6 สิ่งที่ SME จะได้รับการส่งเสริม จากการประชุม APEC 2022

TEXT : ภัทร เถื่อนศิริ

Main Idea

  • หัวข้อหนึ่งในการประชุม APEC 2022 ที่สำคัญคือการช่วย SME ให้พร้อมกับ The “Next Normal” ผลักดันและช่วยเหลือ SME คอยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ไม่พึ่งพาบริษัทไม่กี่บริษัทที่ทำให้เกิดความเสี่ยง

 

  • SME ต้องเตรียมความพร้อมและใช้โอกาสนี้ต่อยอดธุรกิจให้ได้

 

      เป็นช่วงเวลาสำคัญอีกครั้งหนึ่งของประเทศไทยครับ ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมากับการประชุมผู้นำ Asia-Pacific Economic Cooperation  หรือ   APEC (เอเปค)  ซึ่งก็คือ กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2532 เพื่อส่งเสริมการเปิดเสรีด้านการค้า-การลงทุน รวมถึงความร่วมมือในด้านสังคม และการพัฒนาด้านอื่นๆ

     โดยในปัจจุบัน เอเปค มีสมาชิก 21 เขตเศรษฐกิจ โดยไทยเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง นอกจากนี้  มีประชากรรวมกันคิดเป็น 38% ของประชากรโลก หรือประมาณ 2.9 พันล้านคนในปี 2563 ด้วยขนาดอันใหญ่โตทั้งด้านจีดีพี และจำนวนประชากร ย่อมหมายถึงตลาดที่มีขนาดใหญ่ และโอกาสที่เปิดกว้างสำหรับ ผู้ประกอบการรายเล็กและรายใหญ่  โดยคาดว่าเขตเศรษฐกิจ APEC จะมีมูลค่าการค้ารวมกันถึง 48% ของมูลค่าการค้าสินค้าและบริการของโลก ซึ่งมูลค่าการค้าของจีนแซงหน้าสหรัฐมาเป็นอันดับ 1 ที่ 12% และสหรัฐเป็นอันดับ 2 อยู่ที่ 11% เมื่อรวมอันดับ 3 คือญี่ปุ่นที่ 4% แล้ว เพียง 3 ประเทศที่กล่าวมาก็มีมูลค่าการค้าคิดเป็นอัตราส่วนถึง 1 ใน 4 ของมูลค่าการค้าโลก ดังนั้น เอเปค จึงมีความสำคัญและเป็นประโยชน์ร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิก ทั้งทางด้านตลาดการค้า และโอกาสทางการลงทุนสำหรับประเทศไทย

     ภายใต้แนวคิดหลัก “Open Connect Balance” เปิดกว้าง สร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกันสู่สมดุล (Open. Connect. Balance.) ซึ่งหมายถึงการเปิดกว้างสู่โอกาสด้านการค้า-การลงทุน ให้ทุกภาคส่วนในสังคม พร้อมทั้งส่งเสริมการรวมตัวทางเศรษฐกิจในภูมิภาค, การเชื่อมโยงในทุกมิติ เพื่อฟื้นฟูการเดินทางระหว่างกันที่สะดวก ปลอดภัย

     และประกาศเป้าหมายกรุงเทพ หรือ Bangkok Goals on BCG Economy สร้างการเติบโตที่ยั่งยืนผ่าน “Open Connect Balance” : เปิดต่อทุกโอกาส เชื่อมต่อทุกมิติและสมดุลในทุกด้าน

     โดยหัวข้อหนึ่งในการประชุมที่สำคัญคือการช่วย SME ให้พร้อมกับ The “Next Normal” ผลักดันและช่วยเหลือ SME ในมิติต่างๆ เพราะ SME มีจำนวนผู้ประกอบการมากที่สุด กว่า 3 ล้านราย คอยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศและยังสร้างการเติบโตที่ยั่งยืนให้แก่ประเทศอีกด้วย เพราะไม่พึ่งพาบริษัทไม่กี่บริษัทที่ทำให้เกิดความเสี่ยง แต่อาศัยผู้ประกอบการขนาดเล็กจำนวนมากช่วยกระจายความเสี่ยงผลักดันเป็นแผงให้เจริญเติบโตขึ้นไป ลดความเสี่ยงและสร้างความยั่งยืน

     และหัวข้อที่ SME ควรรู้จากการประชุม APEC 2022 คือ

     1. Soft Power: จากการประชุม APEC 2022 นี้ได้มีการแฝง Soft Power ของประเทศไปกับผู้นำแต่ละประเทศสื่อสารไปกับคนทั่วโลกคือ ด้านอาหารทั้งอาหารในงานและสตรีทฟู้ด วัฒนธรรม งานฝีมือ รวมไปถึงการเน้นคุณค่าของ Circular Economy

     SME อย่างเราต้องไม่พลาดหยิบฉวยโอกาสเหล่านี้เสริมสร้างคุณค่าของสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราว Soft power ที่ได้เผยแพร่ออกไป

     2. Ceremony สร้างความเชื่อมั่นให้กับชาวต่างชาติว่าประเทศไทยพร้อมแล้วกับการเปิดประเทศอีกครั้ง จากการดูแลผู้นำของแต่ละประเทศได้ แสดงให้เห็นถึงความพร้อมสำหรับการท่องเที่ยวได้อย่างดี เหมือนให้ผู้นำแต่ละประเทศมาตัดริบบิ้นเปิดงานท่องเที่ยวไทย ซึ่งการท่องเที่ยวไทยนั้นคิดเป็นจำนวน 3 ล้านล้านบาท หรือ 10% ของ GDP ประเทศไทย ซึ่งหากลงรายละเอียดลงไป 2/3 นั้นมาจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ โอกาสนี้จึงสำคัญที่ไทยจะได้ใช้ประโยชน์ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังวิกฤตของโควิด 19 ให้เกิดแนวทางที่เติบโตอย่างยั่งยืน โดยคาดหวังว่าการประชุมครั้งนี้ จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยเฉพาะภาคการเดินทางและการท่องเที่ยวให้กลับมาคึกคักอีกครั้ง

