ทำยังไงให้คนอยากได้สินค้า จากกระแส Omega x Swatch แนวคิดที่ SME ไปปรับใช้ได้กับธุรกิจ

 

 

     ไม่กล่าวถึงไม่ได้กับกระแสที่ร้อนแรงไปทั่วโลก สำหรับการที่แบรนด์นาฬิกา OMEGA และ Swatch มา Collaboration กันเป็นครั้งแรกด้วยการออกนาฬิการุ่น MoonSwatch

     สิ่งที่เกิดขึ้นในหลายเมืองใหญ่ของโลก ไม่ว่าจะเป็นเมลเบิร์น, ลอนดอน, ฮ่องกง สิงคโปร์, อัมสเตอร์ดัม ตลอดจนกรุงเทพฯ ทำให้เกิดปรากฏการณ์ห้างแตกนักช็อปตั้งแต่หลักร้อยไปจนถึงหลายพันคนในบางพื้นที่เข้าคิวซื้อนาฬิการุ่นใหม่จนทำให้เกิดความชุลมุน และบางสาขาก็ยกเลิกขายหน้าร้านในที่สุด อย่างเช่นไทยที่ออกมาประกาศจะขายทางออนไลน์แทน

     แม้แบรนด์ Swatch จะออกมาย้ำว่า “นาฬิกาในคอลเลกชันนี้ไม่ใช่สินค้าลิมิเต็ด และจะมีการเติมสต๊อกสินค้าในอนาคต” แต่ด้วยความที่ออกมาในช่วงแรกมีจำนวนไม่เยอะมาก คือหลัก ‘ร้อยเรือน’ ต่อสาขา ก็ทำให้ความต้องการนั้นพุ่งแบบฉุดไม่อยู่ เพื่อที่จะเป็นคนแรกๆ ที่ได้ครอบครอง

     ถ้าจะท้าวความถึงที่มาของแบรนด์ Swatch นั้นเกิดขึ้นมาจากการที่อุตสาหกรรมนาฬิกาของสวิสซึ่งมีราคาที่ค่อนข้างสูง กำลังประสบปัญหาการแข่งขันจากอุตสาหกรรมนาฬิกาของญี่ปุ่นที่มีราคาที่เข้าถึงง่ายมากกว่า จึงใช้กลยุทธ์ Fighting Brand เพื่อมาแข่งขันจึงเกิดมาเป็น Second Watch หรือ Swatch นั้นเอง

     จากแบรนด์ที่มีประวัติมาอย่างยาวนานกับ Big Move ที่สำคัญหลัง Pandemic แบบนี้มีสิ่งที่น่าเรียนรู้หลายอย่าง โดยในมุมมองส่วนตัวสรุปประเด็นออกมาดังนี้ครับ 

1. Corporate Strategy : Omega x Swatch Collaboration กันได้เพราะอยู่ใน Swatch Group เหมือนกันความร่วมมือครั้งนี้แสดงถึงกลยุทธ์เฉพาะของ Swatch Group ที่พยายามกระตุ้นความสนใจใหม่ๆ ในนาฬิกาของตนด้วยการนำเสนอความหรูหราที่มาในราคาประหยัด เพราะปกติแล้วนาฬิกา OMEGA Speedmaster Professional จะมีราคาเริ่มต้นที่ประมาณ 6,300 ฟรังก์สวิส หรือราว 227,000 บาท ในขณะที่ OMEGA x Swatch มีราคาเริ่มเพียง 250 ฟรังก์สวิส หรือ 9,000 บาท (แพงกว่าราคาไทยเล็กน้อย ที่วางขาย 8,700 บาท) ราคาที่เข้าถึงได้ก็ทำให้หลายคนก็รู้สึกสนใจโอกาสที่จะได้เป็นเจ้าของนาฬิกาแบรนด์ OMEGA ซึ่งเป็นแบรนด์หรูที่มีราคาสูง ดังนั้นบางทีการที่เราใช้กลยุทธ์ Collabation ในวาระพิเศษบางอย่างโดยที่รสนินมความชอบไปในทิศทางเดียวกันเกิดการ Synergy ของแบรนด์นั้นเป็นสิ่งที่ดีและได้ประโยชน์มากจริงครับ

