EV Charger Station สำหรับธุรกิจโรงแรม แค่ต้องรู้ หรือควรจะรู้

TEXT : ณัฏฐพัชร กมลพลพัตร

 

     ปัจจุบันนี้กระแสความนิยมใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้ากำลังเพิ่มสูงขึ้นทำให้ในหลายๆ ธุรกิจโดยเฉพาะภาคอสังหาริมทรัพย์เริ่มที่จะหันมาจับ Touch Point ในการเพิ่มจุดให้บริการชาร์จแบตเตอร์รี่สำหรับรถยนต์พลังงานไฟฟ้า (EV Charger Station) ในพื้นที่ของตัวเองกันมากขึ้น เราจึงได้เห็นลานจอดรถในคอนโดมิเนียม โรงพยาบาล ห้างสรรถสินค้า ฯลฯ เริ่มมีช่องจอดสำหรับชาร์จแบตเตอรี่กันไปบ้างแล้ว ซึ่งแน่นอนว่าในอุตสาหกรรมโรงแรม ณ ปัจจุบันหลายๆ โรงแรมเริ่มมีช่องจอดสำหรับชาร์จแบตเตอรี่สำหรับรถ EV ให้บริการแขกผู้เข้าพัก

EV Charger Station จำเป็นแค่ไหน

     แน่นอนว่า EV Charger Station ในการติดตั้งนั้นย่อมมีต้นทุนการดำเนินการที่ตามมาแต่ด้วยความที่เป็นธุรกิจบริการ การเตรียมความพร้อมเพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับแขกตั้งแต่ Journey แรกของการเดินทางมาถึงโรงแรมด้วยช่องจอดรถยนต์ที่เป็น EV Charger Station ถือเป็นอีกแต้มต่อหนึ่งของการเพิ่มความได้เปรียบด้านการแข่งขันให้กับโรงแรมซึ่ง Trend การใช้รถยนต์ไฟฟ้า EV นี้จะเป็น Trend ที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในอนาคตเพราะจากสถิติการจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย 3 ปีย้อนหลังพบว่าปี 2562 มีจำนวนรถยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนรวม 25,804 คัน ปี 2563 มีจำนวน 28,520 คัน เพิ่มขึ้น +10.52% และ ปี 2564 จำนวน 40,710 คัน เพิ่มขึ้น +42.74% (ข้อมูลจาก กฟผ. กฟภ. และคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน) ทำให้คาดการได้ไม่ยากว่าในอนาคตจำนวนรถยนต์ EV มีโอกาสเพิ่มขึ้นอีก ประกอบกับมาตรการส่งเสริมด้านภาษีรถยนต์ EV จากรัฐบาล ที่มีการให้ ส่วนลดให้ประชาชนที่สนใจซื้อรถ EV ทั้งรถยนต์และจักรยานยนต์ในอัตรา 18,000 - 150,000 บาท/คัน จูงใจให้คนหันมาใช้รถ EV มากขึ้น (https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG220401133608119)

     ในมุมของธุรกิจโรงแรม เป็นอีกครั้งที่เราอาจจะต้องปรับตัวรับกับ Trend นี้ แม้ว่ามันอาจจะไม่ได้มาแบบรวดเร็วและเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้รถยนต์จากเครื่องสันดาปไปเป็น EV แบบทันทีทันใด แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าแนวโน้มนี้น่าจะเป็นแบบค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป เพราะปัจจุบันนี้ Supply ด้านการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเริ่มมีผู้เล่นในตลาดมากขึ้นทั้งรายเก่า รายใหม่ ด้วยเล็งเห็นโอกาสประกอบกับการส่งเสริมของรัฐบาลและแน่นอนว่าเมื่อมี Supply รองรับ Demand ที่เกิดขึ้นก็เติบโตล้อกันไปได้ไม่ยาก

     การสร้างสถานีชาร์จแบตเตอรี่ในโรงแรมแม้จะเป็นการสร้าง Value Add ให้กับบริการของโรงแรมไปอีกขั้นแน่นอนว่ามันอาจจะไม่ได้เป็นส่วนสำคัญทีเดียวในการตัดสินใจเข้าพักหรือไม่เข้าพักในโรงแรมของแขกแต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการมีบริการชาร์จแบตเตอรี่สำหรับรถ EV ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้แขกที่ใช้รถยนต์ EV รู้สึกได้ถึงความแตกต่างและความใส่ใจในการให้บริการพวกเขาของโรงแรม การมี EV Charger Station ยังเป็นการเสริมภาพลักษณ์ในความเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนสอดรับ Trend ในปัจจุบันและอนาคตได้อย่างทันท่วงที มีความเป็นผู้นำในการให้บริการใหม่ๆ ได้อีกด้วย

