TEXT : Watta.R
PHOTO : Sticky
โลกออนไลน์กลายเป็นทางรอดของหลายธุรกิจในยุคโควิด
“Sticky” เป็นร้านลูกอมแฮนด์เมดในออสเตรเลียเป็นหนึ่งในนั้น ร้านเกือบต้องปิดตัวลงอย่างถาวรหลังจากโรคระบาดทำให้ยอดขายในช่วงเดือนมีนาคม 2563 หดหายจนเหลือ 0 และเพื่อพลิกสถานการณ์นั้น ร้านก็ได้เริ่มโพสต์กระบวนวิธีการทำขนมอันน่าตื่นตาตื่นใจของร้านลงบนโซเชียลมีเดีย ในเวลาไม่นานร้านก็มีผู้ติดตามบนโลกโซเชียลถึงหลายร้านคน แล้วธุรกิจเล็กๆ ก็ประสบความสำเร็จมากกว่าที่เคยเป็นมา
Sticky เริ่มทำขนมหวานมาเกือบ 20 ปีแล้ว ก่อนที่จะมีโควิดร้านมีฐานลูกค้าที่แข็งแรง ส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวที่จะมาซื้อลูกอมสีสันสะดุดตาไปเป็นของฝาก หรืออย่างน้อยก็มายืนดูกรรมวิธีการทำลูกอมที่หน้าร้านนับตั้งแต่การต้ม กวน ทิ้งให้แข็งตัว จนถึงการตัดเป็นชิ้นๆ ที่กินเวลานานนับชั่วโมง
แน่นอนว่าโควิดส่งผลกระทบต่อทุกธุรกิจที่ต้องพึ่งพานักท่องเที่ยว David King เจ้าของ Sticky ถึงขั้นต้องกู้หนี้ยืมสินจากเพื่อนเพื่อมาจ่ายต้นทุนต่างๆ และอาจต้องเลิกจ้างพนักงาน จนกระทั่งคิดว่าอาจจะต้องปิดร้านในอีก 28 วันข้างหน้า แต่แล้วร้านก็ใช้โซเชียลมีเดียเป็นทางเลือกสุดท้าย แม้ว่าตั้งแต่ปี 2544-2563 ร้านจะมียอดสั่งซื้อออนไลน์น้อยมากแค่เพียง 10 ออเดอร์ต่อสัปดาห์
“เราคิดว่าจจะใช้ประโยชน์จากการแสดงขั้นตอนการทำขนมของเราในการไลฟ์สดได้ ผู้คนมายืนดูเราทำขนมเป็นเวลา ชั่วโมง และบางทีเราอาจจะทำแบบนั้นได้ในโลกออนไลน์”
Sticky ลงทุนไปกับกล้อง 2-3 ตัว และเริ่มไลฟ์สดบน Facebook ครั้งแรกมีคนดู 60 คน หลังจากนั้นก็เพิ่มเป็น 100 และ 200 คน แบรนด์ใช้เงิน 25 ดอลลาร์เพื่อโปรโมทไลฟ์บน Facebook ซึ่งจนถึงทุกวันนี้นั่นก็เป็นเงินก้อนเดียวที่เขาใช้เพื่อซื้อโฆษณาในโซเชียลมีเดีย เพราะหลังจากการจ่ายครั้งนั้นโซเชียลมีเดียของร้านก็บูมขึ้นมา เวลาผ่านไปเพียง 2 เดือนมีคนมาดูไลฟ์มากถึง 20,000 คน และมียอดเข้าชมวิดีโออีกหลายแสนครั้ง
แต่ชื่อเสียงบนโลกออนไลน์ของแบรนด์ Sticky ไม่ได้หยุดแค่นั้น เมื่อ Annabelle King ลูกสาววัย 17 ปีของเจ้าของร้านเห็นว่าเพื่อนคนหนึ่งของเธอมีผู้ติดตามเป็นพันๆ คน และคิดว่าเธอก็น่าจะทำได้เหมือนกัน จึงเริ่มสร้างบัญชี TikTok ให้ร้าน Sticky บ้างและมีผู้ติดตาม 1,000 คนภายในวันแรก
อาจจะเป็นเพราะความโชคดีที่เพื่อนของแร็ปเปอร์คนดังอย่าง Snoop Dogg ไปเจอ TikTok ของร้าน Sticky เข้าและแชร์ต่อ หลังจากนั้น Snoop Dogg เองก็แชร์วิดีโอบน Instagram ของเขาด้วย นั่นทำให้ผู้ติดตามร้านเพิ่มขึ้นอีก 1.5 ล้านคนในช่วงสุดสัปดาห์นั้นเอง
รวมแล้วพวกเขามีผู้ติดตามบน TikTok 4.3 ล้านคน, และผู้ติดตามบน Facebook 980,000 แอคเคาท์ โดยที่มีการเข้าถึงผู้ใช้งาน Facebook ประมาณ 45 ล้านคนต่อเดือน, มีสมาชิกบน YouTube 200,000 คน และมีผู้ติดตามบน Instagram อีก 160,000 คน สำหรับ King ผู้เป็นเจ้าของร้าน ผู้ติดตามจำนวนมากนั่นหมายถึงโอกาสในการแปลงเป็นเงินสดสำหรับธุรกิจ
ผลประกอบการประจำปีของ Sticky เพิ่มขึ้น 230 เปอร์เซ็นต์ และจากที่เคยต้องเลิกจ้างพนักงาน วันนี้เขามีพนักงานทำงาน 10 คนตลอดเวลา สินค้ามักจะขายหมดภายใน 10 นาที ผลิตภัณฑ์ 80 เปอร์เซ็นต์ถูกส่งไปต่างประเทศ และมีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ซื้อรายใหญ่ถึง 40 เปอร์เซ็นต์ ออสเตรเลียบ้านเกิดเป็นฐานลูกค้าที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 นอกเหนือจากนั้นพวกเขาส่งออกไปยัง สหราชอาณาจักร เยอรมนี อิตาลี และแคนาดา
การตัดสินใจที่จะทำการตลาดบนโลกออนไลน์ไม่เพียงแค่ช่วยชีวิตธุรกิจ แต่ได้สร้างเศรษฐีคนใหม่ขึ้นในออสเตรเลีย
ที่มา : www.news.com.au, businessinsider.com
www.smethailanclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR
Nyana Nyana Eco Fashion แบรนด์แฟชั่นของอดีตสถาปนิกหญิงสิงคโปร์ที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา แม้พบว่าป่วยเป็นมะเร็ง แต่ “Clara Simanjuntak” กลับใช้เป็นแรงบันดาลใจ เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิต ทำสิ่งดีๆ รวมถึงการสร้างแบรนด์เสื้อผ้าจากผ้าออร์แกนิก
พาไปรู้จักบ้านโอบอุ่น ธุรกิจโฮมสเตย์เล็กๆ ที่ปลูกขึ้นกลางทุ่ง ของ อั้ม-พัชราภา อ่ำปั้นนักศึกษาพยาบาล ที่นั่งรถไฟจากพิษณุโลกไปเชียงดาวทุกสัปดาห์เพื่อมาทำโฮมสเตย์เล็กๆ ที่เปลี่ยนคนแปลกหน้าให้กลายเป็นเพื่อนกัน
การประกาศขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนเป็น 125% โดยประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้จุดชนวนสงครามการค้ารอบใหม่ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก ดังนั้น SME ไทยจึงกำลังตกอยู่ในสถานการณ์เสี่ยง ...แล้วเราจะอยู่รอดได้อย่างไร