ต่อยอดธุรกิจยังไงให้มีรายได้พันล้าน เจาะไอเดีย สันติ วจนพานิช จาก AutoPair

 

 

      ความสำเร็จไม่มีรูปแบบ แม้แต่ธุรกิจในครอบครัว เมื่อเวลาผ่านไปใช่ว่าความสำเร็จที่คนรุ่นเก่าทำไว้จะตกทอดมาถึงคนรุ่นหลังโดยปราศจากการต่อยอดพลิกแพลงธุรกิจ ฉะนั้นการต่อยอดธุรกิจจึงไม่ใช่เรื่องง่ายแต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากเกินไป หนึ่งในไอเดียต่อยอดธุรกิจที่น่าศึกษาคือ สันติ วจนพานิช ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ออโต้แพร์ ที่ขับเคลื่อนร้านค้าส่ง-ค้าปลีกอะไหล่รถยนต์ที่มีอายุกว่า 60 ปีในย่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ให้เป็น“ออโต้แพร์” (AutoPair) ร้านซื้อ-ขายอะไหล่รถยนต์ในรูปแบบ On Cloud ในปี 2561 ที่สามารถสร้างมูลค่าบริษัทของออโต้แพร์จะเติบโตถึง 500 ล้านบาทภายในเวลา 3 ปี และตั้งเป้าจะสร้างรายได้ถึง 2,000 ล้านบาท ในปี 2568

      ความสำเร็จนี้มีที่มาอย่างไรไปศึกษาพร้อมๆ กัน

ทำเรื่องง่ายๆ แต่จริงจัง

      รูปแบบธุรกิจไม่มีวันหยุดนิ่ง สันติเองก็เข้าใจในจุดนี้และเริ่มมองเห็น pain point ว่าหากไม่ปรับปรุงธุรกิจร้านค้าส่ง-ค้าปลีกอะไหล่รถยนต์ที่มีอายุกว่า 60 ปีในย่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิคงยากที่จะประสบความสำเร็จ เขาจึงต่อยอดธุรกิจขึ้นใหม่ที่มีชื่อว่า “ออโต้แพร์” (AutoPair) ร้านซื้อ-ขายอะไหล่รถยนต์ในรูปแบบ On Cloud ในปี 2561

      ทว่าปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้ธุรกิจนี้จะประสบความสำเร็จได้สันติบอกว่า ต้องมีจำนวนร้านอะไหล่และอู่รถยนต์เข้ามาอยู่ในระบบให้มากที่สุด วิธีการของเขาคือ ไปช่วยแก้ปัญหาให้กับร้านอะไหล่ไม่ต้องสต็อกสินค้า ในทางกลับกัน ต้องการใช้งานเมื่อใดก็สั่ง “อะไหล่ด่วน” ที่จัดส่งมาภายใน 1 ชั่วโมง ปรากฏว่าระยะเวลาเพียง 6 เดือน เขาก็ได้ลูกค้ารายใหญ่คือเครือข่ายศูนย์บริการ FIT Auto ของ PTTOR

     แม้จะเหนื่อยแต่ความพยายามที่เขาทุ่มลงไป ทำให้ระบบ B2B Marketplace ที่เขาสร้างขึ้นสามารถตอบโจทย์อุตสาหกรรมนี้ได้อย่างลงตัว อู่ซ่อมรถยนต์ไม่จำเป็นต้องสต๊อกสินค้า ร้านอะไหล่เองก็ได้ประโยชน์ในแง่ของยอดขายที่เพิ่มขึ้น หากบริการเร็วและดี เครดิตสกอร์ของร้านก็จะสูงตามไปด้วย ส่งผลให้เห็นออร์เดอร์และกดรับงานได้ก่อนใคร นอกจากนี้หาก Basket Size ใหญ่เพียงพอ ร้านอะไหล่ที่อยู่ไกลออกไปก็สามารถกดรับออร์เดอร์ได้ด้วย หากคำนวณแล้วว่าคุ้มค่าต่อการจัดส่ง

