลอดว่าคือ ไม่ว่าจะทำอะไร จะต้องสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ชมด้วย”



 





     ดีไซน์ที่อยู่ตรงกลางระหว่างลูกค้าและนักออกแบบ



     ศุภรัตน์ ชินะถาวร ผู้อำนวยการของ party/space/design สตูดิโอออกแบบที่ขับเคลื่อนวงการออกแบบไทยอย่างน่าจับตามอง ผู้คว้ารางวัลออสการ์ของการออกแบบร้านอาหารบนเวทีโลก เขามีโจทย์ในชีวิตอยู่ 2 ประการ คือ เงินและเวลา จึงเริ่มมองหาอาชีพที่สามารถขับเคลื่อนทั้งสองสิ่งไปพร้อมกัน ขณะเดียวกันก็สำรวจความถนัดที่ตัวเองมี ทั้งด้านกราฟิกดีไซน์ การตกแต่งภายใน การทำโฆษณา ประกอบกับครอบครัวมีธุรกิจร้านอาหารทะเล จึงเกิดเป็นแนวคิดในการผสานการออกแบบร่วมกับอาหาร ด้วยการเปิดบริษัทเกี่ยวกับการออกแบบและสร้างแบรนด์ ซึ่งเป็นธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยคนเป็นหลัก ดังนั้น จึงลงทุนไปกับออกแบบบริษัทให้เป็นทั้งคาเฟ่ บาร์ลับ ห้องอาหารสไตล์ฝรั่ง ซึ่งใช้เวลาและการตกแต่งไปเรื่อยๆ จนได้รูปแบบที่ต้องการ และผลลัพธ์ที่ได้คือ พนักงานรู้สึกว่าต่อไปนี้ไม่ต้องหนีไปทำงานที่คาเฟ่ก็ได้




      ที่ผ่านมา party/space/design มีลูกค้าในหลากหลายอุตสาหกรรม ทั้งร้านอาหาร ร้านกาแฟ ซุปเปอร์มาร์เก็ต มากกว่า 30 แบรนด์ ซึ่งทำให้เขามีประสบการณ์และได้แนวคิดที่ทำให้ธุรกิจอยู่รอดในอุตสาหกรรมนี้อย่างยั่งยืน อาทิ การเลือกใช้วัสดุใหม่ๆ สร้างประสบการณ์ที่ดีเสมอ เพราะลูกค้ามักไม่มีความรู้เรื่องงานดีไซน์ ฉะนั้น นักออกแบบจะต้องศึกษา สำรวจความชื่นชอบของลูกค้า พร้อมถ่ายทอดเป็นวัสดุใหม่ๆ ที่มีเสน่ห์และอยู่ตรงกลางระหว่างความชอบของลูกค้า-นักออกแบบได้ อย่างร้าน NANA Coffee Roasters ที่หลงใหลถุงกาแฟเป็นอย่างมาก จึงเป็นไอเดียออกแบบหน้าร้านเป็นรูปถุงกาแฟ ที่กำลังเทเมล็ดกาแฟในรูปแบบของก้อนอิฐลงมา


     การประเมินราคาก่อนเริ่มงาน ถือเป็นสิ่งที่นักออกแบบพึงมี เพราะการทำข้อตกลงเรื่องงบประมาณก่อนการออกแบบจริง จะช่วยให้นักออกแบบสามารถประเมินงานดีไซน์ได้ อีกทั้งช่วยให้ลูกค้าประเมินได้ว่า การออกแบบร้านกาแฟต้องใช้งบฯ เท่าไหร่ ต้องตั้งราคาเครื่องดื่มกี่บาทต่อแก้ว “สร้างแบรนด์จากสิ่งที่เป็นตัวเรา และคู่แข่งไม่มีวันเป็นได้” อย่างร้าน Too Fast Too Sleep ร้านกาแฟที่เปิด 24 ชั่วโมงและที่มีทำเลใกล้สถาบันศึกษา จึงเกิดเป็นไอเดียในการตกแต่งบรรยากาศร้าน ด้วยการโชว์สันหนังสืออ่าน และหนังศิลปะ/การออกแบบมาเป็นพร๊อพ (Prop) ซึ่งเกิดเป็นภาพจำให้ลูกค้าที่ไปใช้บริการรู้สึกเหมือนนอนท่ามกลางหนังสือ และนั่งทำงานจนถึงเช้าได้
“ผมเชื่อว่าในประเทศไทย สามารถขับเคลื่อนด้วยการออกแบบได้ และสามารถหากินกับอาชีพนี้ได้ เพราะงานออกแบบที่ดี ที่มีดีเทล มักมีราคาแพง”
 



     ต่อยอดแพสชั่นให้เป็นธุรกิจ



     อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หรือ CEA ที่มีพันธกิจหลักในการส่งเสริมให้คนไทยเปี่ยมด้วยความรู้ด้านความคิดสร้างสรรค์ มองว่าทุกสิ่งรอบตัวสามารถต่อยอดได้ทั้งสิ้น เพียงอย่ายึดติดอยู่ในกรอบของความเคยชิน ขณะเดียวกัน ต้องการเปิดมุมมองด้านการประกอบอาชีพ และเริ่มต้นธุรกิจให้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่า ยังมีอีกหลากหลายอาชีพที่สามารถทำสร้างรายได้ได้ในอนาคต เพียงขมวดรวมกับความคิดสร้างสรรค์ และการลงมือทำ แต่หากไม่ทราบว่าจะเริ่มต้นอย่างไร ก็สามารถทำได้ง่ายๆ เพียงสำรวจแพสชั่นของตนเอง เพราะแพสชั่นถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ และเมื่อได้ทำในสิ่งที่รัก เกิดเป็นความสร้างสรรค์ เกิดเป็นผลงานที่สร้างมูลค่ามากมาย ซึ่งไม่เพียงแต่จะเกิดประโยชน์กับตนเองเท่านั้น หากแต่ประเทศก็ได้ประโยชน์ร่วมด้วยจากการหมุนเวียนของเม็ดเงินการลงทุน
 

     ที่มา : CEA Forum 2019
 





www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี
 

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

Nyana Nyana Eco Fashion อดีตสถาปนิกนักสู้มะเร็ง สู่เจ้าของแบรนด์แฟชั่นออร์แกนิก เป็นมิตรต่อผู้สวมใส่ และสิ่งแวดล้อม

Nyana Nyana Eco Fashion แบรนด์แฟชั่นของอดีตสถาปนิกหญิงสิงคโปร์ที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา แม้พบว่าป่วยเป็นมะเร็ง แต่ “Clara Simanjuntak” กลับใช้เป็นแรงบันดาลใจ เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิต ทำสิ่งดีๆ รวมถึงการสร้างแบรนด์เสื้อผ้าจากผ้าออร์แกนิก

บ้านโอบอุ่น ธุรกิจเล็กๆ ของนักศึกษาพยาบาล ที่ทำให้คนแปลกหน้ากลายเป็นเพื่อนกัน

พาไปรู้จักบ้านโอบอุ่น ธุรกิจโฮมสเตย์เล็กๆ ที่ปลูกขึ้นกลางทุ่ง ของ อั้ม-พัชราภา อ่ำปั้นนักศึกษาพยาบาล ที่นั่งรถไฟจากพิษณุโลกไปเชียงดาวทุกสัปดาห์เพื่อมาทำโฮมสเตย์เล็กๆ ที่เปลี่ยนคนแปลกหน้าให้กลายเป็นเพื่อนกัน