ทำความเข้าใจ CBAM และผลกระทบต่อธุรกิจไทย

TEXT : JaY

Main Idea

  • ชวนผู้ประกอบการไทยมารู้จัก “มาตรการ CBAM” การปรับราคาคาร์บอน ก่อนข้ามพรมแดนสหภาพยุโรป

 

  • CBAM ส่งผลกับผู้ประกอบการไทยอย่างไร และการเตรียมความพร้อมรับมือ

 

     ชวนทุกคนมารู้จัก CBAM หรือ "Carbon Border Adjustment Mechanism" มาตรการกลไกการปรับราคาคาร์บอน ก่อนข้ามพรมแดนสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นนโยบายที่นำเข้าเพื่อปรับค่าคาร์บอนหรือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตสินค้าที่นำเข้ามาในประเทศสมาชิกในทวีปยุโรปที่ใช้นโยบายนี้

     CBAM เป็นหนึ่งในมาตรการภายใต้กรอบนโยบาย European Green Deal หรือการวางแผนยุทธศาสตร์ ของสหภาพยุโรป เพื่อสร้างสังคมที่ยั่งยืน จากการใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีจุดมุ่งหมายเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิของสหภาพยุโรปลง 55% ภายในปี 2030

     ปัจจุบันมีประเภทสินค้าที่อยู่ในขอบเขตของมาตรการ CBAM ทั้งสิ้น 7 รายการ ได้แก่ อะลูมิเนียม, เหล็ก, เหล็กกล้า, ปูนซีเมนต์, ปุ๋ย, ไฟฟ้า, และไฮโดรเจน

D-day 1 ตุลาคม 2023 เริ่มบังคับใช้ CBAM

     ทั้งนี้มาตรการ CBAM เริ่มบังคับใช้ช่วงแรกตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2023 – 31 ธันวาคม 2025 หรือที่เรียกว่า “ช่วงเปลี่ยนผ่าน (Transitional period)” หมายถึง ผู้นําเข้ามีหน้าที่ต้องรายงานข้อมูลปริมาณสินค้าที่นำเข้าและการปล่อยคาร์บอนในกระบวนการผลิต (Embedded Emissions) และจะเริ่มบังคับให้ผู้นําเข้าต้องซื้อใบรับรอง CBAM (CBAM Certificate) ตามปริมาณจริงของการปล่อยคาร์บอนในกระบวนการผลิต ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2026 เป็นต้นไป

CBAM ส่งผลกับผู้ประกอบการไทยอย่างไร

     การส่งออกของไทยไปยังสหภาพยุโรป ในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายหลักของ CBAM มีสัดส่วนไม่มาก อาจส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออกสินค้าที่มีการปล่อยคาร์บอนในกระบวนการผลิตสูง โดยมีการส่งออกหลักใน 2 อุตสาหกรรม ได้แก่ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์และอะลูมิเนียม เป็นแรงกดดันให้ประเทศที่ต้องการส่งออกสินค้าในทวีปยุโรปต้องพัฒนากระบวนการผลิตที่ลดการสร้างคาร์บอน

มาตรการ CBAM กับการเตรียมความพร้อม

     มาตรการ CBAM จะเริ่มบังคับใช้เต็มรูปแบบในปี 2026 ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องมีการรายงานข้อมูลพร้อมยื่นหลักฐานการจ่ายค่าธรรมเนียม CBAM Certificates ทุกปี โดยข้อมูลประกอบด้วย 

     1. ปริมาณสินค้าที่นำเข้าในระหว่างปีที่ผ่านมา 

     2. ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสินค้าที่นำเข้ามาใน EU มีการตรวจสอบโดยผู้ตรวจสอบที่ได้รับอนุญาต 

     3. CBAM Certificates ที่เป็นหลักฐานการจ่ายค่าธรรมเนียมคาร์บอนตามปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสินค้าที่นำเข้า โดยจะคิดค่าธรรมเนียมจากค่าเฉลี่ยรายสัปดาห์ของราคาในระบบ EU ETS3 ซึ่งผู้นำเข้าจะได้รับการลดภาระค่าธรรมเนียมตามสัดส่วนที่ได้ชำระค่าธรรมเนียมคาร์บอนในประเทศต้นกำเนิดสินค้าแล้ว หรือตามสัดส่วนปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แบบให้เปล่า (Free Allowances) ที่ EU ได้อนุญาตให้แก่ผู้ประกอบการภายใน EU 

     หากไม่มีการยื่นหลักฐาน CBAM Certificates ผู้นำเข้าสินค้านั้นจะต้องโดนโทษในอัตรา 3 เท่า ของราคาเฉลี่ยในปีก่อนหน้า และยังคงต้องทำการซื้อและส่งมอบ CBAM Certificate ให้ครบตามจำนวนที่กำหนดสำหรับการนำเข้าสินค้านั้น

ผลกระทบจาก CBAM

     การเพิ่มต้นทุน ผู้ประกอบการไทยที่ส่งออกสินค้าไปยังประเทศที่ใช้ CBAM อาจต้องจ่ายเงินเพิ่มเติมหากสินค้ามีปริมาณคาร์บอนที่สูง ซึ่งอาจส่งผลให้ต้องเพิ่มต้นทุนการผลิตและราคาขายสินค้า

