6 วิธีเตรียมตัวรับช่วงต่อธุรกิจครอบครัว จากประสบการณ์ 3 ทายาท ธุรกิจไม่พัง ความสัมพันธ์ไม่ร้าวฉาน

TEXT: Momiin

Main Idea

  • เชื่อว่าการเข้ามารับช่วงต่อจากธุรกิจที่บ้านเป็นเรื่องที่ท้าทายมาก สำหรับทายาทที่กำลังจะเข้ามาสานต่อธุรกิจ

 

  • เพราะว่าต้องเจอกับปัญหามากมายในการพิสูจน์ตัวเองว่าเราสามารถเข้ามารับช่วงต่อธุรกิจได้ไหม

 

  • วันนี้เราเลยมี 6 วิธีเตรียมตัวรับมือ เมื่อต้องเข้ามารับช่วงต่อธุรกิจครอบครัวกัน เพื่อเป็นแนวทางให้กับคนที่กำลังเข้าช่วยที่บ้านทำธุรกิจ

 

สิ่งที่ 3 ทายาทอยากบอกกับคนที่กำลังเข้ามาสานต่อธุรกิจ

 ทายาท บ้านมะขาม

     บ้านมะขาม แบรนด์ที่ตั้งใจเดินหน้าพัฒนาต่อยอดผลิตผลท้องถิ่นอย่างมะขามหวาน จ.เพชรบูรณ์ วันนี้ทายาทรุ่น 2 เต้น-ธนนท์ โฆวงศ์ประเสริฐ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท สวนผึ้งหวาน จำกัด ได้เข้ามาสานต่อธุรกิจครอบครัว ทำให้แบรนด์บ้านมะขามเป็นที่รู้จักไปทั่วประเทศ และก้าวสู่แบรนด์สินค้าระดับโลก ที่ปัจจุบันมีวางจำหน่ายกว่า 10 ประเทศทั่วโลก

    เต้นเล่าว่า “เวลาที่เราคุยกันมันต้องประนีประนอมในการเข้าหากัน ไม่ใช่ว่าพ่อแม่จะใช้ความเป็นพ่อแม่มาสั่งการ หรือลูกก็จะเอาแต่ใจคือมันไม่ได้ ต้องคุยกันแบบมืออาชีพ หรือพอเรามีไอเดียที่อยากจะทำไรสักอย่างที่เป็นเรื่องใหม่ ถ้าเราใช้การพูดคุยอย่างเดียว พ่อแม่หรือผู้บริหารเขาก็จะไม่ได้เห็นภาพไปเหมือนเราหรอก มันก็ต้องใช้การกระทำ เพื่อพิสูจน์ผลงานของตัวเราเองด้วย มีอะไรต้องทำให้เกิดความคาดหมายไว้ หรือต้องทำผลงานให้เขาเห็น ไม่อย่างนั้นจะไม่ได้รับการยอมรับอย่างแน่นอน” 

วิธีรับมือ

  • คุยกันแบบมืออาชีพ

 

  • ต้องใช้การกระทำ เพื่อพิสูจน์ผลงาน

 

ทายาท Codec Creation ธุรกิจผลิตตุ๊กตา

     Codec Creation บริษัทผลิตตุ๊กตาลิขสิทธิ์แท้ Mr. men & little miss/ line friend รายเดียวในประเทศไทย ที่วันนี้ทายาทรุ่นสอง ทอย-กรชนก ตรีวิทยานุรักษ์ ต้องเข้ามาดูธุรกิจแทนคุณแม่ที่ป่วยเพื่อให้ธุรกิจอยู่รอดไปได้

     ทอยเล่าว่า “เวลาที่มีความคิดไม่ตรงกันก็ตีกันตลอด เรารู้สึกว่าการพูดหรือทะเลาะไปเลย มันเป็นหนทางที่ดีที่สุดในการแก้ไขปัญหา แต่ทั้งคู่ก็ต้องเปิดใจรับฟัง ซึ่งการทะเลาะและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน จะทำให้เกิดสิ่งที่ดีขึ้นกว่าเดิม”

     และทอยยังฝากบอกกับคนที่รับช่วงต่อธุรกิจด้วยว่า เวลาที่ทำธุรกิจอย่าท้อไปก่อน ถ้าเราท้อจะมีคนวิ่งแซงหน้าคุณไปแล้ว เพราะธุรกิจมันคือการต่อสู้ คุณต้องใหม่ ต้องเร็ว แล้วก็พร้อมเรียนรู้ตลอดเวลา แล้วต้องปรับเปลี่ยน ไม่มีทางที่คุณจะทำสินค้าเดิมๆ หรือการตลาดเดิมๆ ไปได้ตลอด เพราะมีคนที่พร้อมจะเปลี่ยนแปลงแล้วก็เก่งกว่าเราทุกวัน เราแค่อย่าหยุดเรียนรู้ อะไรที่ยากก็ลุยไปเลย ทำไปเลย

วิธีรับมือ

  • การพูดหรือทะเลาะไปเลย เพื่อให้เคลียร์ เป็นหนทางที่ดีในการแก้ไขปัญหา ดีกว่าเก็บเอาไว้

 

  • ทั้งสองฝ่ายต้องเปิดใจฟัง และยอมรับฟังความคิดเห็นกันและกัน

 

ทายาทร้านก๋วยเตี๋ยว “เซี๊ยม”

