จาก VUCA สู่ BANI รู้ให้ทันโลกธุรกิจยุคไวรัส โหดร้ายไม่ต่างจากสมรภูมิสงคราม

TEXT : อ.อภิวุฒิ พิมลแสงสุริยา



         เชื่อว่าคนทำงานทุกคนน่าจะรู้จักและคุ้นชินกับสถานการณ์ของโลกปัจจุบันที่เรียกว่า VUCA กันเป็นอย่างดี
 

         VUCA เป็นคำย่อที่กองทัพสหรัฐฯ ใช้เรียกสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วและรุนแรงอย่างต่อเนื่องในช่วงสงครามอัฟกานิสถานและอิรัก ซึ่งต่อมาได้ถูกนำมาใช้ในโลกธุรกิจเพราะสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ เศรษฐกิจและสังคม มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วไม่แพ้สถานการณ์สงครามเช่นกัน จึงนับว่าเป็นความท้าทายอย่างยิ่งที่องค์กรต่างๆ ต้องทำความเข้าใจและปรับตัวให้ทัน

 
          VUCA ประกอบด้วยสถานการณ์ 4 รูปแบบ ได้แก่ Volatility - ความผันผวน Uncertainty - ความไม่แน่นอน Complexity - ความซับซ้อน และ Ambiguity - ความคลุมเครือ



 

          แต่วิกฤตโรคระบาดโควิดที่อุบัติขึ้นในครั้งนี้ ได้เปลี่ยนแปลงโลกไปมากมายอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน นักวิชาการหลายคนเริ่มตั้งคำถามว่าโลกในอนาคตหลังจากนี้ไป จะเป็นอย่างไร และ VUCA จะยังคงใช้อธิบายสภาพการณ์ของโลกในยุคนิวนอร์ได้อยู่ต่อไปอีกหรือไม่
 

            ในที่สุด Jamais Cascio นักพฤติกรรมศาสตร์ชื่อดังชาวอเมริกา ก็ออกมาไขปริศนาในเรื่องนี้ ด้วยการนำเสนอรูปแบบใหม่ที่โลกในอนาคตหลังวิกฤตโควิดต้องพบเจอ เรียกว่า BANI (อ่านว่า บานี่) ซึ่งประกอบไปด้วย

 
           B - Brittle (ความเปราะบาง): การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ไม่มีความสำเร็จใดๆ ที่จะอยู่ยั้งยืนยงอีกต่อไป ทุกโมเดลทางธุรกิจ จะมีความเปราะบางมาก สามารถถูกทำลาย (Disrupt) ได้ตลอดเวลา

 
             A - Anxious (ความกังวล): อะไรๆ ก็เกิดขึ้นได้ทั้งนั้น เราจึงต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับความกังวลและการที่ไม่สามารถไว้วางใจกับเรื่องใดๆ ได้เลย จากนี้ตลอดไป




 
          N - Nonlinear (คาดเดาได้ยาก): การคาดเดาจะเกิดขึ้นได้ยากมาก เราอาจไม่สามารถมองเห็นแนวโน้มในอนาคตข้างหน้าจากนี้ไปได้ไกลนัก วิสัยทัศน์และการวางแผน อาจต้องมีการปรับเปลี่ยนตลอดเวลา ไม่สามารถจัดทำแบบระยะยาวได้อีกต่อไป

 
          I - Incomprehensible (ความไม่เข้าใจ): ทุกสิ่งทุกอย่างจะไม่มีความชัดเจน การทำความเข้าใจให้ทะลุปรุโปร่งเพื่อที่จะควบคุมสถานการณ์ให้ได้ จะเป็นไปได้ยากมากในอนาคต




 
             และนี่คือผลกระทบที่โควิดทิ้งไว้ให้กับพวกเรา เป็นหน้าที่ของทุกคนที่ต้องเตรียมพร้อมและปรับตัวอย่างรวดเร็ว

 
             อย่าลืมคำกล่าวของชาร์ลส์ ดาร์วิน ที่ว่า “ไม่ใช่เผ่าพันธุ์ที่แข็งแรงที่สุด แต่เป็นเผ่าพันธุ์ที่ปรับตัวได้มากที่สุดต่างหาก ที่อยู่รอดได้”
 

 

 
 
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

Nyana Nyana Eco Fashion อดีตสถาปนิกนักสู้มะเร็ง สู่เจ้าของแบรนด์แฟชั่นออร์แกนิก เป็นมิตรต่อผู้สวมใส่ และสิ่งแวดล้อม

Nyana Nyana Eco Fashion แบรนด์แฟชั่นของอดีตสถาปนิกหญิงสิงคโปร์ที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา แม้พบว่าป่วยเป็นมะเร็ง แต่ “Clara Simanjuntak” กลับใช้เป็นแรงบันดาลใจ เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิต ทำสิ่งดีๆ รวมถึงการสร้างแบรนด์เสื้อผ้าจากผ้าออร์แกนิก

บ้านโอบอุ่น ธุรกิจเล็กๆ ของนักศึกษาพยาบาล ที่ทำให้คนแปลกหน้ากลายเป็นเพื่อนกัน

พาไปรู้จักบ้านโอบอุ่น ธุรกิจโฮมสเตย์เล็กๆ ที่ปลูกขึ้นกลางทุ่ง ของ อั้ม-พัชราภา อ่ำปั้นนักศึกษาพยาบาล ที่นั่งรถไฟจากพิษณุโลกไปเชียงดาวทุกสัปดาห์เพื่อมาทำโฮมสเตย์เล็กๆ ที่เปลี่ยนคนแปลกหน้าให้กลายเป็นเพื่อนกัน