4 ความท้าทายสุดโหดโลกธุรกิจ SME จะรับมืออย่างไร ฟังผู้บริหาร ทีเอ็มบีธนชาต

TEXT : Neung Cch.

PHOTO : สุนันท์ ล้อสมทรัพย์

Main Idea

  • ปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อม ปัญหา Talent War สงครามชิงคนเก่ง การปรับตัวของธุรกิจในยุคดิจิทัล และ ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ

 

  • นี่คือ 4 ความท้าทาย ที่อาจชี้เป็นชี้ตายให้ธุรกิจ บริษัทคุณเตรียมพร้อมหรือมีทางออกสำหรับเรื่องดังกล่าวหรือยัง

 

     แม้จะมีภาพข่าวธุรกิจ SME ที่แจ้งเกิดเป็นดาวเด่นในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา แต่ในภาพรวมของประเทศแล้วก็ยังถือว่าเป็นส่วนน้อย เกินกว่าครึ่งของผู้ประกอบการ SME ยังมีอาการน่าเป็นห่วง นอกจากภาระต้นทุนที่สูงขึ้นแล้ว ยังมีอีกหลายปัจจัยที่เป็นตัวแปรในการทำธุรกิจ

     วันนี้ SME Thailand Online จะพาไปคุยกับ ศรัณย์ ภู่พัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าธุรกิจ ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี ธนาคารที่มีประสบการณ์ในการดูแลธุรกิจ SME ที่มีรางวัล Best SME Bank in Thailand จาก The Digital Banker ปีล่าสุดเป็นเครื่องยืนยัน จะมาช่วยพา SME ก้าวผ่านความท้าทายของการทำธุรกิจในยุคปัจจุบัน

 

ธุรกิจขนาดเล็กกับภารกิจรักษ์โลก

     ประเด็นเรื่องการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน (Environmental, Social, Governance: ESG) เป็นประเด็นหนึ่งที่ถูกพูดถึงมานานและเริ่มเข้มข้นมากขึ้น เมื่อทั่วโลกต่างให้ความสำคัญเรื่องนี้และเริ่มมีมาตรการต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องสิ่งแวดล้อมออกมาใช้มากขึ้น เช่น มาตรการ Carbon Border Adjustment Mechanism: CBAM ที่ทาง EU จะมีการเก็บภาษีคาร์บอนข้ามแดน ที่จะเริ่มใช้ในเดือนตุลาคมปีนี้ สิ่งเหล่านี้ทำให้บริษัทขนาดใหญ่เร่งปรับตัวเพื่อไม่ให้กระทบกับธุรกิจกันแล้ว

     “ในขณะที่ SME บางรายอาจยังไม่รู้ตระหนักชัดๆ ว่า ถ้าไม่รีบปรับตัวตอนนี้ อนาคตอาจขายสินค้าให้บริษัทใหญ่ๆ ที่ผลิตสินค้าไปยุโรปไม่ได้ หรือแม้แต่ที่อเมริกาก็เริ่มมีกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมออกมาแล้ว ดังนั้นผู้ประกอบการ SME ไม่อาจเลี่ยงเรื่องเหล่านี้ได้ต่อไปแล้ว ต้องเร่งปรับตัว โดยอาจเริ่มจากเรื่องง่ายๆ และเข้ากับยุคค่าไฟแพงคือ ปรับใช้โซลลาเซลล์ ซึ่งธนาคารมีแผนการให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องดังกล่าว มีสินเชื่อสนับสนุนเอสเอ็มอี วงเงินกว่า 30,000 ล้านบาท”

ทีมงาน คือ ขุมทรัพย์ในธุรกิจ

     ในขณะที่การแข่งขันธุรกิจที่รุนแรงขึ้น จนเกิดเทรนด์ Talent War สงครามชิงคนเก่ง โดยเฉพาะคนที่มีความรู้เกี่ยวกับโลกเทคโนโลยีใหม่ๆ มีสกิลความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเป็นที่ต้องการของหลายๆ บริษัทจนเกิดการแย่งชิงซื้อตัวกัน  ซึ่งสิ่งนี้ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ที่อาจมีแรงจูงในในการดึงคนเก่งเข้ามาในองค์กรน้อยกว่าบริษัทใหญ่ๆ อีกทั้งต้นทุนในการทำสวัสดิการดีๆ ให้พนักงานอยากอยู่กับองค์กรนั้นถือเป็นต้นทุนประมาณ 20% ของเงินเดือนพนักงานแต่ละคน

