พร้อมแค่ไหนก่อนเปิดประเทศ กรณีศึกษร้านอาหารดังสหรัฐฯ ขาดแคลนแรงงานหนัก แม้ขึ้นค่าแรงก็ยังไม่มีคนมาสมัคร

TEXT : กองบรรณาธิการ




            มีแนวโน้มให้เห็นกันบ่อยมากขึ้นกับปัญหาขาดแคลนแรงงานที่เกิดขึ้นหลังวิกฤตโควิด-19 ที่หลายประเทศกำลังกังวลกันในขณะนี้ โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกาซึ่งมีการเรียกปรากฏการณ์ดังกล่าวว่า Turnover Tsunami เปรียบเสมือนคลื่นยักษ์ของเหล่ามนุษย์เงินเดือนที่ต่างพากันลาออก เพื่อแสวงหาสิ่งที่ดีที่สุดให้กับตัวเองไม่ว่าจะเป็นการออกไปใช้ชีวิตอิสระ หรือการเปลี่ยนงานเพื่อไปทำที่ใหม่ที่ได้เงินเดือนหรือสวัสดิการดีกว่า ความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดเป็นวิกฤตใหม่ที่ทั่วโลกต้องเผชิญเรียกว่า Great Resignation หรือการลาออกเพื่อไปหางานใหม่ที่ดีกว่านั่นเอง

  

                           

           ล่าสุดมีตัวอย่างเล็กๆ จากร้านพิซซ่าแห่งหนึ่งในชิคาโกเกิดภาวะขาดแคลนแรงงานกะทันหัน ไม่สามารถหาพนักงานมาทำแทนได้ทัน จนถึงขั้นต้องประกาศปิดร้านชั่วคราว 2 มาแล้ว


            โดยเรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นกับ “Coalfire Pizza” ร้านพิซซ่าชื่อดังในเมืองชิคาโก ซึ่งมีเอกลักษณ์จากการอบด้วยเตาถ่านหิน


             Dave Bonomi เจ้าของร้านเล่าว่าเหตุดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อพนักงานสองคนของเขาจากจำนวนที่เหลืออยู่เพียงไม่กี่คนเกิดโทรมาลาป่วยพร้อมกันกะทันหัน ทำให้มีคนมาทำงานไม่พอ จนต้องประกาศปิดร้านชั่วคราวแบบกะทันหัน ซึ่งตลอดระยะเวลากว่า 15 ปีที่ทำธุรกิจมาไม่เคยมีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นมาก่อน





             Dave เล่าเสริมว่าปัญหาดังกล่าวไม่ใช่เพิ่งเริ่มเกิดขึ้นครั้งแรก แต่เป็นปัญหาเดิมที่เขากำลังพยายามแก้ไขโดยพยายามประกาศรับสมัครพนักงานใหม่มาสักพักหนึ่งแล้ว แต่กลับไม่มีใครสนใจมาสัมภาษณ์เลย ทั้งที่ก่อนหน้านี้ช่วงที่โควิด-19 เริ่มระบาดใหม่ๆ หลายองค์กรเริ่มเลย์ออฟพนักงานออก ทำให้มีคนสนใจมาสมัครกันเป็นจำนวนมาก แต่หลังจากการระบาดยืดเยื้อกินเวลายาวนานเกือบสองปี ทำให้ปัจจุบันกลับแทบไม่มีใครสนใจมาขอสัมภาษณ์

 

             ซึ่งเขาเองก็พยายามแก้ปัญหาโดยยอมจ่ายค่าแรงมากขึ้นให้เทียบเท่ากับร้านอาหารใหญ่ๆ เพื่อดึงดูดพนักงานให้กลับมาทำงาน แต่ก็ยังจูงใจไม่มากพอ โดยจากเดิมสำหรับพ่อครัวที่เพิ่งเริ่มต้นทำงานได้ไม่นาน มีประสบการณ์เพียงเล็กน้อย จากเดิมจะจ่ายอยู่ที่ 15 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง ก็เพิ่มเป็น 18 ดอลลาร์ต่อชั่วโมงแทน





