Pearly Tea แฟรนไชส์ชานมของมืออาชีพ

 




เรื่อง : เมธาวี ทัศนาเสถียรกิจ
ภาพ : กฤษฎา ศิลปไชย



    หลังจากปลุกปั้นแบรนด์รุ่นพี่อย่าง Amazon ครองใจคอกาแฟทั่วประเทศไทยแล้ว บริษัท ปตท.บริหารธุรกิจค้าปลีก จำกัด ก็เริ่มต้นภารกิจใหม่ส่งแบรนด์น้องอย่าง Pearly Tea เข้าสู่ตลาดเครื่องดื่ม หมายมั่นจะครองใจกลุ่มคนนิยมดื่มชาบ้างอย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าการเข้าสู่ตลาดชานมในขณะที่การแข่งขันดุเดือด หรือตลาดที่ศัพท์ทางธุรกิจนิยามว่า Red Ocean คงไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ด้วยชื่อเสียงของแบรนด์ ปตท.คงการันตีได้ว่าไม่มีภารกิจอะไรยากเกินความสามารถเป็นแน่

 


    จักรกฤช จารุจินดา Managing Director บริษัท ปตท.บริหารธุรกิจค้าปลีก จำกัด เล่าเหตุผลเบื้องหลังของการแตกแบรนด์ Pearly Tea ว่า เมื่อ 10 ปีที่แล้ว บริษัทอยากทำ Amazon เพราะคนขับรถหรือผู้ที่เดินทางอยากดื่มกาแฟ ปัจจุบันบริษัทเห็นช่องว่างของคนที่ไม่ดื่มกาแฟมีจำนวนมาก ยกตัวอย่าง คนเข้าปั๊มน้ำมัน 100 คน จากการสำรวจพบว่ามีกลุ่มคนดื่มกาแฟเพียง 20 คนเท่านั้น ด้วยเหตุนี้เอง บริษัทจึงมองหาเครื่องดื่มอื่นๆ ที่จะนำมาตอบโจทย์ความต้องการของอีก 80 คนที่เหลือ และ “ชา” ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ผู้หญิง เด็ก หรือคนทำงานสามารถดื่มได้หมด

    หลายคนอาจมองว่าการเพิ่มเมนูชานมเข้าไปในร้าน Amazon อาจง่ายกว่าการตั้งแบรนด์น้องใหม่ เพราะอย่างน้อย Amazon ก็มีฐานลูกค้าเดิมและเป็นที่รู้จักอยู่แล้วแต่เนื่องจากภาพลักษณ์ของ Amazon ที่ชูจุดเด่นเรื่องกาแฟ ทำให้คนที่มา Amazon จะนึกถึงกาแฟเป็นหลัก คนที่ไม่ดื่มกาแฟจึงคิดว่า Amazon ไม่ใช่ร้านสำหรับพวกเขา การสร้างแบรนด์ใหม่อย่าง Pearly Tea จึงเป็นทางออกที่สร้างการจดจำในใจผู้บริโภคได้ง่ายกว่า

 


    การรุกเข้าตลาดชานมของ Pearly Tea อาจมองว่าเป็นการก้าวเข้าสู่ตลาดที่ช้าเกินไป เพราะปัจจุบันมีร้านชานมตั้งอยู่เกือบทุกมุมถนน การแย่งเค้กก้อนโตของแบรนด์ต่างๆ นั้นช่างดุเดือด ผู้มาทีหลังอย่าง Pearly Tea อาจไม่มีพื้นที่ส่วนแบ่งหลงเหลือให้แย่งชิง หากเป็นแบรนด์น้องใหม่รายอื่นการเข้าตลาดช้าอาจทำให้ถูกกีดกันออกจากสนามแข่งได้ง่าย แต่สำหรับ Pearly Tea แบรนด์ชานมที่มี ปตท.หนุนหลังนั้นเรื่องระยะเวลาการเข้าตลาดแทบไม่ใช่อุปสรรคเลย

    “เราเป็นบริษัทใหญ่ทุกคนเมื่อรู้ว่า Pearly Tea เป็นของ ปตท.ต่างก็ให้ความเชื่อมั่นและเชื่อว่าแบรนด์มีความมั่นคงประกอบกับเรามีเครือข่ายเยอะเแค่สถานนีบริการน้ำมันเรามีพันกว่าแห่ง เริ่มแรกเราตั้ง PearlyTea ในปั๊มของเราก่อนแค่นี้ก็ช่วยการสร้างการรับรู้ได้ทั่วประเทศแล้ว”