     “ผมว่าปัญหาการรักษาพนักงานมีคุณภาพให้อยู่กับองค์กรนั้นเป็นปัญหากับทุกบริษัท เพียงแต่ว่า SME จะมีปัญหามากกว่าเพราะว่าต้นทุนในการรักษาพนักงานค่อนข้างสูง โดยเฉลี่ยการทำพวกสวัสดิการต่างๆ ให้กับพนักงานต้นทุนประมาณ 15-20% ของเงินเดือนพนักงานนั้นๆ เลย สิ่งที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทำได้คือ การดูแลมีสวัสดิการที่ดีให้พนักงาน ด้วยต้นทุนที่เหมาะสม เช่น ค่าดูแลสวัสดิการด้านอุบัติเหตุในราคาถูกยังสามารถจ่ายรายเดือนได้ หรือการใช้โซลูชันบริการการจ่ายเงินเดือนและดูแลสวัสดิการพนักงานแบบครบวงจร (ttb payroll plus) เป็นต้น”

Digital Transformation

     การปรับตัวของธุรกิจในยุคดิจิทัล นับเป็นอีกหนึ่งความท้าทายของ SME โดยเฉพาะในช่วง 2- 3 ปีที่ผ่านมา จะพบว่ามีเทคโนโลยีจำนวนมากที่ทำให้การดำเนินชีวิตและธุรกิจเปลี่ยนไป โดยเฉพาะช่วงโควิด-19 ซึ่งเป็นตัวเร่งให้เกิด Digital Adoption รวดเร็วมากขึ้น ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการปรับตัวเรื่องเทคโนโลยีเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ไม่ว่าจะเป็นการทำธุรกรรมโมบายแบงก์กิ้ง เป็นอันดับหนึ่งของโลก ในปี 2564

     “การบริหารต้นทุนให้มีประสิทธิภาพต่ำถือเป็นเรื่องสำคัญที่จะทำให้ SME แข่งขันได้ การรู้จักใช้เครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ไม่ว่าคุณจะขายสินค้าออฟไลน์หรือออนไลน์ ถ้าสามารถทำธุรกรรมผ่านโมบายแบงก์กิ้ง เก็บเงินจากลูกค้าได้ง่าย ประหยัดต้นทุน ลดอัตราการจ้างพนักงานลงได้”

ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ

     จากสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นการแบ่งขั้วทางการเมือง สงคราม การชะลอตัวของเศรษฐกิจ และอื่น ๆ ส่งผลกระทบหลายด้าน ทั้งค่าน้ำมัน ค่าวัตถุดิบ หรือแม้แต่ความผันผวนของสกุลเงินดอลลาร์ที่เป็นสกุลหลักในการค้าขายของไทยที่มากถึง 77.4% ในทุก 1% ของความผันผวนที่สูงขึ้น คือทุก 1% ของความเสี่ยงที่กำไรของผู้ประกอบธุรกิจจะลดลง

     “มันก็เป็นความท้าทายมากๆ สำหรับผู้ประกอบการ สิ่งที่ต้องทำคือ มองหาตลาดใหม่ ช่องทางขายใหม่ๆ โดยเฉพาะออนไลน์ กระบวนการผลิตที่ทำให้ต้นทุนดำเนินการลดลงมาได้ ส่วนในการจัดการเรื่องความผันผวนทางการเงิน ธนาคารได้พัฒนาบริการและผลิตภัณฑ์ด้วยบริการ ttb local currency ที่จะช่วยลดความผันผวนจากอัตราแลกเปลี่ยนด้วยเครื่องมือบริหารความเสี่ยงสกุลเงินท้องถิ่นที่เป็นคู่ค้าหลักของประเทศไทย นอกจากนั้นยังเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันความเสี่ยง ด้วย Pro Rata Forward สำหรับเงินสกุลท้องถิ่น โดยเฉพาะสกุลเงินหยวน ซึ่งถือเป็นธนาคารแรกและธนาคารเดียวที่ทำได้” ศรัณย์ กล่าวสรุป

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

Nyana Nyana Eco Fashion อดีตสถาปนิกนักสู้มะเร็ง สู่เจ้าของแบรนด์แฟชั่นออร์แกนิก เป็นมิตรต่อผู้สวมใส่ และสิ่งแวดล้อม

Nyana Nyana Eco Fashion แบรนด์แฟชั่นของอดีตสถาปนิกหญิงสิงคโปร์ที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา แม้พบว่าป่วยเป็นมะเร็ง แต่ “Clara Simanjuntak” กลับใช้เป็นแรงบันดาลใจ เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิต ทำสิ่งดีๆ รวมถึงการสร้างแบรนด์เสื้อผ้าจากผ้าออร์แกนิก

บ้านโอบอุ่น ธุรกิจเล็กๆ ของนักศึกษาพยาบาล ที่ทำให้คนแปลกหน้ากลายเป็นเพื่อนกัน

พาไปรู้จักบ้านโอบอุ่น ธุรกิจโฮมสเตย์เล็กๆ ที่ปลูกขึ้นกลางทุ่ง ของ อั้ม-พัชราภา อ่ำปั้นนักศึกษาพยาบาล ที่นั่งรถไฟจากพิษณุโลกไปเชียงดาวทุกสัปดาห์เพื่อมาทำโฮมสเตย์เล็กๆ ที่เปลี่ยนคนแปลกหน้าให้กลายเป็นเพื่อนกัน