2. Brand Remind : ส่วนสำคัญอีกส่วนนึงคือ Brand Swatch จะดังมากๆ ในช่วงที่ผมนั้นเป็นวัยรุ่น ยังจดจำได้อย่างดีว่าตอนวัยรุ่นนั้นอยากใส่นาฬิกา Swatch กันอย่างมากมาย แตกต่างกับวัยรุ่นในปัจจุบันที่มีตัวเลือกของนาฬิกาเยอะแยะ ทั้งแบบนาฬิกาจริงๆ หรือ Smartwatch ก็ตาม แต่เด็กวัยรุ่นยุค 90 ในสมัยนั้นก็โตมากับแบรนด์ Swatch และก็มีกำลังทรัพย์และความต้องการรูปแบบที่โตขึ้นในปัจจุบัน ก็เป็นเรื่องยากที่จะกลับไปสนใจนาฬิกา Swatch รูปแบบปกติที่เน้นความสดใสสนุกสนาน ดังนั้นการ Collaboration ครั้งนี้ได้ตอบโจทย์กลุ่ม Fanclub ยุคก่อน อาศัย Brand Remind ลูกค้าในอดีตที่โตขึ้นได้เป็นอย่างดี กลยุทธ์การทำ Brand Rejuvenate ทำให้แบรนด์กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้งนึงเป็นสิ่งที่ดี อย่างน้อย 5 ปี ทำครั้งนึงก็ยังได้ เพื่อลดอายุของแบรนด์ให้เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคยุคใหม่อยู่เสมอๆ ไม่ให้แบรนด์ไม่แก่ไปกับแฟนคลับยุคเดิมๆ เพียงอย่างเดียว

3. Story Telling : ความพิเศษของนาฬิการุ่นนี้อยู่ที่การหยิบเอาแรงบันดาลใจจากอวกาศมาใช้ในการรังสรรค์นาฬิกา ตั้งแต่ดาวยักษ์แดงที่เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะไปจนถึงดาวเคราะห์แคระกับดาวบริวารมีให้เลือกถึง 11 รูปแบบ ซึ่งแต่ละแบบตั้งชื่อ และดีไซน์ตามดวงดาวต่างๆ และมีส่วนผสม Bioceramic 2 ใน 3 ส่วน ซึ่งแข็งแรง น้ำหนักเบาเป็นนวัตกรรมเด่นจาก Swatch และอีกหนึ่งส่วนคือสารที่ได้จากน้ำมันละหุ่ง มีการผสมผสานผง Stainless เพื่อเป็นเกียรติให้นาฬิกา Stainless Steel ที่นำไปใช้บนดวงจันทร์ในปี 1969 สายรัดข้อมือแบบ Velcro Strap ซึ่งเป็นแบบเดียวกับนักบินอวกาศ Apollo ทุกคนสวมใส่กับชุดอวกาศและด้วยการที่มีลักษณะคล้ายกับ Speedmaster Professional อันเป็นไอคอนิก หรือที่รู้จักกันในชื่อ ‘Moonwatch’ เนื่องจากถูกสวมใส่โดยนักบินอวกาศของสหรัฐฯ ก็ทำให้หลายคนอยากได้มาครอบครอง การที่เรามีความสามารถในการเล่าเรื่องที่ดี เป็นจุดแตกต่างที่สามารถสร้างเป็น Value ให้กับแบรนด์ได้เป็นอย่างดี ทำให้คุณค่าในมุมที่ผู้บริโภคได้รับนั้นสูงขึ้นส่งเสริมความสำเร็จของธุรกิจได้เป็นอย่างดี

4. Muketing : เนื่องจากการ Design ได้มีการผูกเรื่องราวกับ ดวงดาวต่างๆ ซึ่งดวงดาวต่างๆ นั้นก็จะส่งผลกระทบถึงดวงชะตาและความเชื่อของผู้สวมใส่ ทำให้ในประเทศไทยได้มีการหยิบยกเรื่องราวสายมู มาเพิ่มมูลค่า ความน่าสนใจให้กับสินค้ามากยิ่งๆขึ้นไป อาจจะเพื่อปั่นราคา Resell ให้สูงขึ้นไปอีกก็เป็นได้ เรื่องความเชื่อยังเป็นกลยุทธ์ที่ใช้ได้ดีกับประเทศตะวันออกที่มีความผูกผันกับเรื่องราวเหล่านี้ค่อนข้างมาก แต่ไม่ควรใช้มากจนเกินไปและควรดูจังหวะความเหมาะสมไม่ทำให้เสียแบรนด์ด้วย

