ฐานพงศ์ จุ้ยประเสริฐ จากพ่อค้าตลาดนัด สู่เจ้าของไอศกรีมผลไม้ไทยเบอร์ 1 ในเกาหลีทำรายได้ร้อยล้าน

 

 

      ใครจะรู้ว่าจากพ่อค้าขายไอศกรีมโมจิที่ตลาดนัดจตุจักร จนมีแฟรนไชส์ 300 กว่าสาขา วันนี้เขาคือเจ้าของไอศกรีมผลไม้ไทยที่ไม่ได้ขายแต่ตลาดนัดหากแต่ยังส่งออกตลาดกต่างประเทศที่สามารถครองตลาดเกาหลี 99 % ผู้ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จนี้คือ ฐานพงศ์ จุ้ยประเสริฐ กรรมการผู้จัดการบริษัท แม็คซ์ฟู๊ด กรุ๊ปกัน  ไปดูกันว่าเขาทำธุรกิจแบบไหนถึงได้เติบโตเป็นร้อยล้าน

จุดเริ่มต้นของความสำเร็จ

       ฐานพงศ์ เริ่มทำธุรกิจปี 2554 อาศัยเวลาช่วงหลังจากเลิกงานประจำไปขายไอศกรีมโมจิที่ตลาดนัดรถไฟจตุจักร โดยมีภรรยาเป็นคนทำส่วนตัวเขาเป็นคนยืนขาย

      “เมื่อก่อนมีเทรนด์ว่าถ้าวัยรุ่นได้ไปขายของที่ตลาดนัดรถไฟจะเจ๋งมาก พอผมเริ่มขายดี ผมก็เริ่มขายส่ง เริ่มมีแฟรนไชส์ แล้วก็มีโรงงานเล็กๆ ซึ่งในตอนนั้นก็ประสบความสำเร็จจนได้ออกทีวีเกือบทุกช่อง มีสื่อต่างชาติมาสัมภาษณ์ และมีแฟรนไชส์ในประเทศกว่า 300 สาขา จนวันหนึ่งผมอยากทำโปรดักต์หนึ่งขึ้นมาให้มันดังแบบตุ้มเลย และบวกกับวันหนึ่งผมเห็นว่ามีการนำสับปะรดมาเททิ้ง ผมมาคิดว่าเราจะทำไงที่จะนำผลไม้เหล่านั้นมาแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าได้”

       เมื่อถามถึงเหตุผลว่าทำไมต้องใช้ผลไม้ไทยมาพัฒนาเป็นโปรดักต์ ฐานพงศ์ ให้เหตุผลว่า ผลไม้ไทยมีศักยภาพ ทั้งด้านรสชาติ แหล่งวัตถุดิบที่สมบูรณ์ บริษัทจึงมีนโยบายใช้ผลิตภัณฑ์จากประเทศไทย อย่างน้อยก็เป็นส่วนเล็กๆ ในการช่วยเหลือเกษตรกรไทย และผลักดันเศรษฐกิจภาคการเกษตรของไทย ด้วยการคิดค้นพัฒนาการวิจัยผลิตภัณฑ์ประเภทไอศกรีมแปรรูป ไอศกรีมแปรรูปผลไม้

       “ตอนนี้ แม็คซ์ฟู๊ด รับซื้อสับปะรดจากเกษตรกรประมาณเดือนละ 1 ล้านลูก ช่วงพีคๆ ในเดือนนี้ที่มีการเปิดประเทศรับซื้อสับปะรด 1.8 ล้านลูก มันก็เลยเป็นที่มาของไอศกรีมสับปะรด แม็คซ์ฟู๊ด”

เพราะไม่อยากธรรมดา เลยต้องเจอกับอุปสรรค

      แม็คซ์ฟู๊ด กรุ๊ป ก่อตั้งเมื่อปี 2563 ทำธุรกิจในรูปแบบ B2B ขายผ่านตัวแทนจำหน่ายในประเทศ เน้นการส่งออกเป็นหลัก ฉะนั้นจึงต้องทำให้สินค้ามีความโดดเด่นตั้งแต่แพ็กเกจจิ้ง

      “บรรจุภัณฑ์ที่ใส่ไอศกรีม จะให้ใส่ถ้วย ใส่โคนก็ธรรมดา เราเลยนำเปลือกของผลไม้มาทำเป็นถ้วยไปเลย เท่ากับเราใช้ประโยชน์ของผลได้ 100 % แต่ก็เจออุปสรรคค่อนข้างเยอะ ในเรื่องของกระบวนการทำค่อนข้างยาก ต้องควบคุมเชื้อ ถ้าไม่มีอุปกรณ์ที่เราสามารถควบคุมเชื้อได้ เชื้อก็จะฟุ้งเกินมาตรฐานที่กำหนด ซึ่งในช่วงแรกๆ ที่ส่งไปขายต่างประเทศปรากฏว่าของโดนตีกลับ ช่วงนั้นเจ็บและท้อมากๆ เพราะว่าเราลงทุนไปแล้ว แต่อุปกรณ์มันไม่ใช่ ทำให้เสียหายไปเยอะเหมือนกัน ทำให้เราต้องเรียนรู้เพิ่มเติมว่าจะส่งออกควรใช้ขั้นตอนวิธีทำอย่างไร ต้องใช้อุปกรณ์แบบไหนถึงจะส่งออกได้”

