รู้ให้ทัน 8 ปัญหาธุรกิจยอดฮิต ในวิกฤต Covid -19

TEXT : กองบรรณาธิการ


 
         วิกฤตไวรัสโควิด-19 ได้เข้ามาสร้างปัญหามากมายให้กับธุรกิจ จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่าง 1,574 สถานประกอบการ โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIProm) พบว่าปัญหาหลักที่ผู้ประกอบการ SME ต้องเจอนั้นมีอยู่ 8  ข้อด้วยกัน


        โดยครองแชมป์มากสุด คือ การขาดความเข้าใจกลยุทธ์การตลาด 66.82 เปอร์เซ็นต์ รองลงมา คือ ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ 21.92 เปอร์เซ็นต์ และขาดการพัฒนานวัตกรรมใหม่ 13.74 เปอร์เซ็นต์ เป็น 3 ปัญหาอันดับแรกที่ SME ควรเตรียมตัวตั้งรับเอาไว้ ส่วน 8 ข้อที่ว่ามีอะไรบ้างนั้น และควรแก้ไขอย่างไร ลองไปดูกัน



 

ขาดความเข้าใจกลยุทธ์การตลาด
               

         นับเป็นปัญหาที่พบมากที่สุดของผู้ประกอบการในช่วงเวลานี้จากการทำผลสำรวจออกมา ซึ่งพบว่าการที่ SME ขาดความเข้าใจกลยุทธ์การตลาดนั้นมาจากปัจจัยหลายข้อด้วยกัน ตั้งแต่การทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริงของแบรนด์ เพื่อตอบสนองความต้องการแก่ผู้บริโภค, การทำความเข้าใจในจุดเด่น-จุดด้อยของสินค้า, การประเมินศักยภาพตนเองและงบประมาณที่มีอยู่, การวางแผนการดำเนินงานที่รอบคอบตรวจสอบได้ ไปจนถึงการวัดผลให้เป็น ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องคำนึงถึงและทำความเข้าใจก่อนที่จะตัดสินใจทำกลยุทธ์ใดๆ ออกมาก็ตาม
 
 
ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน

               

       มีสถิติกล่าวเอาไว้ว่าในจำนวนผู้ประกอบการ SME ไทยราว 3.2 ล้านราย แต่มีเพียงราว 1.29 ล้านรายที่สามารถเข้าถึงสินเชื่อจากสถาบันการเงินได้ ซึ่งเหตุผลส่วนใหญ่ที่สถาบันการเงินได้ลองสรุปออกมาว่าไม่สามารถปล่อยกู้ได้นั้น ส่วนใหญ่ล้วนเป็นเพราะการขาดข้อมูลทางการเงินที่น่าเชื่อถือ เพื่อนำมาวัดผลหรือประเมินศักยภาพในการดำเนินการของธุรกิจได้ โดยเริ่มมาตั้งแต่ระบบบัญชีไม่ดี, ไม่มีแผนธุรกิจที่ชัดเจน, การจัดการทางการเงินระหว่างเงินส่วนตัวและธุรกิจปนกันไปหมด สิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้ SME ขาดหลักฐานทางการเงินเพื่อทำให้ผู้กู้เกิดความมั่นใจได้ว่าจะสามารถจ่ายชำระหนี้คืนได้ จึงเป็นที่มาของการได้รับอนุมัติยากนั่นเอง



 

ขาดการพัฒนานวัตกรรมใหม่


         จากข้อมูลของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พบว่าจำนวน SME ในประเทศไทยกว่า 3 ล้านรายนั้น มีเพียงไม่ถึงร้อยละ 1 หรือไม่ถึง 30,000 รายด้วยซ้ำที่มีการใช้งานวิจัยและนวัตกรรมเข้ามาพัฒนาปรับปรุงธุรกิจ ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักมาจากหลายส่วนด้วยกัน ได้แก่ ขาดองค์ความรู้, ขาดเงินทุน, ขาดกำลังคน, ขาดการเชื่อมโยงระหว่างเครือข่าย เช่น สถาบันการเงิน องค์กรแหล่งความรู้


