​9 สิ่งที่ SME ต้องรู้! ก่อนธุรกิจพังไม่เป็นท่า

Text : กองบรรณาธิการ


    บ่อยครั้งที่ผู้ประกอบการเดินมาถึงจุดๆ หนึ่งเริ่มรู้สึกว่าไปต่อได้ลำบาก นั่นอาจเป็นเพราะว่า ธุรกิจยังขาดแผนนำทางที่ดี เพราะบางคนสตาร์ทธุรกิจแบบไม่ได้เตรียมแผนรองรับที่จะเติบโตในอนาคตไว้เลย หรือบางคนอาจยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าต้องก้าวไปในทิศทางไหน อะไรคือจุดอ่อนที่ต้องรีบแก้ไข และอะไรคือจุดแข็งที่ต้องเร่งต่อยอดเพื่อสร้างโอกาส 





     หากสถานการณ์แบบกลืนไม่เข้าคายไม่ออกกำลังเกิดขึ้นกับคุณอยู่ในขณะนี้ ลองกลับมาสำรวจตัวเองอีกครั้งดีกว่าไหม เพื่อนำไปสู่การวางแผนธุรกิจที่ประสิทธิภาพ โดยเฉพาะ 9 เรื่องต่อไปนี้ที่ผู้ประกอบการต้องรู้และทำความเข้าใจให้ดี ถ้าทำได้ รับรองธุรกิจของคุณวิ่งฉิวแบบไม่ต้องกลัวเจอทางตันแน่นอน

 
1.            จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ – รู้จุดเด่นสินค้า เพื่อสามารถแข่งขันในตลาดได้


2.            กลุ่มลูกค้า – รู้ว่ากลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่ต้องการจะขาย คือ ใคร มีอุปนิสัยยังไง ชอบอะไร


3.            ช่องทางเข้าหาลูกค้า – เลือกช่องทางที่เหมาะสมกับลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย


4.            สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า – ให้ลูกค้ารู้สึกผูกพันกับแบรนด์


5.            รายได้ของธุรกิจ – รู้แหล่งรายได้ที่จะเข้ามาของธุรกิจ


6.            กิจกรรมที่ทำ - สำรวจว่ามีกิจกรรมอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจที่ต้องทำ


7.            สิ่งที่ต้องมี - ดูว่าในธุรกิจที่ทำจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ เครื่องมือ สถานที่ หรือองค์ความรู้อะไรบ้าง


8.            พาร์ตเนอร์ที่สำคัญ - มีบุคคลใดบ้างที่จะมาเป็นตัวช่วย หรือผู้เกี่ยวข้องในธุรกิจ


9.            ต้นทุนที่ต้องจ่าย - เงินทุนที่ต้องจ่ายในการเริ่มต้นธุรกิจมีอะไรบ้าง



www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: MANAGEMENT

ปรับโหมดลูกน้อง “Fauxductivity” ขยันทำงานแบบการละคร สู่โหมดจริงจังและได้ผลงานจริง

รู้จัก “Fauxductivity” หลอกว่ายุ่ง แต่ใจไม่ได้มุ่งทำงาน แล้วผู้นำหรือหัวหน้าต้องทำอย่างไร จึงจะแก้ปัญหาการทำงานแบบ Fauxductivity ได้อยู่หมัด

เหนื่อยยังไง...ให้ไปต่อได้ 4 หลักคิดญี่ปุ่น ที่คนทำธุรกิจยุคไม่แน่นอนต้องรู้

ถ้าเป้าหมายการทำธุรกิจของคุณ ไม่ใช่แค่ “อยู่รอด” แต่คือ “อยู่ให้ได้อย่างยั่งยืนและมีคุณค่า”ลองดู 4 หลักคิดญี่ปุ่น ที่ช่วยให้ธุรกิจไปต่อได้ในวันที่เหนื่อยแทบขาดใจ

ลงทุนในคน ยังไงไม่ให้คนเก่งหนี  บทเรียนจากองค์กรชั้นนำ ยุคที่คนเปลี่ยนงานไวกว่าเปลี่ยนมือถือ

หากองค์กรจะลงทุนเพื่อความยั่งยืนในระยะยาว สิ่งสำคัญที่สุดคือ “การพัฒนาคน” ทั้งในแง่ของทักษะ มุมมอง และการสร้างระบบที่หล่อเลี้ยงการเติบโตของคนกับองค์กรไปพร้อมกัน