5. FOMO (Fear of Missing Out) ทุกครั้งที่มีการคอลลาบอเรชันระหว่างแบรนด์ใหญ่กับแบรนด์ใหญ่ หรือกระทั่งแบรนด์ใหญ่กับศิลปินดัง เราก็มักจะได้เห็นข่าวกระแสต่อคิวอย่างยาวเหยีดขึ้นมาด้วยทุกครั้ง และกระแสที่มาควบคู่กันคือการที่ถูกมองว่า คนที่มาต่อคิวนั้นไม่ได้ถูกนำไปใส่เอง แต่ต้องการนำไปขายต่อ หรือที่เรียกในวงการว่า ‘รีเซล’ อย่างนาฬิกา OMEGA x Swatch นั้น ตัวผมเองได้อยู่ในกลุ่ม Facebook ของผู้ที่สนใจสินค้านี้ราคาที่ถูกโพสต์ได้ขยับจาก 8,700 บาท พุ่งขึ้นไปอยู่ที่ราว 80,000 กว่าบาท ซึ่งเป็นราคาที่เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัวการหยิบมา ‘รีเซล’ ไม่ได้เกิดขึ้นในเฉพาะกับประเทศไทย แต่เกิดขึ้นทั่วโลก ตลอดจนเกิดขึ้นกับสินค้าหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น ‘สินค้าหรู’ หรือ ‘ไม่หรู’ ก็ตาม หากแบรนด์ทำกลยุทธ์สร้างกระแสให้เป็นไวรัลได้ ความสำเร็จก็ไม่ไกลจนเกินไปเลยทีเดียว

     ทั้งนี้โดยเบื้องลึก Swatch Group หวังจะฟื้นรายได้ของตัวเอง หลังมองเห็นการส่งออกนาฬิกาสวิสที่มีราคาสูงฟื้นตัวอย่างรวดเร็วจากการดิ่งลงจากโรคระบาด ในขณะที่นาฬิการาคาต่ำกว่า 500 ฟรังก์สวิส หรือราว 18,000 บาท กำลังดิ้นรนเพื่อให้กลับมาเทียบเท่าก่อนเกิดโรคโควิด

 

Ref :

https://thestandard.co/omega-x-swatch-rising-price/

https://www.bloomberg.com/news/articles/2022-03-26/low-priced-omega-speedmaster-prompts-global-swatch-store-chaos

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

Nyana Nyana Eco Fashion อดีตสถาปนิกนักสู้มะเร็ง สู่เจ้าของแบรนด์แฟชั่นออร์แกนิก เป็นมิตรต่อผู้สวมใส่ และสิ่งแวดล้อม

Nyana Nyana Eco Fashion แบรนด์แฟชั่นของอดีตสถาปนิกหญิงสิงคโปร์ที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา แม้พบว่าป่วยเป็นมะเร็ง แต่ “Clara Simanjuntak” กลับใช้เป็นแรงบันดาลใจ เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิต ทำสิ่งดีๆ รวมถึงการสร้างแบรนด์เสื้อผ้าจากผ้าออร์แกนิก

บ้านโอบอุ่น ธุรกิจเล็กๆ ของนักศึกษาพยาบาล ที่ทำให้คนแปลกหน้ากลายเป็นเพื่อนกัน

พาไปรู้จักบ้านโอบอุ่น ธุรกิจโฮมสเตย์เล็กๆ ที่ปลูกขึ้นกลางทุ่ง ของ อั้ม-พัชราภา อ่ำปั้นนักศึกษาพยาบาล ที่นั่งรถไฟจากพิษณุโลกไปเชียงดาวทุกสัปดาห์เพื่อมาทำโฮมสเตย์เล็กๆ ที่เปลี่ยนคนแปลกหน้าให้กลายเป็นเพื่อนกัน