เปิดทางรอดธุรกิจยุค VUCA เกมการค้าต้องมีพันธมิตร ช่วยกันคิดช่วยกันโต

TEXT : กองบรรณาธิการ

Main Idea

  • ในยุคไม่มีความแน่นอนและทุกอย่างยากที่จะคาดเดา ที่หลายคนเรียกกันว่า VUCA นั้น ยากที่ธุรกิจใดสามารถเป็น one man show เติบโตคนเดียวได้แบบยั่งยืน

 

  • ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจค้าขาย ภาคบริการ ซัพพลายเออร์ ฯลฯ ต่างจะต้องอาศัยการ collaboration ทำงานร่วมกันในทุกภาคส่วนเพื่อพัฒนาจุดด้อยเสริมจุดแข็งช่วยให้ธุรกิจเติบโต

 

  • เหมือนกับความสำเร็จของ Tropicana จาก SME ที่ไม่มีความชำนาญด้านออนไลน์แต่สามารถเปิดตลาด B2B ขยายกิจการระดับโลกได้สำเร็จ

 

     ถามว่าวันนี้การทำธุรกิจนั้นมีความยากกว่าอดีตแค่ไหน?

     เชื่อว่าหลายๆ เสียงคงบอกว่าความยากอย่างหนึ่งของการทำธุรกิจในยุคนี้คือ ความไม่แน่นอนกับสถานการณ์ต่างๆ ที่หลายคนอาจจะรู้จักและเริ่มคุ้นชินกับสถานการณ์ของโลกปัจจุบันที่เรียกว่า VUCA กันแล้ว

     สำหรับใครที่ยังงงก็ต้องบอกว่า VUCA เป็นคำย่อที่กองทัพสหรัฐฯ ใช้เรียกสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วและรุนแรงอย่างต่อเนื่องในช่วงสงครามอัฟกานิสถานและอิรัก ซึ่งต่อมาได้ถูกนำมาใช้ในโลกธุรกิจซึ่ง VUCA ประกอบด้วยสถานการณ์ 4 รูปแบบ ได้แก่ Volatility - ความผันผวน Uncertainty - ความไม่แน่นอน Complexity - ความซับซ้อน และ Ambiguity – ความคลุมเครือ

ไม่มี One man show ใน VUCA World

     ธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าองค์กร AIS กล่าวว่า ปัจจุบันนี้เราอยู่ในโลกของ VUCA มีความไม่แน่นอน ฉะนั้นการที่ SME จะอยู่รอดได้นอกจากต้องมีทักษะในการปรับตัวให้รวดเร็วแล้วยังจะต้องมีเพื่อน ช่วยกันผลักดันให้ธุรกิจเติบโต

     “โลกของ VUCA คงไม่มีธุรกิจใดที่จะเติบโตได้แบบ One man show โดยเฉพาะสองปีที่ผ่านมาธุรกิจมีการเปลี่ยน landscape ไปอย่างมาก รวมทั้งพฤติกรรมผู้บริโภคก็เปลี่ยนไปก่อนซื้อสินค้ามีการหาข้อมูลเยอะขึ้น เขามีตัวเลือกเยอะขึ้น เทคโนโลยีหลายๆ ตัวก็เข้ามามีบทบาท อาทิ Remote Works and Virtual Meetings เนื่องจากการทำธุรกิจต้องการการติดต่อที่ฉับไวเรียลไทม์ หรือแม้แต่ Digital Marketing, E-commerce platform ฉะนั้นวิธีการขาย วิธีการให้ข้อมูลลูกค้าก็ต้องเปลี่ยนไป รวมทั้งหาวิธีการทำงานที่ save cost”

 

SME จะต้องปรับตัวอย่างไร

     อย่างที่ทราบกันดีว่าหนึ่งใน Sector ของภาคธุรกิจที่มีส่วนสำคัญต่อการเติบโตของประเทศ คือ SME หรือ กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม ที่ปัจจุบันมีผู้ประกอบการกว่า 3.18 ล้านราย ซึ่งเป็น 1 ในเครื่องยนต์หลักขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ ในขณะเดียวกันกลุ่ม SME ก็ยังมีส่วนร่วมในการสร้าง GDP ให้กับประเทศถึง 34.2%

     จากข้อมูลของทาง AIS SME พบว่าการทำธุรกิจแต่ละเซกเม้นต์มีความท้าทายแตกต่างกัน อาทิ

  • กลุ่มค้าขาย อยากมีช่องทางออนไลน์ เพื่อให้เข้าถึงลูกค้า โดยที่ต้นทุนไม่เพิ่ม

 

  • กลุ่มการผลิต อยากหาช่องทางใหม่ๆ ประยุกต์หาลูกค้าได้มากขึ้น

 

  • กลุ่มบริการ อยากเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้การบริหารจัดการดีขึ้น

 