 


    จุดเด่นของสินค้า Pearly Tea นั้นเน้นความหลากหลายสนองทุกความต้องการ เพราะบางครั้งการดื่มอะไรที่ซ้ำๆ อาจทำให้รู้สึกจำเจได้ PearlyTea จึงออกแบบชานม 22 รสชาติ ซึ่งยังไม่รวมท็อปปิ้งที่สามารถเลือกสรรได้ตามใจชอบ สำหรับคนรักสุขภาพอาจกังวลเรื่องความหวาน Pearly Tea จึงให้ลูกค้าเลือกระดับน้ำตาลเองและสำหรับบางคนที่หาของรับประทานยามเช้า ร้านของ Pearly Tea ยังมีคอร์นด็อก (Corn Dog) เสิร์ฟควบคู่กับชา เรียกได้ว่ามาที่เดียวจบครบทุกอย่าง

 


    โมเดลธุรกิจของ Pearly Tea แบ่งเป็นแบบคีออสและแบบหน้าร้าน โดยทั้งสองแบบมีงบประมาณตั้งต้นในการลงทุนเปิดร้าน Pearly Tea อยู่ที่ 350,000 บาท แบ่งเป็นค่าสิทธิการใช้เครื่องหมายการค้า 150,000 บาท ประกอบด้วยอายุสัญญา 3 ปี และต่อสัญญาให้ฟรีอีก 3 ปี พร้อมอบรมหลักสูตรการต้มไข่มุกและการชงชาทั้งหมด หลักสูตรการทำ Corn Dog และการฝึกอบรมอย่างมืออาชีพสำหรับพนักงานและผู้บริหารรวม 2 ท่าน อีกส่วนหนึ่งคือค่าชุดอุปกรณ์และวัตถุดิบสำหรับเปิดร้าน มูลค่า 200,000 บาท ประกอบด้วย ชุดอุปกรณ์ภายในร้าน สื่อการตลาด และรายการวัตถุดิบ โดยไม่มีค่า Royalty Fee ซึ่งราคาดังกล่าวยังไม่รวมค่าสถานที่ ค่า Kios หรือค่าประกันสัญญา
 




    “ผู้ที่สนใจต้องมาคุยดูว่ามีความมุ่งมั่นตั้งใจไหม รักงานบริการจริงหรือเปล่า เพราะถ้ามีแค่เงินแล้วคิดจะเปิดเล่นๆ เราก็ไม่ให้เปิด เริ่มแรกผู้สนใจต้องเอาทำเลมาให้ดูเรา ก็จะส่งทีมไปดูว่าทำเลนี้ขายได้ไหม เพราะทำเลเป็นปัจจัยความสำเร็จ โดยส่วนมาแฟรนไชส์ Pearly Tea จะเน้นตั้งอยู่ตามชุมชน หรือตามโรงเรียน เนื่องจากลงทุนไม่มากและใช้พื้นที่น้อย”

    การลงทุนกับ Pearly Tea แฟรนไชซีสามารถมั่นใจได้ว่า จะไม่ถูกทอดทิ้ง แถมยังได้รับการดูแลแบบมืออาชีพที่จะช่วยให้ทุกคนประสบความสำเร็จในการขายชานม เนื่องจากบริษัท ปตท.บริหารธุรกิจค้าปลีกมีทีมงานกลุ่มปลุกปั้น Amazon ที่เปี่ยมไปด้วยประสบการณ์ซึ่งคอยดูแลเรื่องเทรนนิ่ง การตั้งร้าน มีบริการหลังการขายมีคอลเซ็นเตอร์ เพื่อให้คำปรึกษา รวมทั้งมีทีมงานตรวจสอบคุณภาพ เพราะสิ่งสำคัญของธุรกิจแฟรนไชส์ คือ “มาตรฐาน” ต้องเท่ากันทุกสาขา

 



