สาวนักสู้ตกงานตอนอายุ 50 ปี สมัครงานกว่า 500 ที่แต่ไร้คนจ้าง ลุกขึ้นสร้างธุรกิจ Osme Candles ของตัวเอง

Text : รัชนีกร ทองรอด

Photo : Osme Candles

 

     ในสถานการณ์โควิด-19 ในที่ผ่านมาส่งผลกระทบต่อหลายๆ ธุรกิจ และอีกหลายๆ ชีวิตที่เป็นพนักงานตั้งแต่ระดับล่างไปจนถึงระดับบน บางคนโดนจ้างออกเพราะเงินเดือนสูง

     คนเหล่านั้นก็มักจะเป็นคนที่มีอายุแล้ว การที่พวกเขาต้องไปหางานใหม่นั้น มันเป็นอุปสรรคกับพวกเขาเป็นอย่างมาก เพราะว่าบริษัทส่วนใหญ่ไม่รับคนที่มีอายุเข้าทำงาน ซึ่งหญิงสาวที่เรากำลังจะพูดถึงเขาก็พบเจอกับปัญหาเหล่านี้เหมือนกัน แต่เธอไม่ได้ยอมแพ้ พร้อมเปลี่ยนความคิดของตัวเอง กลายเป็นผู้ก่อต้องธุรกิจเทียนหอม 

     หญิงสาววัย 57 ปีคนนี้มีนามว่า Paula Grady จากนิวแฮมป์เชียร์ เมื่อก่อนเธอเคยทำงานเป็นผู้จัดการบัญชีของฝ่ายไอที แต่การทำงานของเขาต้องจบลงอย่างกะทันหันในปี 2563 เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 

     ในเมื่อชีวิตมันต้องดำเนินต่อ เธอจึงต้องหางานทำ เธอได้สมัครงานมากกว่า 500 แห่ง ในช่วงล็อกดาวน์ แต่ที่น่าเศร้ามากไปกว่านั้นเธอถูกเรียกสัมภาษณ์เพียงสามครั้งเท่านั้น นั่นอาจเป็นเพราะเงื่อนไขของบริษัทที่รับสมัครงาน ซึ่งหลายๆ บริษัทก็ไม่รับคนอายุ 50 เข้าทำงาน

     จากเหตุการณ์ข้างต้น ทำให้เธอรู้สึกว่าตัวเองไร้ค่ามาก แม้จะพยายามเท่าไรมันก็ไม่มีประโยชน์เอาซะเลย และด้วยเหตุนี้ทำให้เธอต้องตัดสินใจที่จะทำบางอย่างและบอกกับตัวเองว่า “ถ้าหางานทำไม่ได้ ให้สร้างมันขึ้นมา”



ธุรกิจใหม่ที่สร้างขึ้นด้วยมือ 

     และนี่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำธุรกิจของสาวนักสู้ เธอได้ก่อตั้งธุรกิจเทียนหอม ภายใต้แบรนด์ Osme Candles

     ต้องบอกก่อนว่าก่อนเธอจะเริ่มต้นทำธุรกิจเทียนหอม Paula เคยอบรมด้านการจัดการบริการรวมถึงการทำอาหารด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่เธอชอบมาตั้งแต่เด็ก เธอจึงเอาทักษะเหล่านั้นมาปรับใช้ในการทำเทียนหอม ซึ่งในการทำเทียนหอมก็มีสูตรและกระบวนการเหมือนกับการทำอาหาร เมื่อเธอคิดได้อย่างนั้นเธอจึงเปลี่ยนโรงรถของเธอให้เป็นสตูดิโอทำเทียนหอม

     และเมื่อเธอดำเนินธุรกิจมาได้มากกว่าหนึ่งเดือน กิจการเริ่มไปได้ดี เจ้าของแบรนด์ Osme Candles จึงได้นำเทียนหอมออกไปสู่ตลาดที่ใหญ่ขึ้น ซึ่งนำไปฝากขายกับร้านขายของกระจุกกระจิกและร้านขายของตกแต่บ้าน 

     และได้เจรจากับซัพพลายเออร์อีกหลายๆ บริษัท  เพื่อร่วมกันผลิตเทียนหอม จากความพยายามของเธอในวันนั้นรางวัลที่เธอได้รับคือ เงินมาจากการขายเทียนหอม

     "อย่ารอช้าที่จะเสี่ยง จงใช้สิ่งที่ได้เรียนรู้มาตลอดหลายปีลงมือทำมัน" Paula กล่าวทิ้งท้าย 

     ตัวเรามีคุณค่าสำหรับบางสิ่งเสมอแค่หาให้เจอ

 

ที่มา : https://www.bbc.com/news/business-54482615

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

Nyana Nyana Eco Fashion อดีตสถาปนิกนักสู้มะเร็ง สู่เจ้าของแบรนด์แฟชั่นออร์แกนิก เป็นมิตรต่อผู้สวมใส่ และสิ่งแวดล้อม

Nyana Nyana Eco Fashion แบรนด์แฟชั่นของอดีตสถาปนิกหญิงสิงคโปร์ที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา แม้พบว่าป่วยเป็นมะเร็ง แต่ “Clara Simanjuntak” กลับใช้เป็นแรงบันดาลใจ เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิต ทำสิ่งดีๆ รวมถึงการสร้างแบรนด์เสื้อผ้าจากผ้าออร์แกนิก

บ้านโอบอุ่น ธุรกิจเล็กๆ ของนักศึกษาพยาบาล ที่ทำให้คนแปลกหน้ากลายเป็นเพื่อนกัน

พาไปรู้จักบ้านโอบอุ่น ธุรกิจโฮมสเตย์เล็กๆ ที่ปลูกขึ้นกลางทุ่ง ของ อั้ม-พัชราภา อ่ำปั้นนักศึกษาพยาบาล ที่นั่งรถไฟจากพิษณุโลกไปเชียงดาวทุกสัปดาห์เพื่อมาทำโฮมสเตย์เล็กๆ ที่เปลี่ยนคนแปลกหน้าให้กลายเป็นเพื่อนกัน