วิกฤตขาดแคลนแรงงาน & ปัญหาสูงวัย สองปัญหาภาคสะเทือนภาคธุรกิจ ร้านสะดวกซื้อญี่ปุ่นต้องลดเวลาขาย

TEXT : Nimsri

     ต่อเนื่องจากวิกฤตผู้สูงอายุที่เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ ในญี่ปุ่น ขณะที่อัตราการเกิดกลับลดน้อยลงอย่างน่าเป็นห่วง จนทำให้หลายธุรกิจต้องปรับตัว จากผลิตสินค้าเครื่องใช้สำหรับเด็ก หันมาผลิตสินค้าสำหรับผู้ใหญ่แทน เช่น ตลาดผ้าอ้อม เป็นต้น ล่าสุดญี่ปุ่นยังเจอกับวิกฤตปัญหาขาดแคลนแรงงานอย่างหนัก ถึงขั้นร้านสะดวกซื้อที่เคยเปิด 24 ชม. ต้องปรับเวลาการให้บริการลดลง

12% ทั่วประเทศ ปรับตัวเปิดไม่ถึง 24 ชม.

     จากการสำรวจของ Kyodo News รายงานว่าปัจจุบันเกือบ 12 เปอร์เซ็นต์ของผู้ประกอบการร้านสะดวกซื้อในญี่ปุ่นเลือกที่จะไม่เปิดทำการตลอด 24 ชั่วโมง โดยให้เหตุผลว่าเพราะการขาดแคลนพนักงาน ประจวบกับความต้องการของลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการในช่วงดึกก็ลดลงด้วย

     การสำรวจดังกล่าว ได้จัดทำขึ้นในเดือนเมษายนที่ผ่านมา จากผู้ประกอบการร้านสะดวกซื้อรายใหญ่ทั้ง 7 รายในญี่ปุ่น ยกเว้นบริษัท Yamazaki Baking Co. โดยพบว่าร้านสะดวกซื้อประมาณ 6,400 แห่ง จาก 55,000 แห่ง เปิดให้บริการในระยะเวลาที่สั้นลง ตั้งแต่ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน ขณะที่หลายร้านเร่งปรับตัวหันมาใช้เครื่องบันทึกเงินสดแบบไร้คนแทน

     โดย Seven-Eleven Japan Co. ผู้นำในอุตสาหกรรมดังกล่าว ได้ลดเวลาทำการของร้านค้าเพิ่มเติมกว่า 200 แห่งนับตั้งแต่ปีงบประมาณ 2020 ​​ขณะที่บริษัท Lawson Inc. ได้ใช้มาตรการที่คล้ายกันกับร้านค้าอีกประมาณ 100 แห่ง เช่นเดียวกับ Seicomart ร้านสะดวกซื้อที่ใหญ่ที่สุดในฮอกไกโด มีอัตราการลดเวลาทำการของร้านค้าสูงสุดที่ร้อยละ 87 ตามมาด้วย Poplar Co. ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ในเมืองฮิโรชิมา ทางตะวันตกของญี่ปุ่น ก็ลดเวลาการทำงานลงที่ร้อยละ 79

     แต่ถึงอย่างไรก็ตาม แม้จะมีการปรับเวลาทำการให้สั้นลง แต่หากลองคิดจากแบรนด์ร้านสะดวกซื้อชั้นนำ 3 แห่งของญี่ปุ่น ได้แก่ Seven-Eleven Japan, Lawson และ Family Mart Co. ก็ยังถือเป็นสัดส่วนที่ค่อนข้างต่ำ คิดเป็น 8-10 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับร้านค้ารายย่อยอื่นๆ ในประเทศทั้งหมด

Lyu Ling หญิงชาวจีนที่ทำงานในร้านสะดวกซื้อในญี่ปุ่นมาประมาณ 10 ปี ในร้านแฟมิลี่มาร์ทในเขตชูโอ กรุงโตเกียว

นำเข้าแรงงานต่างชาติ ทดแทนขาดแคลนคนทำงาน

     จากวิกฤตที่เกิดขึ้น ล่าสุด Kyodo News ได้รายงานต่อเนื่อง ถึงแนวทางแก้ไขปัญหาของทั้ง 3 แบรนด์ร้านค้าสะดวกซื้อเจ้าใหญ่ โดยพบว่าได้มีการว่าจ้างแรงงานต่างชาติเข้ามาทดแทนกว่า 80,000 คน เพื่อทำงานพาร์ทไทม์ คิดเป็นร้อยละ 10 ของแรงงานพาร์ทไทม์ทั้งหมดที่มี โดยเพิ่มขึ้น 1.4 เท่าเมื่อเทียบกับเมื่อ 5 ปีก่อน