ธุรกิจโรงแรมต้องรู้อะไรเกี่ยวกับการสร้าง EV Charger Station

     ในการจะสร้าง EV Charger Station ผู้ประกอบการต้องศึกษากฎระเบียบข้อบังคับหลักๆ คือ “วัตถุประสงค์ของการให้บริการ” ซึ่งจะแบ่งออกเป็นสองกรณีคือ “เพื่อจำหน่ายไฟฟ้าให้กับบุคคลอื่น” หรือ “เพื่อใช้ไฟฟ้าภายในกิจการเองหรือส่วนบุคคล” ส่วนใหญ่แล้วเพื่อลดขั้นตอนการดำเนินการด้านข้อกฎหมายและการขอใบอนุญาต ฯลฯ โรงแรมที่ติดตั้ง EV Charger Station จะจัดการให้บริการของตนเองอยู่ในกรณีที่สองคือ “เพื่อใช้ไฟฟ้าภายในกิจการเองหรือส่วนบุคคล” เนื่องจากไม่เข้าข่ายการประกอบกิจการพลังงานทำให้ไม่ต้องขอใบอนุญาตประกอบกิจการจำหน่ายไฟฟ้าเหมือนกรณีแรกเพียงแค่ให้ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างอื่นเท่านั้น

     แต่หากในกรณีที่บางโรงแรมมีลานจอดรถขนาดใหญ่เกินความต้องการใช้งานและต้องการใช้พื้นที่ลานจอดรถของโรงแรมปรับมาเป็น EV Charger Station หารายได้จากค่าบริการชาร์จแบตเตอรี่ ก็ถือเป็นอีกโอกาสทางธุรกิจได้เช่นกันเพราะในปัจจุบันธุรกิจโรงแรมต้องปรับวิธีคิดใหม่ให้ทุกส่วนของโรงแรมสามารถหารายได้หล่อเลี้ยงตัวเองได้มากขึ้นจากการคาดหวังเพียง Room Revenue, F&B Revenue, เป็นหลักเพียงอย่างเดียว แต่การลงทุนนั้นก็ใช้เม็ดเงินจำนวนมหาศาลด้วยเช่นกัน อัตราค่าบริการในการชาร์จแบตเตอร์รี่อ้างอิงจาก ตามประกาศของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ) แบ่งเป็นช่วง Peak ที่มีการใช้งานหนาแน่นที่อัตรา 7.9778 บาท/หน่วย และช่วง Off Peak ที่มีการใช้งานไม่หนาแน่นที่ 4.5952 บาท/หน่วย ทั้งการชาร์จแบบ กระแสไฟฟ้าสลับ AC Charger – Wall Charger และกระแสไฟฟ้าตรง DC Charger (https://www.pea.co.th/Portals/0/Document/SNB/EV_Rate%2005_22.pdf) ตรงนี้ถือเป็นอีกส่วนที่ผู้ประกอบการต้องคำนวณให้ถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจดำเนินการว่าจะ “ได้คุ้มเสียหรือไม่?”

     นอกจากนี้ข้อมูลจาก การไฟฟ้าฝ่ายผลิต การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ระบุไว้ว่า หากต้องการสร้างสถานีชาร์จที่ติดตั้งเครื่อง EV Charger AC/DC 1 เครื่องพร้อมที่จอดรถ จะมีมูลค่าการลงทุนที่ 2.1 ล้านบาท มีต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปรที่ 0.5 ล้านบาท/ปี ด้วยโมเดลนี้จะมีรายได้ค่าชาร์จ EV ปีละ 1.4 ล้านบาท ระยะเวลาคืนทุนอยู่ที่ 2.3 ปี เงินที่ลงทุนไป 2.1 ล้านบาทกับระยะเวลาคืนทุนกว่าจะ Break Even Point ต้องใช้เวลาถึง 2.3 ปี