ทำไมถึงมุ่งเน้นการส่งออก

       ในการทำธุรกิจหากต้องการเติบโตก็ต้องขยายตลาดขยายกลุ่มลูกค้า ด้วยแนวคิดเช่นนี้บริษัท แม็คซ์ฟู๊ด จึงเน้นตลาดส่งออก ซึ่งประเทศที่ส่งออกหลักๆ ก็คือ ประเทศเกาหลี เพราะว่าคนเกาหลีนิยมทานปิ้งย่าง

       “หลักๆ เลยก็คือ คนเกาหลีชอบเที่ยวดื่มตามผับ ตามบาร์ และเผอิญว่าสับปะรดเป็นเบสของค็อกเทลที่ดีเลย ไม่ว่าจะนำไปผสมโชจู ใส่เบียร์ดื่มตามในผับ บาร์ เราก็คิดว่าไอศกรีมสับปะรดก็น่าจะไปทานในอาหารมื้อเย็นได้ เราได้ลองทำตลาดดูปรากฏว่าเป็นจริงอย่างที่คิด ก็เลยมีการเกิดการสั่งซื้อเกิดขึ้น  เลยทำให้ปัจจุบัน แม็คซ์ฟู๊ด ครองตลาดเกาหลี 99% และยอดขายในปี 2564 เราตั้งเป้าไว้ที่ 100 ล้านบาท แต่ยอดขายเกินเป้าไปเป็น 120 ล้านบาท ส่วนปีนี้ต้องการ 100% ของปีที่แล้ว ก็จะประมาณ 250 ล้านบาท

Tips ทำไอศกรีมให้ครองตลาดเกาหลีได้

1. คุณภาพสินค้า รสชาติที่ถูกปาก

2. ส่งคนลงพื้นที่เพื่อหาช่องทางการตลาด

3. หานายทุนที่จะร่วมธุรกิจกัน

4. ศึกษาพฤติกรรมของต่างๆ ลูกค้า

5. นำข้อมูลที่ได้มาให้ทีม R&D วิเคราะห์

อะไรที่ทำธุรกิจโตแบบก้าวกระโดด

      “ผมว่ามันเป็นแผนและเป้าหมาย เพราะว่าเราจะทำอะไรสักอย่าง เราต้องตั้งใจที่จะทำมัน เราห้ามหยุดเดิน เมื่อไหร่ที่เราหยุดเดินเราจะจมลงไปโคลนทันที กว่าจะขึ้นจากโคลนได้ คนอื่นก็ไปแซงหน้าเราแล้ว ซึ่งถ้าเราเดินพร้อมกันเราก็ยังสูสีกับคู่แข่ง”

เป้าหมายในอนาคต

      เรากำลังเตียมบุกตลาดใหญ่เพิ่มอีก 3 กลุ่ม ทั้งออสเตรเลีย ตะวันออกกลางและแอฟริกา ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่มีกำลังการซื้อสูงและนิยมบริโภคผลิตภัณฑ์ไอศกรีม

     “ตอนที่ผมขายโมจิอยู่ที่ตลาดนัดผมต้องเอาชนะคนทั้งตลาด เพื่อให้มาซื้อของผมให้ได้ พอตอนขายโมจิผมต้องเอาชนะคนทั้งประเทศไทย เพื่อให้คนมาซื้อแฟรนไชส์ให้ได้ ตอนนี้ผมกำลังเอาชนะคนทั้งโลกอยู่ครับ” ฐานพงศ์ กล่าวทิ้งท้าย

 

TEXT : Momo

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

Nyana Nyana Eco Fashion อดีตสถาปนิกนักสู้มะเร็ง สู่เจ้าของแบรนด์แฟชั่นออร์แกนิก เป็นมิตรต่อผู้สวมใส่ และสิ่งแวดล้อม

Nyana Nyana Eco Fashion แบรนด์แฟชั่นของอดีตสถาปนิกหญิงสิงคโปร์ที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา แม้พบว่าป่วยเป็นมะเร็ง แต่ “Clara Simanjuntak” กลับใช้เป็นแรงบันดาลใจ เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิต ทำสิ่งดีๆ รวมถึงการสร้างแบรนด์เสื้อผ้าจากผ้าออร์แกนิก

บ้านโอบอุ่น ธุรกิจเล็กๆ ของนักศึกษาพยาบาล ที่ทำให้คนแปลกหน้ากลายเป็นเพื่อนกัน

พาไปรู้จักบ้านโอบอุ่น ธุรกิจโฮมสเตย์เล็กๆ ที่ปลูกขึ้นกลางทุ่ง ของ อั้ม-พัชราภา อ่ำปั้นนักศึกษาพยาบาล ที่นั่งรถไฟจากพิษณุโลกไปเชียงดาวทุกสัปดาห์เพื่อมาทำโฮมสเตย์เล็กๆ ที่เปลี่ยนคนแปลกหน้าให้กลายเป็นเพื่อนกัน