     โดย 7-Eleven เป็นร้านที่มีพนักงานพาร์ทไทม์เป็นชาวต่างชาติมากที่สุดประมาณ 40,000 คน ขณะที่ร้าน Lawson มีประมาณ 24,000 คน และ Family Mart ประมาณ 18,000 คน แรงงานส่วนใหญ่เป็นชาวเอเชีย เช่น จีน เวียดนาม และเนปาล เหตุผลของการจ้างแรงงานต่างชาติครั้งนี้ คือ มองว่าร้านสะดวกซื้อเป็นส่วนหนึ่งที่ขาดไม่ได้ของชีวิตชาวญี่ปุ่น โดยส่วนใหญ่เปิดทำการตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อจำหน่ายอาหารและผลิตภัณฑ์ในครัวเรือนต่างๆ รวมถึงบริการต่างๆ เช่น จัดส่งพัสดุ ชำระบิล และซื้อตั๋วงานต่างๆ จึงทำให้แบรนด์ต้องพยายามหาแรงงานมาทดแทน เพื่อเปิดให้บริการปกติแก่ลูกค้าได้มากที่สุด ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะดำเนินการแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ ท่ามกลางปัญหาการขาดแคลนแรงงานจากจำนวนประชากรสูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น

     ผู้สมัครทำงานพาร์ทไทม์จำนวนมากเป็นนักเรียนต่างชาติ ที่มีเป้าหมายอยากจะพัฒนาภาษาญี่ปุ่นของตนผ่านการทำงาน ขณะที่เงินเยนอ่อนค่าลงกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเดินทางมาญี่ปุ่นมากขึ้น บริษัทต่างๆ จึงคาดหวังว่าการจ้างพนักงานชาวต่างชาติมา ไม่เพียงช่วยเติมเต็มแรงงานที่ขาดแคลน แต่ยังช่วยปรับปรุงการสื่อสารเมื่อมีลูกค้าต่างชาติเข้ามาเพิ่มมากขึ้นด้วย

     “เราไม่ได้อยู่ในยุคที่ต้องแข่งขันกับจำนวนร้านค้าอีกต่อไป แต่อยู่ที่ว่าจะปรับปรุงมูลค่าของร้านค้าแต่ละแห่งได้อย่างไร เพื่อตอบสนองต่อสังคมญี่ปุ่นที่เปลี่ยนแปลงไป” ผู้บริหารร้านสะดวกซื้อแบรนด์หนึ่งกล่าวเอาไว้

ที่มา : https://english.kyodonews.net/news/2024/05/6e570936ce90-12-of-japan-convenience-stores-not-open-24-hours-amid-labor-shortage.html?phrase=Hideki%20Matsuyama&words=

https://japantoday.com/category/business/over-80-000-foreigners-working-at-convenience-stores-in-japan

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

หมัดต่อหมัด JIB&Advice จากคนตัวเล็กสู่ธุรกิจไอทีหมื่นล้าน

จากร้านเล็กๆ สู่จักรวาลไอที! เรื่องราวของสองนักธุรกิจผู้ก่อตั้งอาณาจักรไอทีภายใต้แบรนด์ J.I.B. และ ADVANCE ที่ต่างจากเริ่มจากสิ่งเล็กๆ เมื่อเวลาผ่านไปพวกเขาต่างก็เป็นแบรนด์ไอทีที่เติบโตระดับประเทศ

กระต่ายหมายจันทร์ ธุรกิจขายภาพดวงจันทร์ ที่ช่วยเก็บความทรงจำแสนพิเศษให้ผู้คนในวันนั้นๆ

กระต่ายหมายจันทร์ ธุรกิจแปลกขายภาพดวงจันทร์หนึ่งเดียวในไทย ที่ใช้เวลากว่า 8 ปี เก็บสะสมภาพถ่ายพระจันทร์ยามค่ำคืนในทุกวัน เพื่อเก็บความทรงจำแสนพิเศษไว้ให้กับผู้คน

1:2 Coffee 3 ปี ร้อยล้าน เส้นทางความสำเร็จร้านกาแฟในเชียงรายขยายสู่กรุงเทพ

1:2 Coffee, onetotwo,แรงบันดาลใจ, ธุรกิจกาแฟ, ธุรกิจร้อยล้าน, sme, ไอเดียธุรกิจ, ผู้ประกอบการ, เจ้าของธุรกิจ, เทรนด์ธุรกิจ, บริหารธุรกิจ, case study, SME, กลยุทธ์การตลาด, คาเฟ่, ร้านกาแฟ