           Coalfire ไม่ใช่ร้านอาหารเพียงแห่งเดียวที่ประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ร้านอาหาร บาร์ และคาเฟ่ทั่วสหรัฐฯ กำลังดิ้นรนเช่นกัน เพื่อเตรียมรับมือกับความต้องการของลูกค้าที่จะกลับมาหลังเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว โดยจากผลสำรวจล่าสุดพบว่าการจ้างงานในอุตสาหกรรมร้านอาหารในสหรัฐฯ ลดลงกว่า 42,000 ตำแหน่งในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาด้วย


           สอดคล้องกับรายงานจากกระทรวงแรงงานสหรัฐฯ ที่เผยตัวเลขตั้งแต่เดือนเมษายนว่ามีคนลาออกจากงานแล้วกว่า 4 ล้านคน ซึ่งเป็นสถิติที่สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ เช่นเดียวกับผลสำรวจของอีก 2 บริษัทยักษ์ใหญ่ ได้แก่ 1. Microsoft พบว่าพนักงานทั่วโลกกว่าสามหมื่นคนโดยพบว่า 41 เปอร์เซ็นต์กำลังตัดสินใจที่ลาออก และ Personio บริษัทผลิตซอฟต์แวร์ด้านทรัพยากรบุคคลได้สำรวจคนทำงานในสหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์ พบว่า 38 เปอร์เซ็นต์กำลังวางแผนที่จะลาออกจากงานในอีก 6 เดือน – 1 ปีข้างหน้านี้



               

            นับเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่เริ่มส่อเค้าให้เห็นชัดเจนมากขึ้นของปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่กำลังจะเกิดขึ้นกับโลกธุรกิจในอนาคตอันใกล้นี้ ผู้ประกอบการไทยเองคงต้องเตรียมรับมือไว้แต่เนิ่นๆ โดยอาจหาวิธีผูกมัดใจพนักงานทำให้เขาเสมือนเป็นหนึ่งในเจ้าของธุรกิจด้วย ไปจนถึงการหาแผนสำรอง เช่น การฝึกแรงงานทดแทน การนำเครื่องจักรอัตโนมัติมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้รวดเร็วและมีคุณภาพมากขึ้น ลดการพึ่งพาแรงงานคนเพียงอย่างเดียว ก็น่าจะทำให้พอรับมือกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้บ้างไม่มากก็น้อย
 
 



www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

ขายดีจนต้องจำกัดการซื้อ! LoafyCo Bakery ขายขนม 2,000 ชิ้นต่อวัน เพราะคนต่อคิวซื้อไม่หยุด

ไม่ง่ายเลยที่ร้านเบเกอรี่เล็กๆ ย่านชานเมืองจะมีคิวแน่นหน้าร้านทุกวัน จนต้องจำกัดจำนวนการซื้อ แต่ LoafyCo Bakery House คือข้อยกเว้นนั้น จากจุดเริ่มต้นเล็กๆ สู่ยอดขายวันละ 1,000-2,000 ชิ้น และรายได้ 4 ล้านต่อเดือน..ทำได้อย่างไร?

“แหนมวาสนา” จากรสมือแม่..สู่แบรนด์อาหารอีสาน ที่มุ่งมั่นพัฒนาส่งต่อวัฒนธรรมอาหารอีสานสู่ครัวโลก

ในทุกคำของแหนมวาสนา ไม่ได้มีแค่รสเปรี้ยวกลมกล่อมของอาหารอีสาน แต่ยังเต็มไปด้วยความรักและความตั้งใจของครอบครัว ที่ส่งต่อจากรุ่นแม่สู่รุ่นลูก นิชา-ณัฐธีรยา ชัยวิสิทธิ์  ที่พลิกโฉมแหนมวาสนาให้กลายเป็นแบรนด์อาหารพื้นถิ่นที่ก้าวสู่เวทีระดับโลก

ปณิธาน มีไชยโย กับภารกิจปั้นเกษตรไทยให้คนทั้งโลกจดจำ จากตลาดท้องถิ่น สู่ชั้นพรีเมียมโลก

วันนี้ อ.ต.ก. กำลังเปลี่ยนบทบาทครั้งใหญ่ ไม่ใช่แค่ “จัดตลาด” แต่กลายเป็น “นักการตลาดระดับประเทศ” ที่ช่วยให้เกษตรกรไทยปั้นแบรนด์ เจาะตลาดพรีเมียม และพาของไทยไปยืนเคียงสินค้าระดับโลก