         และข้อสุดท้ายที่ถือว่ามีความสำคัญค่อนข้างมาก คือ Mindset หรือความเข้าใจของตัวผู้ประกอบการเองที่มักมองว่า นวัตกรรมเป็นเรื่องยาก ต้องเป็นสิ่งแปลกใหม่ สร้างความฮือฮาได้เท่านั้น ทั้งที่ความจริงแล้วแค่การที่เราสามารถใช้ความคิดสร้างสรรค์หรือพัฒนาปรับปรุงบางอย่างขึ้นมาได้ เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ แม้เป็นเพียงเรื่องเล็กน้อยแค่นั้นก็เรียกว่า นวัตกรรมแล้ว ดังนั้นสิ่งสำคัญของการทำนวัตกรรม จึงควรเริ่มทำได้ทันทีแบบค่อยเป็นค่อยไป เริ่มจากจุดเล็กๆ ก่อนก็ได้ แต่เมื่อทำอย่างสม่ำเสมอแล้ว ก็จะช่วยให้เกิดความยั่งยืนในธุรกิจต่อไปได้นั่นเอง
 

ปัญหาด้านวัตถุดิบ และสายการผลิต 


         การมาของไวรัสโควิด-19 ได้เข้ามาส่งผลต่อรูปแบบการดำเนินชีวิต กิจกรรมทางสังคม และการทำธุรกิจมากมาย ซึ่งส่งผลกระทบไปในทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ว่าภาครัฐหรือเอกชนเอง ตั้งแต่วัตถุดิบที่ไม่สามารถผลิตได้ในปริมาณมากเท่าเดิม, การขาดแรงงานในการผลิต, ความล่าช้าจากการขนส่งที่ต้องปฏิบัติตามระเบียบจากภาครัฐที่กำหนดช่วงเวลาการล็อกดาวน์เป็นต้น ดังนั้นสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องทำ คือ วางแผนเผื่อเวลาเอาไว้ล่วงหน้า ตั้งแต่การผลิต การขนส่ง ไปจนถึงการสื่อสารออกไปยังผู้บริโภค เพื่อทำความเข้าใจในความจำเป็นต่างๆ ที่เกิดขึ้น



 

ไม่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้
               

         สืบเนื่องมาจากปัญหาข้อที่แล้ว จึงส่งผลให้ SME ไม่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นผู้ประกอบการ SME จึงควรวางแผนหรือตั้งปฏิธานในการทำงานใหม่ดังนี้ 1. พัฒนาระบบการผลิตด้วยการหาวิธีที่ดีที่สุด 2. คัดเลือกบุคคลให้เหมาะสมกับงาน 3. สร้างแรงจูงใจในการทำงาน และ 4. แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบตามความชำนาญและความถนัดของแต่ละบุคคล ทั้งนี้ควรกำหนดปริมาณงานให้เหมาะสมกับระยะเวลาที่มอบอหมายไว้ด้วย ซึ่งเมื่อธุริจสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้ก็จะส่งผลต่อการช่วยประหยัดต้นทุน การมีกำไรที่เหมาะสม ความสุขในการทำงานของพนักงาน ไปจนถึงสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าจากการใช้สินค้าที่ดีได้
 

ปัญหาด้านการจัดการ เช่น การขนส่ง บุคลากร 


        จากสถานการณ์ที่ไม่ปกติ ทำให้กระทบต่อการบริหารจัดการงานในหลายภาคส่วน ตั้งแต่ภาคการผลิตที่ไม่สามารถผลิตได้เท่าเดิม, การขนส่งที่ต้องเปลี่ยนแผนกันแบบใกล้ชิด เนื่องจากบริษัทขนส่งบางแห่งอาจติดปัญหาเรื่องขาดบุคลากรที่ต้องเจ็บป่วย การอยู่ในเขตพื้นที่สีแดงมีคนติดโรคระบาดเยอะ ดังนั้นจึงต้องมีการตรวจเช็คข้อมูลและวางแผนการขนส่งให้ดีๆ รวมไปถึงการทำความเข้าใจเหตุผลการล่าช้ากับลูกค้าด้วย หรือแม้แต่การดูแลพนักงานภายในองค์กรเองให้ปลอดภัย มีสวัสดิภาพที่ดี สามารถประคองตัวอยู่ไปด้วยกันได้ การบริหารจัดการจึงนับเป็นอีกปัญหาที่ผู้ประกอบการต้องเจอและรับศึกหนักในช่วงนี้



