รู้จักอาชีพนักนอน สบายจริง? จำเป็นแค่ไหนต่อธุรกิจ?

 

 

     อาชีพนี้เป็นอาชีพที่ทุกคนใฝ่ฝันอยากที่จะทำและเป็นที่พูดถึงมากในโลกโซเชียล ตั้งแต่ตอนที่บริษัท Mattress City ประกาศรับสมัครพนักงานแล้ว แต่ในจิตนาการของทุกคน เมื่อพูดถึง อาชีพนักนอน” ก็คงคิดว่ามันดูสบายจัง อยากทำบ้าง คงแค่ไปนอนเฉยๆ หรือเปล่า วันนี้เราก็เลยอยากจะพาทุกคนไปรู้ว่าการทำอาชีพนักนอนต้องทำอะไรบ้าง และทำไมต้องมีอาชีพนี้เกิดขึ้นเพื่อตอบโจทย์กับอะไรกัน

 อาชีพนักนอนต้องทำอะไรบ้าง

1.  นอนเพื่อใช้ร่างกายทดสอบผลิตภัณฑ์ที่นอนแต่ละรุ่นของแบรนด์

2. นักนอนจะต้องนอนหงาย ตะแคง คว่ำ ท่าละประมาณ 10 นาที ว่านอนแล้วรู้สึกเมื่อย หรือรู้สึกกดทับตรงไหน จุดไหนอย่างไรบ้าง

3. ศึกษาและวิเคราะห์ชั้นวัสดุของที่นอนอย่างละเอียด เพราะร่างกายแต่ละคนไม่เหมือนกัน

4. เขียนบรรยายสรุปผลการวิเคราะห์ในแต่ละวัน

5. ทำคอนเทนต์รีวิวผลิตภัณฑ์ที่นอนให้น่าสนใจ เพื่อให้คนดูเข้าใจว่าที่ลงทุนซื้อที่นอนดีๆ มีประโยชน์อย่างไร

ข้อเสียของอาชีพนักนอน

  • ไม่ค่อยได้อยู่บ้าน เพราะต้องทำงานในพื้นที่ตามที่บริษัทกำหนด กรุงเทพฯ และต่างจังหวัด 
  • ต้องนอนคนเดียว ตามเวลาที่บริษัทกำหนดและห้ามอดนอนเด็ดขาด ดูเหมือนเรื่องเล็กแต่เป็นเรื่องใหญ่สำหรับหลายๆ คน เช่น คนที่นอนห้องโรงแรมคนเดียวไม่ได้เพราะกลัวผี
  • ต้องเป็น influencer มีตัวตนบนโลกอินเทอร์เน็ต อาจไม่เหมาะกับบางคนที่ไม่ชอบทำงานลักษณะแบบนี้

 

ผู้ที่ไม่เหมาะกับอาชีพนี้

1. คนที่ติดสัตว์เลี้ยงหรือต้องนอนกอดสัตว์เลี้ยง

2. คนที่ชอบนอนเช้าตื่นบ่ายหรือนอนไม่เป็นเวลา

3. คนที่นอนหลับยาก

     ในแง่การทำธุรกิจ วิธีนี้คือการใช้ผู้บริโภคสื่อสารกับผู้บริโภคอย่างแท้จริงๆ ที่จะส่งผลในแง่ความน่าเชื่อถือ รวมทั้งเป็นการเก็บข้อมูลที่ได้จากเหล่านักนอนทั้งหมดรวบรวม และวิเคราะห์ออกมาว่าสินค้ามีข้อบกพร่องตรงไหน เพื่อจะได้นำจุดบกพร่องเหล่านั้นมาปรับปรุงให้ดีขึ้น และเพื่อสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้มากยิ่งขึ้น เพราะว่าจะทำให้สินค้าหรือบริการมีความน่าเชื่อถือ

     และนี่ก็เป็นสิ่งที่บ่งบอกว่าทำไมต้องมีอาชีพนี้ขึ้นมา

    “คุณอาจจะรู้สึกอิจฉางานนักนอน แต่จริงๆ แล้วมันไม่ใช่งานที่ง่ายและสบายขนาดนั้น”

ที่มา : Sleepermattresscity

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

Nyana Nyana Eco Fashion อดีตสถาปนิกนักสู้มะเร็ง สู่เจ้าของแบรนด์แฟชั่นออร์แกนิก เป็นมิตรต่อผู้สวมใส่ และสิ่งแวดล้อม

Nyana Nyana Eco Fashion แบรนด์แฟชั่นของอดีตสถาปนิกหญิงสิงคโปร์ที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา แม้พบว่าป่วยเป็นมะเร็ง แต่ “Clara Simanjuntak” กลับใช้เป็นแรงบันดาลใจ เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิต ทำสิ่งดีๆ รวมถึงการสร้างแบรนด์เสื้อผ้าจากผ้าออร์แกนิก

บ้านโอบอุ่น ธุรกิจเล็กๆ ของนักศึกษาพยาบาล ที่ทำให้คนแปลกหน้ากลายเป็นเพื่อนกัน

พาไปรู้จักบ้านโอบอุ่น ธุรกิจโฮมสเตย์เล็กๆ ที่ปลูกขึ้นกลางทุ่ง ของ อั้ม-พัชราภา อ่ำปั้นนักศึกษาพยาบาล ที่นั่งรถไฟจากพิษณุโลกไปเชียงดาวทุกสัปดาห์เพื่อมาทำโฮมสเตย์เล็กๆ ที่เปลี่ยนคนแปลกหน้าให้กลายเป็นเพื่อนกัน