     SME อย่างเรานั้นต้องเตรียมความพร้อมและใช้โอกาสนี้ต่อยอดให้ธุรกิจให้ได้ เช่น หากนักท่องเที่ยวเริ่มกลับมาเราจะใช้ประโยชน์ตรงนี้ได้อย่างไร อย่างน้อยเราควรจะมีสินค้า/บริการของเราอยู่ในการค้นหาของนักท่องเที่ยว ดังนั้น เราควรจะต้องมี SEO คำค้นหาในสื่อต่างๆ ของเค้า การกล่าวถึงจาก Content Creator ประเทศนั้นๆ ด้วย

     3. Digital Transformation ภาครัฐพยายามส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านสู่โลกดิจิทัล ทำให้ผู้ประกอบการ

     SME พัฒนาได้เร็วยิ่งขึ้นและเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น ดังนั้น SME ต้องใช้โอกาสนี้ในการปรับเปลี่ยนตัวเอง เราไม่ได้สนใจเพียงแค่บูทออกงานฟรีอีกต่อไป แต่ต้องปรับเปลี่ยนกระบวนความคิดการทำงานให้เข้ากับยุคสมัยใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วด้วย

     4. Green Supply Chain, BCG Model เร่งรัดการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว เน้นสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ SME ให้นำเสนอคุณค่าความเป็นมิตรสิ่งแวดล้อม และ Circular Economy

     ในประเทศไทย ณ ปัจจุบัน จากการสำรวจของ Facebook (Meta) Insight 2021 จะเห็นได้ว่าผู้บริโภคในประเทศไทยยังคงให้ค่ากับปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมน้อยอยู่มาก ดังนั้น SME ต้องเรียนรู้ที่จะสร้างความแตกต่างควบคู่ไปกับปัจจัยพื้นฐานที่ผู้บริโภคตัดสินใจในการเลือกซื้อ

     5. Funding จัดหาเงินทุนและปรับโครงสร้างหนี้ ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายและรวดเร็ว ผ่านการใช้ศักยภาพของธุรกิจที่มี

     ดังนั้น SME จะได้รับประโยชน์จะต้องมีมาตรฐานระบบบัญชีและการหมุนเวียนทางการเงินสำหรับธุรกิจที่ดี จึงจะสามารถได้ประโยชน์จากการผลักดันของภาครัฐด้านนี้ หากใครยังไม่พร้อมให้เร่งปรับปรุงให้มีบัญชรเดียวและสะท้อนสภาพธุรกิจได้เร็วที่สุด

     6. Innovation สร้าง Ecosystem สนับสนุน Startup และส่งเสริมนวัตกรรม ให้มีส่วนรวมในห่วงโซ่มูลค่าโลก คือการสร้างโอกาสให้สตาร์ทอัพไทยได้ต่อยอดในการพัฒนาธุรกิจ ให้สามารถเติบโตสู่ตลาดโลกได้ โดยจะส่งเสริมการลดกำแพงภาษี รวมถึงการแบ่งปันประสบการณ์และแนวปฏิบัติในการสร้าง Ecosystem

     ดังนั้น SME ควรมุ่งเน้นการสร้างคุณค่าธุรกิจจากนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ ช่วยแก้ปัญหาธุรกิจเดิมๆ ของลูกค้าได้ โดยที่คิดแก้ปัญหามากกว่าแค่ในประเทศไทย แต่สามารถสร้างคุณค่าให้กับคนทั้งโลกได้ด้วย

     โดยสรุป SME ควรเห็นภาพใหญ่จากการประชุม APEC 2022 ในครั้งนี้ว่าควรเน้นการสร้างคุณค่าทั้งทางด้าน Innovation / BCG Model โดยที่เน้นความสมดุลและการเติบโตที่ยั่งยืนครับ

ที่มา : https://www.bangkokbanksme.com/en/11start-apec-the-role-of-thailand-and-the-benefits-that-smes-will-gain-from-hosting

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

Nyana Nyana Eco Fashion อดีตสถาปนิกนักสู้มะเร็ง สู่เจ้าของแบรนด์แฟชั่นออร์แกนิก เป็นมิตรต่อผู้สวมใส่ และสิ่งแวดล้อม

Nyana Nyana Eco Fashion แบรนด์แฟชั่นของอดีตสถาปนิกหญิงสิงคโปร์ที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา แม้พบว่าป่วยเป็นมะเร็ง แต่ “Clara Simanjuntak” กลับใช้เป็นแรงบันดาลใจ เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิต ทำสิ่งดีๆ รวมถึงการสร้างแบรนด์เสื้อผ้าจากผ้าออร์แกนิก

บ้านโอบอุ่น ธุรกิจเล็กๆ ของนักศึกษาพยาบาล ที่ทำให้คนแปลกหน้ากลายเป็นเพื่อนกัน

พาไปรู้จักบ้านโอบอุ่น ธุรกิจโฮมสเตย์เล็กๆ ที่ปลูกขึ้นกลางทุ่ง ของ อั้ม-พัชราภา อ่ำปั้นนักศึกษาพยาบาล ที่นั่งรถไฟจากพิษณุโลกไปเชียงดาวทุกสัปดาห์เพื่อมาทำโฮมสเตย์เล็กๆ ที่เปลี่ยนคนแปลกหน้าให้กลายเป็นเพื่อนกัน