  • กลุ่มเป็นเทคโนโลยี อยากเข้าสู่ตลาดเพื่อจะได้มีโอกาสทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ต่างๆ

 

     “ผู้ประกอบการใน 4 กลุ่มนี้มีความต้องการที่แตกต่างกันไป แต่ละส่วนก็มีความเชี่ยวชาญกันคนละอย่าง ถ้าเราทำให้เกิดการ Cross industry ร่วมมือกัน ทำให้แต่ละธุรกิจวิน วิน ได้ประโยชน์และเติบโต ดังนั้นการเพิ่มขีดความสามารถให้กับการดำเนินธุรกิจผ่านการทำ Digital Transformation ก็ยังคงเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้ SME มีอาวุธใหม่ๆ

     ทาง AIS ส่งเสริมผู้ประกอบการ SME ด้วย กลยุทธ์ 7S คือ  AIS SME Mobile Services บริการโทรศัพท์เพื่อการสื่อสาร, AIS SME Internet Services บริการอินเทอร์เน็ต, AIS SME Digital Marketing Services เครื่องมือด้านการตลาดออนไลน์, AIS SME IT & Digital Solutions พัฒนาระบบไอทีหลังบ้าน, AIS SME Full e-Services งานบริการแบบ E-Service ที่อำนวยความสะดวกให้แก่นิติบุคคล, AIS SME Special Privileges สิทธิพิเศษที่ทำให้การทำธุรกิจง่ายขึ้นด้วย AIS SME BIZ UP และ AIS SME Strategic Partnership การผนึกกำลังกับพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศเพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการ” ธนพงษ์ กล่าวว่านี่คือสิ่งที่ AIS ทำคือ การสร้าง Ecosystem Economy  ทำให้วงจรธุรกิจของ SME ซึ่งเป็น core engine ของประเทศไทยเติบโตได้ทั้งระบบและยั่งยืน

     AIS SME ได้ยกตัวอย่างเครื่องมือที่ทาง AIS ร่วมมือ FTI (สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย) เพื่อติดปีกให้ SME ไทย นั่นคือ Yellow B2B2C e-marketplace แพลตฟอร์มเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการ SME ให้สามารถต่อยอดธุรกิจทั้งเชิง B2B และ B2C แบบครบวงจร เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายให้ SME สามารถพบปะผู้ซื้อทั้งรายใหญ่และรายเล็กได้ง่ายยิ่งขึ้นผ่าน www.yellow.co.th โดยผู้ซื้อสามารถค้นหาสินค้าและบริการได้ง่ายๆ หรือโพสต์สร้างความต้องการสินค้าหรือบริการ (RFQ Marketplace) เพื่อให้ผู้ขายติดต่อเสนอราคาได้ทันที ยิ่งไปกว่านั้นผู้ขายยังสามารถเจรจาธุรกิจไปจนถึงปิดการขายได้ผ่านช่องแชท อีกทั้งยังมีเครื่องมือในการอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถทำธุรกิจได้ทุกที่ทุกเวลา

Tropicana ตัวอย่างธุรกิจเติบโตด้วยพันธมิตร

     จากสินค้าที่วางขายในตลาด OTOP ผลิตภัณฑ์แบรนด์ Tropicana ที่เริ่มต้นจากน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น ได้พัฒนาต่อยอดสินค้ามากกว่า 100 รายการ และกลายเป็นแบรนด์เครื่องสำอางที่ได้รับความนิยมในกว่า 20 ประเทศทั่วโลก หนึ่งในผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จนี้คือทายาทรุ่นที่สอง ณัฐดนัย นิลเอก ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท ทรอปิคานา ออยล์ จำกัด เปิดเผยถึงเคล็ดลับที่ทำให้ธุรกิจเติบโตว่า มาจากการต่อยอดไปสู่ช่องทางออนไลน์

     “หลายคนอาจเข้าใจว่าเราทำตลาดแค่ B2C แต่จริงๆ หลังบ้านเรามีซัพพลายน้ำมันมะพร้าวไปให้หลายอุตสาหกรรม ทั้งอาหาร ยา เครื่องสำอาง รวมไปถึงรับจ้างผลิต OEM ดังนั้นเราจึงต้องมองหาช่องทางขายตลาด B2B ก่อนหน้านี้เราเจอ pain point หลายๆ การแข่งขันด้านราคา การต่อรอง