     เงินจำนวนนี้ในสถานการณ์แบบนี้ถือว่ามากอยู่พอสมควรยิ่งถ้าเป็นเงินกู้ระยะเวลาคืนทุนก็อาจจะเกินกว่า 2.3 ปีเข้าไปอีก ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ยากสำหรับโรงแรมขนาดเล็กหรือแม้แต่โรงแรมขนาดใหญ่เองก็ตาม ยังไม่นับรวมขั้นตอนของการต้องขออนุญาตในการเป็นผู้ประกอบกิจการสถานีชาร์จประจุรถยนต์ไฟฟ้า EV Charger Station ที่หากมีปริมาณการให้บริการ <1,000 kVA หรือ >1,000 kVA อาจเข้าข่ายจะต้องขอใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.ประกอบกิจการพลังงาน ปี 2550 เข้าไปอีก ถือเป็นเรื่องที่มีขั้นตอนมากพอสมควร (https://www.ananindustry.com/ev-car-charger-article-install04.html)

     ที่จริงแล้วหากต้องการติดตั้ง EV Charger Station ในช่วงเริ่มแรกอาจใช้กลยุทธ์การสร้าง Brand Collaboration ร่วมกันได้เช่นกันอย่างกรณีของ Marriott International ร่วมกับ PTTOR สร้างสถานีชาร์จไฟฟ้า EV Station PluZ ในโรงแรมและรีสอร์ทของ Marriott กว่า 30 แห่งทั่วประเทศไทย (https://thaipublica.org/2022/06/or-marriott-ev-station-pluz/) ซึ่งอนาคตคาดว่าน่าจะมีอีกหลาย Brand ขนาดใหญ่ที่หันมาติดตั้งสถานีชาร์จ EV Station ในโรงแรมของตนเองมากขึ้นตาม Trend และกระแสความนิยมของผู้บริโภคที่กำลังเปลี่ยนไป

     สิ่งที่น่าเป็นห่วงจะเป็นโรงแรมขนาดเล็กที่ไม่มีงบประมาณในการลงทุนติดตั้งเครื่องชาร์จทั้ง AC EV Charger หรือ DC EV Charger มากเท่าโรงแรมขนาดใหญ่แต่เชื่อว่าในปัจจุบันนี้มีบริษัทผู้ให้บริการรับติดตั้ง EV Charger ตามสถานที่ต่างๆ เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เช่นกัน แนวทางในการปรับตัวของโรงแรมขนาดเล็กอาจเป็นไปในรูปแบบของการ “ร่วมทุน” ทางธุรกิจในลักษณะ Profit Sharing โดยใช้พื้นที่ของตนเองให้ผู้ให้บริการ EV Charger Station เข้ามาติดตั้งอุปกรณ์ชาร์จแล้วแบ่งผลกำไรกันซึ่งก็อาจเป็นอีกแนวทางที่ตอกย้ำว่า “ไปให้ไกลให้ไปด้วยกัน” ให้ชัดเจนยิ่งขึ้นเพราะบางครั้งโลกก็เปลี่ยนเร็วกว่าที่เราคาดคิด

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

Nyana Nyana Eco Fashion อดีตสถาปนิกนักสู้มะเร็ง สู่เจ้าของแบรนด์แฟชั่นออร์แกนิก เป็นมิตรต่อผู้สวมใส่ และสิ่งแวดล้อม

Nyana Nyana Eco Fashion แบรนด์แฟชั่นของอดีตสถาปนิกหญิงสิงคโปร์ที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา แม้พบว่าป่วยเป็นมะเร็ง แต่ “Clara Simanjuntak” กลับใช้เป็นแรงบันดาลใจ เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิต ทำสิ่งดีๆ รวมถึงการสร้างแบรนด์เสื้อผ้าจากผ้าออร์แกนิก

บ้านโอบอุ่น ธุรกิจเล็กๆ ของนักศึกษาพยาบาล ที่ทำให้คนแปลกหน้ากลายเป็นเพื่อนกัน

พาไปรู้จักบ้านโอบอุ่น ธุรกิจโฮมสเตย์เล็กๆ ที่ปลูกขึ้นกลางทุ่ง ของ อั้ม-พัชราภา อ่ำปั้นนักศึกษาพยาบาล ที่นั่งรถไฟจากพิษณุโลกไปเชียงดาวทุกสัปดาห์เพื่อมาทำโฮมสเตย์เล็กๆ ที่เปลี่ยนคนแปลกหน้าให้กลายเป็นเพื่อนกัน