     “เซี๊ยม” คือ ของชื่อร้านก๋วยเตี๋ยวหมูแดงดั้งเดิมอายุ 40 ปีที่เรากำลังพูดถึงอยู่ โดยวันนี้ได้ทายาท อีฟ-กมลฉัตร เตียวศิริชัยสกุล เข้ามาช่วยสานต่อปรับลุคสร้างแบรนด์ จากร้านเล็กๆ ในชุมชนให้กลายเป็นร้านรับแขกที่ใครไปใครมาก็อยากแนะนำชวนคนรู้จักให้มาลิ้มลอง

     สำหรับทายาทธุรกิจบางคนแล้ว การต้องมารับช่วงต่อกิจการที่ตัวเองไม่ได้เป็นผู้ริเริ่มอาจกลายเป็นเรื่องลำบากใจ บางครั้งอาจถึงขั้นรู้สึกว่าโดนบังคับ แต่สำหรับอีฟที่ตั้งใจไว้ตั้งแต่ต้นว่าอยากเข้ามาช่วยปรับปรุงธุรกิจของครอบครัว เธอมีความคิดเห็นอย่างไร

     “ตั้งแต่แรกเราเหมือนคนรู้ตัวเองอยู่แล้วว่าอยากทำธุรกิจ อยากเป็นเจ้าของกิจการ ซึ่งก็ไม่รู้หรอกว่าจะทำอะไรดี จนมานั่งทบทวนตัวเอง โดยรู้แค่ว่าการจะเป็นเจ้าของธุรกิจที่ดีได้ ต้องรู้จักธุรกิจได้ดีที่สุด โดยเราก็คลุกคลีกับร้านบะหมี่นี้มานานตั้งแต่เด็กๆ ได้ซึมซับอะไรมาเยอะ เลยมองว่าถ้าอย่างนั้น นี่ก็น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของเรา โดยไม่ได้มีใครมาบังคับ แต่เรามองว่าเป็นต้นทุนที่ดีที่เรามีอยู่แล้ว

     “ซึ่งถ้าจะให้แนะนำทายาทคนอื่นๆ ว่าต้องทำยังไง เราคงแนะนำไม่ได้ เพราะแต่ละคนมีปัจจัยไม่เหมือนกัน สิ่งที่บอกได้ คือ ขอให้เขารู้จักตัวเองให้ดีที่สุด และเลือกทำในสิ่งที่ตัวเองรัก โดยจะสานต่อ หรือไม่สานต่อก็ได้ ควรคุยกับครอบครัวให้เข้าใจ เพราะการทำธุรกิจมันควรเริ่มมาจากความรัก ความสนุกที่ได้ทำมากกว่า เพราะสุดท้ายแล้วทุกธุรกิจย่อมเจอกับปัญหา แต่ด้วยความรัก ความสนุกที่เรามี จะทำให้เราสามารถผ่านมันไปได้” อีฟฝากเอาไว้

วีรับมือ

  • ต้องรู้จักตัวเองให้ดีที่สุด และเลือกทำในสิ่งที่ตัวเองรัก

 

  • ควรคุยกับครอบครัวให้เข้าใจ ในสิ่งที่จะทำ

 

     และนี่คือ 6 วิธีเตรียมตัวรับมือเมื่อเข้ามารับช่วงต่อธุรกิจครอบครัวจาก 3 ทายาทธุรกิจที่อยากบอกกับคนที่กำลังเข้ามาสานต่อธุรกิจ

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

ทำไมบันไดต้องมีแบรนด์? ฟังเฉลยจาก "ลายวิจิตร" ผู้คิดโซลูชั่นบันไดสำเร็จรูป พาธุรกิจโต 10 เท่า

โดยส่วนใหญ่ในธุรกิจ B2B การสร้างแบรนด์ อาจดูไม่ค่อยมีความจำเป็นมากเท่ากับ B2C ที่ขายปลีกโดยตรงถึงผู้บริโภค ยิ่งเป็นสินค้าที่ผลิตขึ้นมาเพื่อใช้เป็นส่วนประกอบในงานต่างๆ ตัวอย่างเช่น บันได แต่แล้วทำไม? บันได ต้องมีแบรนด์ ไปดูกัน

คำสารภาพจากแม่ค้าประตูน้ำ ยอมออกจาก Comfort zone สู่โลกออนไลน์ เมื่อความสำเร็จเดิมใช้ไม่ได้อีกต่อไป

ช่วงนี้มักได้ยินเสียงบ่นของพ่อค้าแม่ค้าหนาหูว่า เศรษฐกิจไม่ดีและไม่ใช่เศรษฐกิจไม่ดีแบบธรรมดา แต่เป็นเศรษฐกิจที่แย่สุดๆ รับรู้ได้จากแม่ค้าหลายรายได้โพสต์คลิประบายความในใจจนกลายเป็นไวรัล

บ้านต้นไม้ร้อยหวัน โฮมสเตย์ที่อยากให้คนมาใช้ชีวิตเรียบง่าย กินของพื้นบ้านและนอนฟังสายน้ำ

บ้านพักแนวโฮมสเตย์รักษ์วิถีชุมชน ที่อยากชวนคนให้มาอยู่กับธรรมชาติอย่างเรียบง่าย กินของพื้นบ้านและนอนฟังสายน้ำ รับเฉพาะลูกค้าจองล่วงหน้าเท่านั้น