รู้ให้ทัน 8 ความท้าทาย ชี้ชะตาการอยู่รอดของธุรกิจยุคใหม่

 

 

      บนเส้นทางสนามการค้า ใครก็อยากชีวิตรอดและขยายอาณาจักรให้อยู่ได้อย่างมั่นคงในอนาคต แต่เมื่อเส้นทางการทำธุรกิจให้สำเร็จไม่ได้ง่ายเหมือนปอกกล้วยเข้าปาก แค่ความตั้งใจและการวางแผนงานที่ดี อาจยังไม่เพียงพอที่จะสร้างแบรนด์ให้เติบโตอย่างยั่งยืน เท่ากับการเรียนรู้ที่จะปรับตัวให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลก ตลอดเวลาจึงเป็นสิ่งจำเป็น

      กว่า 2 ปีที่ผ่านมา ตัวแปรสำคัญจากการระบาดของโควิด – 19 และความก้าวไกลของเทคโนโลยีเป็นชนวนที่ทำให้โลกเกิดความท้าทาย โดยเฉพาะในภาคธุรกิจที่ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า เรื่องเหล่านี้เป็นปัญหาที่ทุกคนต้องเผชิญไม่ว่าจะเป็น

8 ความท้าทายที่ผู้ประกอบการต้องเผชิญในการทำธุรกิจยุคใหม่

  • การคิดใหม่ และสร้างความแตกต่าง เพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางของผู้บริโภคหรือกลุ่มผู้ใช้งานที่มักมองหา สิ่งใหม่ที่แตกต่างและตอบสนองความต้องการของตนเองได้ ดังนั้น ในโลกธุรกิจยุคใหม่ผู้ประกอบการยิ่งจำเป็นจะต้องหาผลประโยชน์พิเศษที่ที่สร้างความแตกต่างอย่างโดดเด่นเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าเสมือนเพื่อนที่พึ่งพากันได้แม้ในยามวิกฤต
  • การสร้างโซลูชันที่สอดรับกับ Pain Point ของผู้บริโภคในยุคที่ต้องเผชิญกับวิกฤต ผู้ประกอบการที่รู้เร็ว ขยับ และปรับตัวทัน จะสามารถคว้าโอกาสในการสร้างทางเลือกที่ดีกว่า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าหรือบริการเพื่อแก้ปัญหาให้กับผู้คนและสังคมได้
  • การมองกำไรเป็นเป้าหมายสูงสุด ทำให้ขาดเวลาในการพัฒนาหรือยกระดับผลิตภัณฑ์ให้เข้าถึงผู้ใช้ โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับแบรนด์ที่สร้างผลิตภัณฑ์ที่ดี และมีเป้าหมายในการสร้างคุณค่าที่แตกต่างให้กับวิถีชีวิตที่ชัดเจน
  • การเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร โดยเฉพาะเรื่องวิธีคิด ระบบการทำงาน แนวทางการแก้ปัญหา รวมทั้งในเรื่องของทรัพยากรมนุษย์ที่ยังยึดติดกับกรอบการทำงานแบบเดิม จนไม่สามารถก้าวทันโลกหรือคู่แข่งที่เปลี่ยนแปลงไปได้
  • การเปลี่ยนความเชื่อเรื่อง “แบรนด์ไทย” ที่ยังถูกมองว่าไทยเป็นเพียงฐานการผลิต หรือการทำธุรกิจเพื่อองค์ประกอบของสินค้าหรือบริการ ทั้งที่ความจริงแล้ว ไทยมีศักยภาพเพียงพอที่จะเป็นเจ้าของนวัตกรรม หรือแบรนด์ที่มีศักยภาพแข่งขันในระดับสากล
  • การเข้าใจความหมายของ “นวัตกรรม” ซึ่งหลายคนมักนึกถึงความทันสมัย หรือเทคโนโลยีขั้นสูง จึงเกิดความไม่มั่นใจที่จะสร้างสรรค์นวัตกรรมหรือความแปลกใหม่ให้กับธุรกิจ แต่แท้จริงแล้วเป็นเรื่องการเปลี่ยนกระบวนการทำ การคิดแบบใหม่ หรือการขับเคลื่อนงานด้วยความคิดสร้างสรรค์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาด
  • การเข้าแข่งขันผิดตลาด จึงต้องมีการวิเคราะห์ตลาดและความสามารถของตนเองให้อยู่ในขอบเขตความเชี่ยวชาญ หรือเรื่องที่สามารถแข่งขันได้ เพื่อเพิ่มโอกาสในการประสบความสำเร็จ
  • การวิเคราะห์ความเสี่ยง เพื่อเตรียมแผนสำรอง แนวทางการป้องกัน และการแก้ไขหากเกิดการปัญหา หรือเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลัน

 

ที่มา: สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

Nyana Nyana Eco Fashion อดีตสถาปนิกนักสู้มะเร็ง สู่เจ้าของแบรนด์แฟชั่นออร์แกนิก เป็นมิตรต่อผู้สวมใส่ และสิ่งแวดล้อม

Nyana Nyana Eco Fashion แบรนด์แฟชั่นของอดีตสถาปนิกหญิงสิงคโปร์ที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา แม้พบว่าป่วยเป็นมะเร็ง แต่ “Clara Simanjuntak” กลับใช้เป็นแรงบันดาลใจ เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิต ทำสิ่งดีๆ รวมถึงการสร้างแบรนด์เสื้อผ้าจากผ้าออร์แกนิก

บ้านโอบอุ่น ธุรกิจเล็กๆ ของนักศึกษาพยาบาล ที่ทำให้คนแปลกหน้ากลายเป็นเพื่อนกัน

พาไปรู้จักบ้านโอบอุ่น ธุรกิจโฮมสเตย์เล็กๆ ที่ปลูกขึ้นกลางทุ่ง ของ อั้ม-พัชราภา อ่ำปั้นนักศึกษาพยาบาล ที่นั่งรถไฟจากพิษณุโลกไปเชียงดาวทุกสัปดาห์เพื่อมาทำโฮมสเตย์เล็กๆ ที่เปลี่ยนคนแปลกหน้าให้กลายเป็นเพื่อนกัน