    “การที่เป็นบริษัทใหญ่ทำให้เรามีบุคลากรคอยดูแลแฟรนไชซีครบครันทุกด้าน เรามีทีมวิจัยและพัฒนาสินค้าเพราะเห็นตัวอย่างชานมบางร้านดังเปรี้ยงปร้างและดับลงอย่างรวดเร็ว ด้วยเหตุผลที่ว่าคนเริ่มเบื่อ เริ่มไม่อยากรับประทานและอีกส่วนที่ขาดไม่ได้เลยคือการตลาด เรามีการตลาดทุกเดือน มีมาสคอต มีการสะสมแต้มแลกของ เราเชื่อว่าแฟรนไชซอร์รายอื่น ถ้าไม่แข็งแรงจริงคงช่วยแฟรนไชซีครบถ้วนทุกด้านแบบเราไม่ได้”

    สำหรับคนที่มองหาแฟรนไชส์น่าลงทุนที่มั่นคง ไร้กังวลว่าจะถูกทอดทิ้ง แถมได้รับการดูแลช่วงเริ่มต้นธุรกิจแบบครบทุกด้านจากมืออาชีพ ไม่แน่ว่า Pearly Tea อาจคำตอบที่คุณกำลังค้นหาอยู่


 


ลงทุนแฟรนไชส์ Pearly Tea

งบการลงทุนเบื้องต้น : 350,000 บาท แบ่งเป็น


ค่าสิทธิการใช้เครื่องหมายการค้า 150,000 บาท 

ประกอบด้วย     

- อายุสัญญา 3 ปี และต่อสัญญาให้ฟรีอีก 3 ปี
- หลักสูตรอบรมการต้มไข่มุกและการชงชาทั้งหมด 
- หลักสูตรการทำ Corn Dog 
- การฝึกอบรมสำหรับพนักงานและผู้บริหารรวม 2 ท่าน

ค่าชุดอุปกรณ์และวัตถุดิบสำหรับเปิดร้าน มูลค่า 200,000 บาท 

ประกอบด้วย     

- ชุดอุปกรณ์ภายในร้าน สื่อการตลาด และรายการวัตถุดิบ โดยไม่มีค่า Royalty Fee 
                                  (ราคาดังกล่าวไม่รวม ค่าสถานที่ ค่า Kios หรือค่าประกันสัญญา)

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.facebook.com/pearlyteathailand

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลเพื่อความสำเร็จของธุรกิจเอสเอ็มอี (SME)

RECCOMMEND: FRANCHISE

3 แฟรนไชส์ ก๋วยเตี๋ยวเรือเจ้าดัง น่าลงทุน ปี 2023

หนึ่งในร้านอาหารที่ติด Top 3 ที่คนค้นหามากที่สุด คือ ก๋วยเตี๋ยว วันนี้เราเลยจะมาแนะนำ 3 แฟรนไชส์ร้านก๋วยเตี๋ยวเรือเจ้าดังที่น่าลงทุน ปี 2023 พร้อมราคาแฟรนไชส์มาฝากกัน

3 ไอเดียทำร้านแฟรนไชส์ 5 ปี ขยายกว่า 750 สาขา สไตล์ Otteri ร้านที่เป็นมากกว่าแค่ที่ซักผ้า

ในสนามแข่งขันที่เต็มไปด้วยคู่แข่งมากมาย กลยุทธ์หนึ่งของการทำธุรกิจที่ใช้มัดใจลูกค้าได้ดี ก็คือ ให้มากกว่าที่ลูกค้าคิดว่าจะได้รับ เพื่อไม่ให้ลูกค้าเปลี่ยนใจไปไหน เหมือนกับคอนเซปต์ของแบรนด์ Otteri Wash & Dry แฟรนไชส์ร้านสะดวกซัก 24 ชั่วโมงที่เปิดดำเนินธุรกิจมาได้ 5 ปี มีสาขาแล้วกว่า 750 แห่งทั่วประเทศ

อยากต่อยอดธุรกิจให้เป็นแฟรนไชส์ ขยายกิจการให้โต SME ต้องทำอย่างไร?

หนึ่งในโมเดลที่หลายคนให้ความสนใจในการขยายธุรกิจคือ การแปลงธุรกิจของตัวเองให้กลายเป็น “แฟรนไชส์” แต่หลายคนอาจสงสัยว่า การทำธุรกิจให้เป็นแฟรนไชส์ ต้องทำอย่างไร?