      ผ่านไป 3 ปี มูลค่าบริษัทของออโต้แพร์เติบโตถึง 500 ล้านบาท แม้แต่สันติเองก็ยังไม่คาดคิดว่ามันจะเติบโตได้เร็วขนาดนี้ แต่สิ่งที่ขับเคลื่อนให้ธุรกิจโตเร็วขนาดนี้ เขาเผยว่า คือการทำเรื่องง่ายๆ อย่างจริงจัง และไม่ได้มองเรื่องเงินเป็นตัวตั้ง แต่มองเรื่องการสร้าง “คุณค่า” ให้กับลูกค้าเป็นหลัก

      “ความคิดที่ว่าจะระดมทุนได้เงินเท่านั้นเท่านี้ ผมว่ามันเป็นกับดักของสตาร์ทอัพ และมันจะกลายเป็น Money Game แทนที่จะมองว่าหน้าที่ของเราคือการสร้างคุณค่าใหม่ๆ ให้กับอุตสาหกรรมที่เราทำอยู่ ถ้าเราสามารถสร้างคุณค่าได้จริง เดี๋ยวเงินก็จะตามมาเอง”

ก้าวสู่ปีที่ 5 เดินหน้าสร้างรายได้สู่พันล้าน

      จากวาจาที่ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ออโต้แพร์ เคยลั่นไว้ในช่วงปี 2564 ว่า “ถ้าเราสามารถสร้างคุณค่าได้จริง เดี๋ยวเงินก็จะตามมาเอง” ก็เริ่มเป็นรูปธรรมมากขึ้น ล่าสุดได้ระดมทุน Series A อีกครั้ง มูลค่ากว่า 70 ล้านบาท จากบริษัทยักษ์ใหญ่สัญชาติญี่ปุ่น มิตซูบิชิ คอร์ปอเรชั่น เพื่อเพิ่มโอกาสในการขยายฐานลูกค้าใหม่และเสริมความแข็งแกร่งทางธุรกิจ เช่น UI/UX ของระบบ โดยในปี 2568 ออโต้แพร์ตั้งเป้าส่วนแบ่งตลาด 1% ของส่วนแบ่งการตลาดอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ทดแทนยานยนต์ทั้งหมด และสร้างรายได้ต่อปีสูงถึง 2,000 ล้านบาท

      ทั้งนี้มูลค่าตลาดรวมของตลาดชิ้นส่วนยานยนต์ทดแทนนั้นสูงถึง 306,145 ล้านบาทต่อปี โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยประมาณ 6.9 เปอร์เซ็นต่อปี เนื่องจากผู้ใช้รถเลือกที่จะยืดระยะเวลาการใช้รถเก่าออกไปแทนการ ซื้อรถใหม่เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย โดยในมูลค่ารวมของตลาดนั้นแบ่งออกเป็นค่าอะไหล่ต่างๆ ประมาณ  200,000 ล้านบาท และค่าบริการ 100,000 ล้านบาท

     “ปัจจุบันประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ เราได้เล็งเห็นถึงโอกาสทางธุรกิจ ด้วยการเข้าไปมีส่วนในการเติมเต็มให้วงการอะไหล่รถยนต์สามารถก้าวผ่านกำแพงของยุคดิจิทัลไปได้อย่างสมบูรณ์ โดยตั้งใจที่จะพัฒนาธุรกิจควบคู่ไปกับการมอบประสบการณ์ใหม่ให้ผู้ใช้งานได้รับความสะดวกสบาย รวดเร็ว และโปร่งใสในการซื้อขายอะไหล่รถมากขึ้น โดยปัจจุบันออโต้แพร์มีเครือข่ายของอู่ซ่อมรถยนต์และร้านค้าอะไหล่ที่ใช้งานระบบนี้อยู่มากกว่า 200 แห่งทั่วประเทศ และปัจจุบัน ออโต้แพร์ มีรายได้ต่อปีมากกว่า 100 ล้านบาท มีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 385% ต่อปี”

     “ในอนาคต AUTOPAIR จะพัฒนาระบบต่างๆ ให้รองรับการทำงานที่หลากหลายและครบถ้วนตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ และไม่มีนโยบายการสร้างร้านค้าอะไหล่ เนื่องจากเราตั้งใจที่จะสร้างระบบให้ทุก ๆ คนในวงการทำงานง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น โดยเราไม่ต้องการที่จะเป็นคู่แข่งกับใคร” สันติ กล่าวทิ้งท้าย