     การสร้างธุรกิจที่ยั่งยืน CBAM อาจสร้างความกระตุ้นให้ผู้ประกอบการไทยพัฒนาและนำเข้าเทคโนโลยีที่ช่วยลดการสร้างคาร์บอนในกระบวนการผลิต เพื่อความยั่งยืนของธุรกิจ

     การท้าทายและการปรับตัว ผู้ประกอบการไทยจำเป็นต้องท้าทายกับการเปลี่ยนแปลงในสภาพภูมิอากาศและต้องปรับตัวต่อกับการใช้ CBAM โดยอาจต้องพัฒนากลยุทธ์ทางธุรกิจใหม่เพื่อทำให้ธุรกิจของตัวเองได้มาตรฐานสิ่งแวดล้อมโลก

     CBAM จะมีผลกระทบกับผู้ประกอบการไทย เนื่องจากอุปสรรคใหม่ที่ไม่ใช่ภาษี CBAM จึงถูกมองว่าเป็นความท้าทายที่ผู้ประกอบการต้องเผชิญ ต้นทุนการส่งออกมีแนวโน้มสูงขึ้น และผู้ประกอบการไทยต้องเตรียมพร้อมสำหรับการขยายตัว ยังไงก็ตาม CBAM ยังถือเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการไทยในการปรับใช้และลงทุนในเทคโนโลยีที่สะอาดยิ่งขึ้น ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน ส่งผลให้มีความยั่งยืนในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคต

     เพื่อปรับตัวให้เข้ากับการดำเนินการตาม CBAM ผู้ประกอบการไทยสามารถนำกลยุทธ์และมาตรการต่างๆ มาใช้ แนวทางหนึ่งที่เป็นไปได้คือการลงทุนในเทคโนโลยีที่สะอาดขึ้น ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน ผู้ประกอบการไทยยังสามารถสร้างความร่วมมือกับบริษัทในสหภาพยุโรปและค้นหาวิธีลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนในกระบวนการผลิตของตัวเองได้ นอกจากนี้ยังสามารถขอการสนับสนุนจากรัฐบาลไทยในการส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน รัฐบาลสามารถให้สิ่งจูงใจ เช่น การลดหย่อนภาษีและเงินอุดหนุน เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการลงทุนในเทคโนโลยีและแนวปฏิบัติที่สะอาดยิ่งขึ้น การนำมาตรการเหล่านี้มาใช้ ผู้ประกอบการไทยสามารถปรับตัวตามการนำ CBAM ไปใช้ และส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งนำไปสู่อนาคตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและยั่งยืนยิ่งขึ้น

     อย่างไรก็ดีมาตรการ CBAM นี้ก็นับเป็นอีกหนึ่งสัญญาณให้ผู้ประกอบการต้องปรับตัวในเรื่องการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แม้แต่ธุรกิจขนาดเล็กเองก็ไม่อาจมองข้ามเรื่องนี้ถ้าหากทำธุรกิจให้โตอย่างยั่งยืน

ที่มา : https://www.sec.or.th/TH/Template3/Articles/2566/220866.pdf

https://sustainability.pttgcgroup.com/th/newsroom/featured-stories/943/เข้าใจ-มาตรการ-cbam-การปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน-eu-เพื่อความยั่งยืน

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

 

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

Egg E Egg Egg ร้านอาหารจีน สูตรแต้จิ๋ว ขายวันละ 3 ชั่วโมง เตรียมส่งไม้ต่อรุ่นที่ 3

Egg E Egg Egg คือชื่อของร้านอาหารบรรยากาศที่บ้าน ตั้งชื่อตามเสียงไก่ขัน ขายเมนูง่ายๆ ผ่านกระบวนการปรุงแบบภัตตาคาร ขายแค่บรานซ์ (Branch) วันละ 3 ชั่วโมง

จับตาผลกระทบการค้าชายแดนไทย เส้นทางธุรกิจแม่สอดเปลี่ยนเป็นสนามรบ

กับสถานการณ์การสู้รบในเมียนมาใกล้ชายแดนไทยยังคงร้อนระอุนับตั้งแต่กองกำลังกะเหรี่ยง KNU และกองกำลังปกป้องประชาชน PDF “เข้ายึดฐานปฏิบัติการ 275 ในเมียวดี” ส่งผลต่อกระทบเส้นทาง “แนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor-EWEC)” ของไทย

ทำธุรกิจซัก-รีด ยังไงให้มีรายได้สาขาละแสน ล้วงความลับกับเจ้าของแบรนด์ ตั้งใจซัก

หนึ่งในธุรกิจที่ขึ้นชื่อว่าเป็น “เสือนอนกิน” นั้นต้องมีธุรกิจเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญติดในลิสต์เป็นอันดับต้นๆ ทำให้ธุรกิจนี้เติบโตเป็นพิเศษโดยเฉพาะในช่วงโควิดที่ผ่านมา มีผู้ประกอบการที่สนใจเปิดธุรกิจนี้มากมาย แต่ถึงแม้จะเป็นธุรกิจเสือนอนกิน ใช่ว่าทุกคนจะเป็นเสือที่ได้กินธุรกิจนี้ง่ายๆ