     “นอกจากนี้การทำธุรกิจ B2B ในอดีตนั้นผู้ซื้อจะออกไปหาลูกค้าตามแหล่งย่านธุรกิจต่างๆ เช่น สำเพ็ง แต่ปัจจุบันผู้ซื้อไม่ค่อยออกไปหาตามแหล่งแบบนั้นแล้ว แต่ใช้วิธีการค้นหาผ่าน Google ซึ่ง pain point ของ SME เราไม่เก่งในการทำคีย์เวิร์ด ทำเรื่องเหล่านี้ไม่เก่ง อาจมีงบประมาณจำกัด ผมคิดว่าแพลตฟอร์ม Yellow ช่วยทำให้การเสิร์ชคีย์เวิร์ดต่างๆ ติดการค้นหาได้ง่าย ติดหน้าแรกๆ ของ Google และทำให้ตัวแทนจัดซื้อได้เห็นธุรกิจ แพลตฟอร์มก็ค่อนข้างเฟรนด์ลี่กับคนไทย ทีมงานช่วยเหลือ input data เข้าไปในแพลตฟอร์มได้รวดเร็ว ช่วยทำให้เราเติบโตไปได้ถูกทาง”

     ทั้งนี้ธนพงษ์ กล่าวเสริมว่า ปัจจุบัน KPI วัดลูกน้องในทีมขายของเขาก็เปลี่ยนไป “ทีมผมไม่ใช่ดูยอดขาย แต่ดูว่า SME ที่เป็นลูกค้าคุณนะโตไหม ถ้าเมื่อไหร่ลูกค้าคุณไม่โตคุณก็อยู่ไม่ได้ แต่ถ้าลูกค้าโตคุณก็จะโตไปด้วย ฉะนั้นทีมงานเราให้ความรู้ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเติบโตอุ่นใจไปด้วยกัน”

     เมื่อเติบโตแล้ว ต้องเติบโตไปด้วยกัน และสร้างเศรษฐกิจเติบโตร่วมกันอย่างยั่งยืน เหมือนกับที่ทาง AIS SME มอบสิทธิพิเศษมากมายให้กับ SME เช่น สิทธิพิเศษในการเป็นสมาชิก BIZ UP ช่วยเสริมเขี้ยวเล็บให้กับลูกค้า AIS SME ทั้งในด้านการบริหารจัดการธุรกิจ การบริหารต้นทุน การพัฒนาทักษะใหม่ๆ ให้แก่บุคลากร หรือการรับสิทธิ์ส่วนลดสินค้าและทดลองใช้บริการฟรีจากพาร์ทเนอร์กว่า 95 พาร์ทเนอร์ เพิ่มโอกาสทางการขายให้ธุรกิจเติบโต

     AIS SME พร้อมอยู่เคียงข้างธุรกิจ SME ให้เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน

สแกนเลยเพื่อรับสิทธิพิเศษก่อนใคร 

     รายละเอียดสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมจาก AIS -> https://m.ais.co.th/epHDG18HY

     .AIS SME เพื่อนที่มั่นใจได้ทุกเรื่อง SME ปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ที่ Email : business@ais.co.th Website : https://m.ais.co.th/aWHgdYgTM

 

#พร้อมเคียงข้างทุกธุรกิจSME #AISSME2023 #AISSME #เติบโตอุ่นใจไปด้วยกัน

#smethailand #SME #เอสเอ็มอี #EcosystemEconomy #เศรษฐกิจดิจิทัล #AISBusiness #7S #Yellow #BizUp #TheStartUp #AISPoints

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

จับตาผลกระทบการค้าชายแดนไทย เส้นทางธุรกิจแม่สอดเปลี่ยนเป็นสนามรบ

กับสถานการณ์การสู้รบในเมียนมาใกล้ชายแดนไทยยังคงร้อนระอุนับตั้งแต่กองกำลังกะเหรี่ยง KNU และกองกำลังปกป้องประชาชน PDF “เข้ายึดฐานปฏิบัติการ 275 ในเมียวดี” ส่งผลต่อกระทบเส้นทาง “แนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor-EWEC)” ของไทย

ทำธุรกิจซัก-รีด ยังไงให้มีรายได้สาขาละแสน ล้วงความลับกับเจ้าของแบรนด์ ตั้งใจซัก

หนึ่งในธุรกิจที่ขึ้นชื่อว่าเป็น “เสือนอนกิน” นั้นต้องมีธุรกิจเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญติดในลิสต์เป็นอันดับต้นๆ ทำให้ธุรกิจนี้เติบโตเป็นพิเศษโดยเฉพาะในช่วงโควิดที่ผ่านมา มีผู้ประกอบการที่สนใจเปิดธุรกิจนี้มากมาย แต่ถึงแม้จะเป็นธุรกิจเสือนอนกิน ใช่ว่าทุกคนจะเป็นเสือที่ได้กินธุรกิจนี้ง่ายๆ

Erabica Coffee ผู้ปักหมุด กาแฟน่าน ให้เป็นที่รู้จักระดับประเทศ

นี่คือสองสามีภรรยา ที่อยากมาใช้ชีวิตบั้นปลายที่น่าน คิดสร้างแบรนด์กาแฟของตัวเองขึ้นมาในชื่อ Erabica (เอราบิก้า) กลายเป็นการยกระดับกาแฟน่านเป็นที่รู้จักเพิ่มมากขึ้น