AUTOPAIR ให้บริการอะไรบ้าง

1.ระบบสั่งซื้ออะไหล่ด่วนสำหรับร้านอะไหล่และอู่ฟาสฟิต (AutoTrade)

       มีสินค้าในระบบมากกว่า 50,000 รายการ รองรับรถมากกว่า 20 ยี่ห้อ 400 รุ่นย่อย จัดส่งภายใน 60 นาที พร้อมบริการทุกวัน ครอบคลุมกว่า 29 จังหวัดทั่วประเทศ และมีอู่ฟาสฟิตมากกว่า 200 แห่งที่ใช้บริการ อาทิ Cockpit, Fit Auto, Auto1 และ Autobacs เป็นต้น ซึ่งได้จัดส่งอะไหล่ด่วนผ่านระบบแล้วมากกว่า 100,000 รายการ โดยมีระบบ AI ช่วยในการจัดหาอะไหล่ที่รวดเร็วและแม่นยำ  ด้วยอัตราการส่งสินค้าถูกต้องสูงถึง 99%

2.ระบบบริหารจัดการอู่พร้อมตลาดค้าส่งออนไลน์ (AutoHero)

      ระบบใช้บันทึกงานซ่อม เก็บข้อมูลลูกค้า พร้อมรองรับการทำงานทั้งบนคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต และ มือถือ ในราคาเริ่มต้นเพียงแค่ 799 บาทต่อเดือน

3.ระบบบริการคลังสินค้าอะไหล่และยางพร้อมจัดส่ง (AutoExpress)

      ให้บริการพื้นที่จัดเก็บสินค้า การแพ็กสินค้า และการจัดส่งสินค้า โดยระบบจัดการออเดอร์สามารถเชื่อมต่อกับระบบ API ระหว่างคลังสินค้าและตลาดค้าส่งออนไลน์

     ปัจจุบันมีคลังสินค้าบริการ 3 แห่งครอบคลุมกรุงเทพฯ และปริมณฑล พร้อมตั้งเป้าขยายคลังสินค้าให้ครบ 10 แห่งในหัวเมืองจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ ภายในปี 2567

 

ข้อมูลติดต่อ

www.autopair.co

โทร. 02 219 1600

Line Official: @helloautopair

facebook.com/autopair.co

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

ทำธุรกิจซัก-รีด ยังไงให้มีรายได้สาขาละแสน ล้วงความลับกับเจ้าของแบรนด์ ตั้งใจซัก

หนึ่งในธุรกิจที่ขึ้นชื่อว่าเป็น “เสือนอนกิน” นั้นต้องมีธุรกิจเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญติดในลิสต์เป็นอันดับต้นๆ ทำให้ธุรกิจนี้เติบโตเป็นพิเศษโดยเฉพาะในช่วงโควิดที่ผ่านมา มีผู้ประกอบการที่สนใจเปิดธุรกิจนี้มากมาย แต่ถึงแม้จะเป็นธุรกิจเสือนอนกิน ใช่ว่าทุกคนจะเป็นเสือที่ได้กินธุรกิจนี้ง่ายๆ

Erabica Coffee ผู้ปักหมุด กาแฟน่าน ให้เป็นที่รู้จักระดับประเทศ

นี่คือสองสามีภรรยา ที่อยากมาใช้ชีวิตบั้นปลายที่น่าน คิดสร้างแบรนด์กาแฟของตัวเองขึ้นมาในชื่อ Erabica (เอราบิก้า) กลายเป็นการยกระดับกาแฟน่านเป็นที่รู้จักเพิ่มมากขึ้น

HEH ร้านอาหารย่านภูเก็ต เชฟใช้เวลาในครัวให้เหมือนอยู่ในสนามแข่ง ไม่อยากเป็นแค่ Just Another Restaurant

“HEH (เห)” ร้านอาหารสไตล์  Australian Contemporary กลางเมืองภูเก็ต สร้างเมนูอาหารให้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เพราะไม่อยากเป็นเพียง แค่ร้านอาหารร้านหนึ่ง