 

บริหารจัดการต้นทุนไม่ได้ 
               

          ไวรัสโควิด-19 ได้เข้ามาสร้างความปั่นป่วน และปัญหาจากหลายทางให้กับผู้ประกอบการ SME ที่ต้องรับศึกหนักจากหลาย หนึ่งในทางช่วยให้ธุรกิจสามารถอยู่รอด ไปต่อได้ ก็คือ การบริหารจัดการต้นทุนให้ดี ซึ่งสามารถแจกแจงออกมาได้เป็นหลายส่วน สิ่งแรกที่ผู้ประกอบการต้องทำความเข้าใจ คือ วงจรต้นทุน ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนเริ่มการผลิต ระหว่างการผลิต ไปจนถึงการผลิตสินค้าออกมาเรียบร้อยแล้ว ลองดูว่าเราสามารถเข้าไปลดต้นทุนหรือทำการลีนให้เกิดการประหยัดจากช่องทางใดได้บ้าง เพื่อสร้างความยั่งยืนให้ธุรกิจต่อไปนั่นเอง
 

ขาดอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์
               

        แม้จะเป็นข้อที่มีเปอร์เซ็นต์น้อยที่สุด แต่ก็นับว่าเป็นปัญหาของหลายธุรกิจมาโดยตลอด เนื่องจากการมีอัตลักษณ์ของสินค้าและบรรจุภัณฑ์ที่ดีสามารถช่วยให้เกิดการแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งการที่จะทำให้ SME สามารถหาอัตลักษณ์ของสินค้าได้นั้น อาจต้องเริ่มจากการทำความเข้าใจถึงจุดแข็ง-จุดอ่อนของผลิตภัณฑ์อย่างละเอียด, การกำหนดตำแหน่งของแบรนด์, การสื่อสารออกไปยังผู้บริโภคได้ถูกกลุ่มเป้าหมายและช่องทาง ซึ่งหากสามารถทำได้สำเร็จ ไม่ว่าจะต้องแข่งขันอยู่ในสภาวะใด ก็จะช่วยให้แบรนด์ของคุณโดดเด่นเหนือคู่แข่ง และเป็นที่จดจำแก่ลูกค้าได้นั่นเอง



 

        ที่มา : DIProm
 



www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

Nyana Nyana Eco Fashion อดีตสถาปนิกนักสู้มะเร็ง สู่เจ้าของแบรนด์แฟชั่นออร์แกนิก เป็นมิตรต่อผู้สวมใส่ และสิ่งแวดล้อม

Nyana Nyana Eco Fashion แบรนด์แฟชั่นของอดีตสถาปนิกหญิงสิงคโปร์ที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา แม้พบว่าป่วยเป็นมะเร็ง แต่ “Clara Simanjuntak” กลับใช้เป็นแรงบันดาลใจ เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิต ทำสิ่งดีๆ รวมถึงการสร้างแบรนด์เสื้อผ้าจากผ้าออร์แกนิก

บ้านโอบอุ่น ธุรกิจเล็กๆ ของนักศึกษาพยาบาล ที่ทำให้คนแปลกหน้ากลายเป็นเพื่อนกัน

พาไปรู้จักบ้านโอบอุ่น ธุรกิจโฮมสเตย์เล็กๆ ที่ปลูกขึ้นกลางทุ่ง ของ อั้ม-พัชราภา อ่ำปั้นนักศึกษาพยาบาล ที่นั่งรถไฟจากพิษณุโลกไปเชียงดาวทุกสัปดาห์เพื่อมาทำโฮมสเตย์เล็กๆ ที่เปลี่ยนคนแปลกหน้าให้กลายเป็นเพื่อนกัน