กระถางเพาะชำย่อยสลายได้ สูตรเด็ดจาก วว. ไอเดียทำเงินจากวัสดุเกษตรเหลือทิ้งรับเทรนด์ BCG

 

     ทุกวันนี้ด้วยวิถีชีวิตรูปแบบใหม่ (New Normal) ไม่ว่าจะเป็นการสั่งซื้อของออนไลน์ สั่งอาหารมาทานที่บ้าน การสวมหน้ากากอนามัย ล้วนเป็นตัวเร่งจำนวนปริมาณขยะทั่วโลกให้เพิ่มมากขึ้น ซ้ำเติมวิกฤตโลกร้อนและ Climate Change ให้รุนแรงยิ่งขึ้น คาดว่าในหลายๆ ประเทศจะกลับมาให้ความสำคัญอย่างจริงจังกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนโดยไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

      BCG หนึ่งในโมเดลที่กำลังมาแรงในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างยั่งยืน โดยเป็นโมเดลที่มุ่งเน้นการรักษาสิ่งแวดล้อมและสังคมควบคู่ไปกับการพัฒนาธุรกิจให้เติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน ประกอบด้วยเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ซึ่งเป็นโมเดลการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นการรักษาสิ่งแวดล้อมและสังคมควบคู่ไปกับการพัฒนาธุรกิจให้เติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน ทั้งนี้ ปัจจุบันโมเดล BCG เริ่มถูกนำไปใช้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ รวมถึงประยุกต์ใช้กับภาคธุรกิจในหลายประเทศ

     ศ. (วิจัย) ดร. ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กล่าวว่า  นโยบายเศรษฐกิจ BCG เป็นธงการดำเนินงานของ วว. เพื่อร่วมขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลให้สำเร็จ สามารถตอบโจทย์ แก้ปัญหาของประเทศด้วยองค์ความรู้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี

      ล่าสุดได้ประสบผลสำเร็จในการเพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือทิ้งจากภาคการเกษตร นำมาวิจัยพัฒนาเป็นกระถางเพาะชำที่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อทดแทนและลดการใช้ถุงเพาะชำที่ทำจากพลาสติก ระบุผลิตภัณฑ์มีความแข็งแรง ทนทาน มีความยืดหยุ่น ทำให้รากพืชสามารถชอนไชออกจากก้นกระถาง/ด้านข้างของกระถางได้ มีความสามารถในการอุ้มน้ำ ระบายความร้อนได้ดี ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช

     ผู้ว่าการ วว. อธิบายเพิ่มว่า นวัตกรรม “กระถางเพาะชำย่อยสลายได้” เป็นหนึ่งในผลงานที่เป็นรูปธรรม ซึ่ง วว. โดย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมวัสดุ ประสบผลสำเร็จในการเพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือทิ้งจากภาคการเกษตร ได้แก่ ใยมะพร้าว แกลบ เปลือกข้าวโพด ฟางข้าว หญ้าเนเปีย เยื่อกล้วย ชานอ้อย ผักตบชวา และไผ่ เป็นต้น นำมาวิจัยและพัฒนาขึ้นรูปเป็นกระถางเพาะชำที่สามารถย่อยสลายได้และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผลิตภัณฑ์มีความแข็งแรงและทนทาน มีความยืดหยุ่นที่ดี เพื่อให้รากสามารถชอนไชออกจากก้นกระถางและด้านข้างของกระถางได้เป็นอย่างดี รวมถึงมีความสามารถในการอุ้มน้ำ และระบายความร้อนได้ดี ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช

     “ในการเพาะชำไม้ดอกไม้ประดับรวมถึงพืชอื่นๆ ชาวสวนส่วนใหญ่จะเพาะกล้าไม้ลงในถุงเพาะชำหรือกระถางเพาะชำที่ทำมาจากพลาสติก โดยพลาสติกเหล่านั้นเป็นวัสดุที่ย่อยสลายยาก และเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดสภาวะโลกร้อน จึงเป็นโจทย์ที่ วว. นำมาแก้ปัญหาและประสบผลสำเร็จในการพัฒนาเป็นกระถางเพาะชำย่อยสลายได้ ซึ่งถือเป็นการนำองค์ความรู้ ประสบการณ์ มาต่อยอดโดยใช้หลักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาช่วยในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สามารถเข้าใจ เข้าถึงกระบวนการผลิตได้ไม่ยาก และใช้วัตถุดิบที่มีต้นทุนต่ำในการปรับปรุงคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ และเป็นการเพิ่มมูลค่าของเหลือทิ้งทางการเกษตรตามหลักการ BCG” ผู้ว่าการ วว. กล่าว

     ทั้งนี้การผลิต กระถางเพาะชำย่อยสลายได้ นั้นจะใช้วัตถุดิบที่มีต้นทุนต่ำ จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรมาสับย่อยให้มีขนาดที่เหมาะสมซึ่งขึ้นกับชนิดของพืช ดังนี้  

  • ใยมะพร้าว  ไม่ต้องตัด สามารถใช้แบบยาวๆ ได้ 

 

  • แกลบ นำมาล้างและอบให้แห้ง เปลือกข้าวโพด  ฉีกตามแนวยาวให้มีความกว้างประมาณ 0.5 – 2.0  เซนติเมตร    

 

  • ฟางข้าว  นำมาล้างและอบให้แห้ง  จากนั้นนำไปผสมกับตัวประสานอินทรีย์ในปริมาณที่เหมาะสม  เพื่อช่วยในการยึดเกาะของเยื่อและมีความแข็งแรงหลังการขึ้นรูป

 

  • ในส่วนของพืชที่มีเส้นใยอ่อน เช่น หญ้าเนเปีย/ผักตบชวา/กาบกล้วย นำมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ และนำไปปั่นละเอียดจนเป็นเยื่อ จากนั้นนำเยื่อที่ได้ไปอัดขึ้นรูป

 

  • ส่วนพืชที่มีโครงสร้างแข็ง เช่น ชานอ้อย/ไผ่/ฟางข้าว  นำมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ และต้มด้วยโซเดียมไฮดรอกไซต์ (NaOH) หรือ โซดาไฟ จะได้เยื่อที่มีความอ่อนนุ่มขึ้นรูปได้

 

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

Nyana Nyana Eco Fashion อดีตสถาปนิกนักสู้มะเร็ง สู่เจ้าของแบรนด์แฟชั่นออร์แกนิก เป็นมิตรต่อผู้สวมใส่ และสิ่งแวดล้อม

Nyana Nyana Eco Fashion แบรนด์แฟชั่นของอดีตสถาปนิกหญิงสิงคโปร์ที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา แม้พบว่าป่วยเป็นมะเร็ง แต่ “Clara Simanjuntak” กลับใช้เป็นแรงบันดาลใจ เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิต ทำสิ่งดีๆ รวมถึงการสร้างแบรนด์เสื้อผ้าจากผ้าออร์แกนิก

บ้านโอบอุ่น ธุรกิจเล็กๆ ของนักศึกษาพยาบาล ที่ทำให้คนแปลกหน้ากลายเป็นเพื่อนกัน

พาไปรู้จักบ้านโอบอุ่น ธุรกิจโฮมสเตย์เล็กๆ ที่ปลูกขึ้นกลางทุ่ง ของ อั้ม-พัชราภา อ่ำปั้นนักศึกษาพยาบาล ที่นั่งรถไฟจากพิษณุโลกไปเชียงดาวทุกสัปดาห์เพื่อมาทำโฮมสเตย์เล็กๆ ที่เปลี่ยนคนแปลกหน้าให้กลายเป็นเพื่อนกัน